แนวคิดการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย

0000000ขยะเป็นปัญหาใหญ่ของชุมชนเมืองทั่วไป ความเจริญอย่างรวดเร็วเป้นตัวเร่งปริมาณขยะให้เพิ่มมากขึ้น จากการสำรวจที่ผ่านมาพบว่า ปริมาณขยะมีมากถึง ปีละ 4 ล้านตัน งบประมาณที่สนับสนุนในเรื่องการจัดเก็บและกำจัดขยะเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถทำให้ชุมชนนั้น ๆ จัดเก็บและกำจัดขยะได้อย่างสะอาด รวดเร็ว เรียบร้อย และประหยัดได้ ระบบโครงสร้างและแผนงาน การบริหารการจัดการที่มีประสิทธิภาพเท่านั้น จึงจะทำให้การจัดเก็บและกำจัดขยะประสบความสำเร็จ

000000กล่าวโดยทั่วไป วิธีการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย แบ่งเป็นขั้นตอนหลักๆ ได้ดังนี้

0000001.การจัดเก็บ มีวิธีการคร่าว ๆ คือ
00000000001.1 ทิ้งที่ไหน
00000000001.2 ทิ้งอย่างไร
00000000001.3 ทิ้งเมื่อไร

000000เป็นการให้ความรู้ขั้นพื้นฐานแก่ผู้ทิ้งขยะ เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติภรรมการทิ้งขยะให้เป็นระเบียบ และมีระบบเดียวกัน อันเป็นผลดีต่อการปฏิบัติงานจริง และส่งผลสืบเนื่องต่อกระบวนการกำจัดต่อไป

00000 2. การกำจัด ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้
00000000002.1 การเผาแบบง่าย000000000033%
00000000002.2 การฝังกลบ000000000000036%
00000000002.3 การคัดแยก000000000000012%
00000000002.4 การคัดแยก000000000000001%

00000000002.5 การทิ้งทั่ไปโดยผิดวิธี00000048%

0000002.1 การกำจัดโดยการเผา จากผลการศึกษาและวิจัยพบว่า การกำจัดขยะที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในภาวะขยะล้นเมืองขณะนี้คือ การเผาทำลายที่อุณหภูมิ 800 - 1,200 องศาเซลเซียส เพื่อที่จะสามารถเผาขยะพิษ และขยะทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโลหะหนัก เศษแก้ว เศษพลาสติก และไม่ก่อให้เกิดภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

0000000000ข้อดี หรือประโยชน์ของการกำจัดขยะมูลฝอย ด้วยวิธีการเผาทำลายที่เห็นได้อย่างเด่นชัดคือ รวดเร็ว ไม่สิ้นเปลืองที่ในการเก็บขยะ เผาได้ตลอดเวลา ไม่มีขยะตกค้าง ไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม สามารถรองรับปริมาณขยะจำนวนมาก

0000000000ข้อเสีย คือไม่มีรายได้เสริม ลงทุนสูง ต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการวางระบบการเผาที่มีประสิทธิภาพสูง ต้องมีการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาในหลายจังหวัดได้มีการนำเข้า และติดตั้งเตาเผาขยะ (จากต่างประเทศ) ในปริมาณ 100- 500 ตัน/วัน แต่ไม่สามารถเปิดเตาเผาได้เป็นประจำ เพราะบางแห่งขยะไม่เพียงพอต่อการจุดเตาเผา และต้นทุนการเผาในแต่ละครั้งสูงมาก และที่สำคัญคือ ขาดการบำรุงรักษาเตาเผา (ไม่มีบริการหลังการขาย) จึงทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณไปโดยเปล่าประโยชน์และปัญหาขยะในจังหวัดนั้น ๆ ก็ยังคงดำรงอยู่ต่อไป

0000002.2 การกำจัดขยะโดยวิธีฝังกลบ ในปัจจุบันไม่สามารถทำได้อีกต่อไป เพราะสิ้นเปลืองพื้นที่มาก มีปัญหากับน้ำบาดาล มีปัญหากับสิ่งแวดล้อมทั้งหมด มีปัญหาด้านมวลชน เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์เลื้อยคลานและเชื้อโรค ต้นทุนสูง ฝังกลบไม่ทันทำให้มีขยะตกค้าง

0000002.3. การคัดแยก เป็นเพียงขั้นตอน หนึ่งก่อนนำไปเผาทำลาย เพื่อหารายได้เสริม แต่สิ้นเปลืองพื้นที่ในการกองก่อนและหลังการคัดแยก เสียเวลาในกรณีที่มีปริมาณขยะมาก มีขยะตกค้าง

0000002.4 การแปรรูปขยะ เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งก่อนนำไปเผาทำลาย ข้อดีคือ มีรายได้เสริม ข้อเสียคือ มีต้นทุนในการแปรรูป ลงทุนสูงในเครื่องจักรอุปกรณ์ สิ้นเปลืองพื้นที่ ต้องสร้างตลาดต่อกลุ่มเป้าหมายลูกค้า มีงบประมาณการตลาดและการขาย เสี่ยงกับสินค้าค้างสต๊อกเพราะขายไม่ได้

0000002.5 การทิ้งขยะทั่วไปโดยผิดวิธี ซึ่งพบมากที่สุดในทุกชุมชน พื้นที่รกร้างและบางแห่งมีการโยนลงคลอง แม่น้ำ ทะเล เป็นต้น

0000000000ดังนั้น วิธีการดำเนินงานการจัดเก็บ และกำจัดขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ ควรมีขั้นตอนและวิธีการหลัก ๆ ดังนี้

0000001. การจัดเก็บ โดยแบ่งพื้นที่เป็นกลุ่ม ๆ ต่อปริมาณขยะ กำหนดจุดทิ้ง กำหนดเวลาทิ้ง การแยกขยะเป็น 2 ถุง จัดหาถุงและถังสำหรับผู้ทิ้ง จัดหาอุปกรณ์การกวาดเก็บขยะ จัดหารถสำหรับขนขยะ จัดหาบุคลากรที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ จัดหารถสำหรับล้างถนนสัปดาห์ละ 2 วันกำหนดแผนปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นระบบตามความเหมาะสมของเขตนั้น ๆ

0000002. การกำจัดขยะ ในเบื้องต้นต่อปัญหาเฉพาะหน้า และปริมาณขยะจำนวนมาก ด้วยวิธีการเผาทำลายที่อุณหภูมิความร้อน 800 - 1,200 องศาเซลเซียส มีประสิทธิภาพการเผาทำลายไม่น้อยกว่าวันละ 100 ตันขึ้นไป จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยกำหนดจุดก่อสร้างเตาเผาจากการจัดกลุ่มพื้นที่ และปริมาณขยะจากข้อ 1 อย่างเหมาะสม และไม่ห่างไกลกันมากนัก

000000งบประมาณในการจัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลและองค์การบริหารส่วนจังหวัด ส่วนใหญ่จะได้งบสนับสนุนจากส่วนกลางมาก งบที่จัดเก็บเองมีน้อย ยิ่งแต่ละองค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการเอง โดยไม่มีการบริหารการจัดการที่ดี ก็ทำให้มีปัญหาเพิ่มขึ้น เพราะแต่ละพื้นที่มีจำนวนประชากรและปริมาณขยะไม่เท่ากัน ส่งผลต่อการกำหนดจุดรวมขยะ และจุดกำจัดขยะมีปัญหาตลอดมา กล่าวเป็นว่าขยะเขตโน้นทำไมมาทิ้งและกำจัดในเขตนี้ อีกทั้งปัญหามวลชน การเมืองท้องถิ่น การบริหารงบประมาณของแต่ละเขตก็ส่งผลเสียต่อการจัดเก็บ และการกำจัดขยะทั้งระบบ สาเหตุหลักคือ ต่างคนต่างทำ ไม่ประสานแนวคิดวิธีการและงบประมาณเข้าด้วยกัน

000000" การรวมศูนย์ " จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในงบประมาณเท่าเดิม กล่าวคือ เมื่อรวมเขตตามพื้นที่และปริมาณขยะแล้ว ต้องรวมงบประมาณมากองรวมกันด้วย จากนั้นมาวิเคราะห์หาต้นทุนในการจัดเก็บ และกำจัดขยะนั้น ๆ จัดวางแผนงาน จัดวางโครงสร้างการบริหารจัดการ กำหนดจุดรวม และจุดสร้างเตาเผาขยะตามมติของที่ประชุมร่วม กำหนดระยะเวลาการก่อสร้างแล้วเสร็จ กำหนดปริมาณพื้นที่ใช้สอย กำหนดงบประมาณการก่อสร้างทั้งระบบ โดยมอบหมายให้บริษัทผู้รับจ้างดำเนินงาน ตามรายละเอียดข้างต้นจากความร่วมมือในการให้ช้อมูล ของราชการ และอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานในเรื่องนี้ เพราะต้องเกี่ยวกันหรือเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน และผู้ว่าราชการจังหวัดจำเป็นต้องลงมาเป็นเจ้าภาพหลักในการกำกับและผลักดันให้ทุกหน่วยงานร่วมมือกันกย่างจริงจังและจริงใจ

000000เมื่อได้ข้อสรุปของ "การรวมศูนย์" ตลอดจนตัวเลขงบประมาณต่าง ๆ แล้วว่างบประมาณลงทุนเบื้องต้นเท่าไร เปรียบเทียบกับงบประมาณที่นำมากองรวมกัน ขาดเหลือต้องได้รับการสนับสนุนจากส่วนกลาง หรือทำกู้อีกจำนวนเท่าไร ระยะเวลาผ่อนชำระคืนเงินกู้ รายละเอียดของสัญญาในการว่าจ้างจัดเก็บและกำจัดขยะต้องเหมาะสม คุ้มทุน และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย

000000สำหรับงบสนับสนุนจากส่วนกลางนั้น ให้กำหนดหมดไปภายในระยะเวลา 5 ปี โดยขอให้องค์การบริหารส่วนตำบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด หารายได้เพิ่มชดเชยงบสนับสนุนนั้น ปีละ 20% เพื่อให้การจัดเก็บและกำจัดขยะเป็นไปอย่างต่อเนื่องในระยะแรก เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้ว แม้ทางองค์การบริหารส่วนตำบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะได้งบสนับสนุนจากส่วนกลางแล้ว ก็ยังคงขาดทุนอยู่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา และปัญหาขยะก็ยังคงดำรงอยู่ต่อไป อีกทั้งปริมาณขยะก็ยังเพิ่มขึ้นทุกปี เพียงแต่งบสนับสนุนก็ยังคงเท่าเดิม และลดลงตามลำดับ ซึ่งโดยแนวคิดดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาตามข้อเท็จจริง แต่เพิ่มประสทธิภาพในการบริหารจัดการ "แบบรวมศูนย์" ทำให้มองเห็นภาพได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังสามารถประหยัดงบส่วนกลางได้ในอนาคต

000000สำหรับเรื่องเงินกู้สมทบในการก่อสร้างนั้น มีผู้สนใจที่จะให้กู้ตามวาระขององค์การบริหารส่วนตำบล หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ส่วนเรื่องงบประมาณ โครงสร้างการบริหารจัดการ โครงสร้างตัวอาคารเตาเผา และวิธีการเผาอย่างมีประสิทธิภาพไร้มลภาวะได้นำเสนอ เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป

 

...................................

ชวการ รัตนธีรเดช
ผอ ฝ่ายวางแผนและโครงการ
บริษัท บี เอส รุ่งเรืองกิจ จำกัด


กลับหน้าแรก:หน้าก่อนนี้:หน้าต่อไป