14 กันยายน 2551
เรื่อง สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายในคอมพิวเตอร์ ตอนที่1

     เพาเวอร์ซัพพลาย หรือเรียกว่า Swiching Power Supply เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่ออุปกรณ์เกือบทุกตัวในระบบคอมพิวเตอร์
เพราะถ้าไม่มีแหล่งจ่ายพลังงานให้อุปกรณ์ต่างๆ ก็จะไม่สามารถทำงานได้ ที่สำคัญในหลักปฏิบัติพื้นฐานของช่างคอมพิวเตอร์, ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า
และอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นตรวจสอบที่ภาคจ่ายไฟ หรือเพาเวอร์ซัพพลายนี้ก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะไปตรวจเช็ตในส่วนอื่นๆ ต่อไป
      สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ทั่วๆไปนั้นจะใช้วงจรคล้ายๆกันแต่จะใช้อุปกรณ์ต่างคุณภาพกันตามแต่ราคา
เราจะมาเปิดดูวงจรภายในกันว่าเป็นอย่างไร แต่ต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่าไม่สามารถอธิบายวงจรแนวอ้างอิงทางวิชาการได้เนื่องจากข้าน้อยด้อยด้วยปัญญา
แต่จะใช้วิธีชี้จุดเสียแบบแนวบ้านๆ นะครับ.


ดูตำแหน่งขาของคอนเน็คเตอร์ ATX Power Supply Pinout
อ่านเรื่อง สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายเบื้องต้นที่นี่ http://www.cpe.ku.ac.th/~yuen/204471/power/switching_regulator/

Block Diagram ของ สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย




ตัวอย่างวงจร สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย




      จากวงจรก็เริ่มจาก AC INPUT กันล่ะครับ บ้านเราก็ 220 โวลต์ เป็นกระแสสลับ ผ่านฟิวส์ F1 ผ่านวงจรฟิลเตอร์
วงจรฟิลเตอร์ ก็ประกอบด้วย C1,R1,T1,C4,T5,C2,C3 จากนั้นจะเข้าสู่วงจรเรียงกระแสแบบบริดส์ (Bridge Rectifier)
ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัว IC หรือแบบที่นำไดโอด 4 ตัวมาต่อกันให้เป็นวจรบริดจ์เรคติไฟเออร์ ซึ่งวงจรนี้ใช้ไดโอด 4 ตัวมาต่อกัน
ประกอบด้วย D21,D22,D23,D24 มีใช้กันหลายเบอร์เช่น 1N5408 ออกมาเป็นไฟกระแสตรงกรองให้เรียบด้วย C5,C6
C5,C6 จะเป็น C อีเล็คโตรไลต์ ตัวสูงๆใหญ่ๆน่ะแหละครับ จะมีใช้กันตั้งแต่ 220uF 200V ไปจนถึง 1000uF 200V ยิ่งมากก็ยิ่งดี

Vdc=1.414 x Vrms
Vdc=1.414 x 220
Vdc=311 V.
แต่ในวงจรใช้ C5,C6 แบ่งคนละครึ่ง ได้แรงดันตกคร่อม C5,C6 ตัวละ 311 /2 ประมาณ 155 โวลต์ C5,C6 จึงใช้แค่ 200V

     ส่วนปัญหาที่มักจะเกิดกับวงจรส่วนนี้ก็เป็นที่รู้กันล่ะครับ ว่าฟิวส์ขาด ฟิวส์ระเบิด สาเหตุก็ไฟตก ไฟกระชาก ฟ้าผ่า
หรือวงจรในส่วนอื่นช็อต และบางครั้งเกิดจากความโง่ของตัวเราเองโดยปรับ SW1 ไปอยู่ที่ตำแหน่ง 115V
บางคนเห็นว่าฟิวส์ขาดคิดว่ากินหมูใส่ฟิวส์ตัวใหม่เข้าไปปราดุกว่าระเบิดอีกครั้งครับ สมน่ำหน้า
การเช็ควงจรในส่วนนี้ต้องเช็คให้หมด ไดโอดบริดส์อาจจะช็อตได้ ส่วนมากมักไปเป็นคู่ D21กับ D23 หรือ D22 กับ D24
SW1 ไปอยู่ที่ตำแหน่งที่ถูกต้อง C5,C6 ต้องไม่มีลักษณะระเบิดหรือบวมปูด เรืองของ C5,C6 หากบวมปูด เปลี่ยนตัวใหม่แล้ว
เปิดได้สักพักหากบวมอีกแม้ปรับ SW1 ไปอยู่ที่ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้วก็ตามนั้นต้องเช็คอะไรดีครับ ดูจากวงจรเองล่ะกัน อิอิ.
R2,R3 จะมีใช้กันหลายค่า เช่น 150K ,220K ,330K,560K


<<< - - - - - - - 14 กันยายน 2551 วันนี้คงต้องจบแค่นี้ก่อน ไว้ตอนหน้าจะพาไปดูวงจรในส่วนอื่นกัน โปรดติดตามตอนต่อไป. - - - - - - -->>>


26 กันยายน 2551
เรื่อง สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายในคอมพิวเตอร์ ตอนที่ 2


     วงจรสร้างไฟแสตนด์บาย วงจรในส่วนนี้มีความสำคัญมากเช่นกัน วงจรนี้สร้างไฟไปเลี้ยงวงจรทางด้านเอ้าพุตของตัวเองแล้ว ยังไปกลี้ยงวงจรแสตนด์บายของเมนบอร์ดอีกด้วย คือขา 5VSB และ /PS_ON

ตัวอย่างวงจรสร้างไฟแสตนด์บาย




     จากวงจรตัวอย่าง R55 เป็น R สตาร์ต ชอบขาดกันนักกันหนา 220K W มีใช้กัน จนถึง 2MW
Q12 เบอร์ C3457 สามารถใช้ เบอร์ อื่นแทนได้หลาย เบอร์ เลือกที่มีขายและราคาไม่แพงมาก เช่น 2SC5027
บางวงจรอาจใช้มอสเฟต 2N60 หากวงจรในส่วนนี้เสียก็จะไม่มีไฟ 5VSB และ /PS_ON
สงสัยก็ดูจากนี่นะ ดูตำแหน่งขาของคอนเน็คเตอร์ ATX Power Supply Pinout
Q12 เสียส่วนใหญ่ก็มีกตายหมู่มีตัวอื่นร่วมด้วยเช่น ZD2 9V มีใช้กันจนถึง 18V ในกรณีที่มีการระเบิดรุนแรงอาจมีวงจรทางฝั่งขาออกร่วมด้วย
เช่น D28 D30 เปลี่ยนตัวเสียหมดแล้วเปิดแล้วเสียอีกเป็นไปได้ที่หม้อแปลง T6 จะเสียแล้วก็เป็นได้
หากไม่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ควรปิดสวิตซ์หรือดังปลั๊กออกเพราะวงจรส่วนนี้จะทำงานตลอดเวลาแม้ไม่ได้เปิดคอมพิวเตอร์
ทั้งนี้ก็เพื่อการประหยัดพลังงานลดภาวะโลกร้อน (ร้อนกันมากก็อยากร้อนด้วย) และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับ
เพาเวอร์ซัพพลายและเมนบอร์ดจ้า
     แต่วงจรนี้จะไม่เห็นกันในเพาเวอร์ซัพพลายทั่วๆไป เพราะส่วนใหญ่จะมีวงจรควบคุมแรงดัน ไอซี431 และ Photocoupler
มาร่วมด้วยดังตัวอย่างรูปด้านล่างนี้เลยครับ.




<<< - - - - - - - 26 กันยายน 2551 วันนี้คงต้องจบแค่นี้ก่อน ไว้ตอนหน้าจะพาไปดูวงจรในส่วนอื่นกัน โปรดติดตามตอนต่อไป. - - - - - - -->>>






ข้อมูลอ้างอิง
http://www.se-ed.net/sanambin/h-powersupply-system.html





หากใครสนใจจะแลกลิ้งค์เมล์มาได้เลยครับ.

MJE13007 J13009 2SC2625