สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกาญจนบุรี
http://www.oocities.org/ssokanchanaburi
แนะนำสำนักงาน
กองทุนประกันสังคม
กองทุนเงินทดแทน 1. การประกันสังคม คืออะไร
2. งานประกันสังคม ดำเนินการตามกฎหมายอะไร
3. ใครคือ ผู้ประกันตน
4. ยื่นแบบขึ้นทะเบียนเมื่อใด
5. ใครจะเป็นผู้ยื่นแบบขึ้นทะเบียน
6. หลักฐานอะไรบ้างที่ต้องนำมาแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน
7. จะขึ้นทะเบียนกับกองทุนประกันสังคมอย่างไร
8. เงินสมทบคืออะไร
9. จะนำส่งเงินสมทบอย่างไร
10. หากนำส่งเงินสมทบไม่ทันหรือส่งไม่ครบ จะต้องทำอย่างไร
11. เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้ประกันตนจะได้รับอะไรจากประกันสังคม
12. ลูกจ้างเมื่อขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีใดบ้าง
13. ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างไร
14. เมื่อใดจึงจะได้รับสิทธิ
15. กรณีเจ็บป่วยจะได้อะไร
16. หลักฐานอะไรบ้างที่ต้องใช้เมื่อไปรับการรักษาพยาบาล
17. หากไม่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ระบุไว้ตามบัตรรับรองสิทธิการักษาพยาบาล จะรักษาที่อื่นได้หรือไม่
18. ถ้าเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลอื่นจะได้รับค่าบริการทางการแพทย์อย่างไร
19. กรณีคลอดบุตรจะได้รับเงินเท่าไร
20. กรณีทุพพลภาพจะได้รับเงินเท่าไร
21. กรณีตายจะได้รับเงินเท่าใด
22. กรณีสงเคราะห์บุตรจะได้รับเงินเท่าไร
23. กรณีชราภาพจะได้รับเงินเท่าไร
24. กรณีว่างงานจะได้อะไร
25. ผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่ใด
ข้อมูลสำหรับนายจ้าง
ข้อมูลสำหรับลูกจ้าง/ผู้ประกันตน
ประกันการว่างงาน
ประกันตนเอง (มาตรา 39)
ลิงค์
หน้าแรก

 ร้องเรียน ร้องทุกข์
ข้อเสนอแนะ สอบถามปัญหา
 
1. การประกันสังคม คืออะไร
การประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น จากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ตาย ทุพพลภาพ สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีรายได้อย่างต่อเนื่อง
2. งานประกันสังคม ดำเนินการตามกฎหมายอะไร
งานประกันสังคมดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
3. ใครคือ ผู้ประกันตน
ผู้ประกันตน คือ ลูกจ้างที่เริ่มเข้าทำงาน อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีและไม่เกิน 60 ปี และอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งทั้งนายจ้างและลูกจ้างจะต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม ยกเว้น
1. ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวรายวัน และลูกจ้างชั่วคราวรายชั่วโมงของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ยกเว้น ลูกจ้างชั่วคราวรายเดือนต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคม
2. ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ
3. ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสำนักงานในประเทศ และไปประจำทำงานในต่างประเทศ
4. ครูหรือครูใหญ่ของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
5. นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิตหรือนักศึกษาหรือแพทย์ฝึกหัดซึ่งเป็นลูกจ้างของโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือโรงพยาบาล
6. กิจการหรือลูกจ้างอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
4. ยื่นแบบขึ้นทะเบียนเมื่อใด
นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน และเมื่อมีลูกจ้างเพิ่ม จะต้องให้ลูกจ้างใหม่ยื่นขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน
5. ใครจะเป็นผู้ยื่นแบบขึ้นทะเบียน
นายจ้างจะมายื่นแบบขึ้นทะเบียนด้วยตัวเอง หรือจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทนได้
6. หลักฐานอะไรบ้างที่ต้องนำมาแสดงในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียน
สำหรับนายจ้าง
กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล
1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01)
2. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
3. สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) หรือสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
4. แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
5. หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)
กรณีเจ้าของคนเดียว
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (คนต่างด้าวใช้สำเนาหนังสือเดินทางหรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว)
2. สำเนาใบทะเบียนบ้าน
3. สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์หรือสำเนาใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่ออกโดยกฎหมายอื่น ซึ่งระบุชื่อที่อยู่ชัดเจน
4. สำเนาบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรหรือสำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20)
หรือสำเนาภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ธ.20) หรือสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
5. แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
6. หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่
ประมวลรัษฎากรกำหนด)
สำหรับลูกจ้าง
1. กรอกแบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03)
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาทะเบียนบ้าน หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่สามารถแสดงตนได้
3. ใบอนุญาตทำงานและสำเนาหนังสือเดินทาง หรือใบอนุญาตทำงานและใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวในกรณีผู้ประกันตนเป็นชาวต่างชาติ
4. ลูกจ้างที่เคยยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาแล้ว ให้แจ้งการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03/1)
ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน
7. จะขึ้นทะเบียนกับกองทุนประกันสังคมอย่างไร
นายจ้างจะต้องยื่นแบบ ดังนี้
1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส.1-01)
2. แบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03 หรือ สปส.1-03/1)
โดยนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นแบบได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่สำหรับนายจ้างที่มีสำนักงานใหญ่ในส่วนภูมิภาคให้ไปขึ้นทะเบียน ณ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
8. เงินสมทบคืออะไร
เงินสมทบ คือ เงินที่นายจ้าง ลูกจ้างจะต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน โดยคำนวณค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับซึ่งกำหนดจากฐานค่าจ้างเป็นรายเดือนต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท สูงสุดเดือนละ 15,000 บาท (กรณีที่ลูกจ้างทำงานไม่เต็มเดือน หรือทำงานเพียงไม่กี่วัน และได้รับค่าจ้างไม่ถึง 1,650 บาท ให้นำฐานค่าจ้าง 1,650 บาท มาเป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ และกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างสูงกว่า 15,000 บาท ให้นำฐานค่าจ้าง 15,000 บาท มาเป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ) ทั้งนี้รัฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึ่ง
9. จะนำส่งเงินสมทบอย่างไร
นายจ้างจะต้องหักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างทุกครั้งและนำส่งเงินสมทบส่วนของนายจ้างในจำนวนเท่ากับที่ลูกจ้างทั้งหมดถูกหักรวมกัน พร้อมจัดเอกสารตามแบบ สปส.1-10 ส่วนที่ 1 และสปส.1-10 ส่วนที่ 2 หรือจัดทำข้อมูลลงแผ่นดิสเก็ต หรือส่งทางอินเตอร์เน็ต โดย:
1. นำส่งสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัดด้วยตนเอง เป็นเงินสด หรือ เช็ค ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือ
2. ชำระผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ณ สาขาในจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือ
3. ชำระ ณ ที่ทำการไปรษณีย์
10. หากนำส่งเงินสมทบไม่ทันหรือส่งไม่ครบ จะต้องทำอย่างไร
นายจ้างจะต้องรับผิดชอบจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่ง หรือจำนวนเงินที่ขาดอยู่ และจะต้องไปชำระที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น
11. เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว ผู้ประกันตนจะได้รับอะไรจากประกันสังคม
บัตรประกันสังคม
ผู้ประกันตนจะได้รับบัตรประกันสังคม เมื่อได้ขึ้นทะเบียนแล้ว 5 วันทำการ (ไม่นับระยะเวลาการส่งทางไปรษณีย์) สำนักงานประกันสังคมจะส่งบัตรประกันสังคมไปให้เพื่อใช้แสดงตัวในการขอรับสิทธิประโยชน์เมื่อมาติดต่อกับทางสำนักงานประกันสังคม และใช้กรอกในแบบฟอร์มส่งเงินสมทบเพื่อบันทึกไว้เป็นประวัติการจ่ายเงิน บัตรประกันสังคมจะมีเพียงใบเดียวไม่ว่าจะออกไปทำงานที่ใหม่กี่ครั้งก็ตาม
บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล
ผู้ประกันตนจะได้รับบัตรเมื่อได้ขึ้นทะเบียนและส่งเงินสมทบครบ 3 เดือนแล้ว โดยผู้ประกันตนจะต้องเลือกสถานพยาบาลที่จะเข้ารับการรักษาเอง สำนักงานประกันสังคมจะส่งบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลไปให้เพื่อใช้ในการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ระบุในบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งจะให้การรักษาพยาบาลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่ถ้าต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกผู้เข้ารับการรักษาจะต้องจ่ายเงินเพิ่มเอง
12.ลูกจ้างเมื่อขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนแล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์ในกรณีใดบ้าง
1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน
2. กรณีคลอดบุตร
3. กรณีทุพพลภาพ
4. กรณีตาย
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีชราภาพ
7. กรณีว่างงาน
13. ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างไร
1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน
จะได้รับบริการทางการแพทย์ เงินทดแทนการขาดรายได้ ค่าบริการทางการแพทย์กรณีถอนฟัน อุดฟัน และขูดหินปูน ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์บำบัดโรค การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การปลูกถ่ายไขกระดูก
2. กรณีคลอดบุตร
จะได้รับค่าคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร
3. กรณีทุพพลภาพ
จะได้เงินค่าบริการทางการแพทย์และเงินทดแทนการขาดรายได้ และค่าอวัยวะเทียม ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพ ค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์กรณีตาย
4. กรณีตาย
จะได้รับเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์กรณีตาย
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
จะได้รับสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายที่อายุไม่เกิน 6 ปี คราวละไม่เกิน 2 คน โดยเหมาจ่ายเดือนละ 200 บาทต่อบุตร 1 คน
6. กรณีชราภาพ
จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ หรือเงินบำนาญชราภาพ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน
7. กรณีว่างงาน
หากถูกเลิกจ้าง จะได้รับเงินทดแทนปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง
หากออกจากงาน จะได้รับเงินทดแทนปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง
ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ 4 กรณีแรก สำนักงานประกันสังคมจะให้ความคุ้มครองต่อไปอีก 6 เดือน นับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง
14. เมื่อใดจึงจะได้รับสิทธิ
1. กรณีเจ็บป่วย และกรณีทุพพลภาพ
เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันรับบริการทางการแพทย์
2. กรณีคลอดบุตร
เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันคลอด
3. กรณีตาย
เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือน ก่อนถึงแก่ความตาย
4. กรณีสงเคระห์บุตร
เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน
5. กรณีชราภาพ
มีอายุครบ 55 ปี และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง หรือเมื่อเป็นผู้ทุพพลภาพหรือเมื่อเสียชีวิต
6. กรณีว่างงาน
เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน
15. กรณีเจ็บป่วยจะได้อะไร
ได้รับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เมื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลหรือเครือข่ายของสถานพยาบาลนั้นและได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้
ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง โดยได้รับตามที่หยุดจริงตามคำสั่งแพทย์ แต่ไม่เกิน 90 วัน ต่อครั้งและไม่เกิน 180 วันต่อปี เว้นแต่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วัน
16. หลักฐานอะไรบ้างที่ต้องใช้เมื่อไปรับการรักษาพยาบาล
1. บัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ออกให้
2. บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่น ที่ทางราชการอกให้ ซึ่งมีรูปถ่ายด้วย
17. หากไม่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลที่ระบุไว้ตามบัตรรับรองสิทธิฯ จะรักษาที่อื่นได้หรือไม่
ผู้ประกันตนจะเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลอื่นได้ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน และกรณีอุบัติเหตุเท่านั้น
1. กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน
คือ โรคหรืออาการของโรคมีลักษณะรุนแรง อันอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตโรคหรืออาการของโรคเป็นมากต้องทำการช่วยชีวิตเป็นการด่วน และโรคที่ต้องผ่าตัดด่วน หากปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อชีวิต
2. กรณีอุบัติเหตุ
คือ เหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด และเป็นผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอก
18. ถ้าเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลอื่นจะได้รับค่าบริการทางการแพทย์อย่างไร
ถ้าเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลอื่นและผู้ประกันตนได้ทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน สามารถเบิกคืนจากสำนักงานประกันสังคมในอัตราที่กำหนดดังนี้
กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน
ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลได้ทุกแห่งโดยสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ที่เกิดขึ้นภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่เข้ารับการรักษา (ไม่นับรวมวันหยุดราชการ) ตามอัตราดังนี้
1. ประเภทผู้ป่วยนอก ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง
- จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลตามจำนวนเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 300 บาท
- ในกรณีมีการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอ็กซเรย์ จ่ายเพิ่มให้อีกตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินครั้งละ 200 บาท
- ในกรณีมีการรักษาด้วยหัตถการจากแพทย์ เช่น เย็บแผล จ่ายเพิ่มให้อีกตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินครั้งละ 200 บาท
2. ประเภทผู้ป่วยใน ปีละไม่เกิน 2 ครั้ง
- จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินวันละ 1,500 บาท
- ในกรณีมีการผ่าตัดใหญ่ ไม่เกิน 2 ชั่วโมง จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 8,000 บาทต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง
- ในกรณีมีการผ่าตัวใหญ่เกิน 2 ชั่วโมง จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 14,000 บาทต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง
- จ่ายเป็นค่าห้อง และค่าอาหารตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินวันละ 700 บาท กรณีที่มีความจำเป็นต้อง
รับการรักษาพยาบาลในห้อง ICU จ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมตามความจำเป็นไม่เกินวันละ 2,000 บาท
- ในกรณีมีการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ได้แก่ CTSCAN หรือ MRI ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 4,000 บาทต่อการเจ็บป่วยแต่ละครั้ง
กรณีอุบัติเหตุ
กรณีอุบัติเหตุ ไม่จำกัดจำนวนครั้งในการเบิกค่ารักษาพยาบาล ถ้าเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลของรัฐ ทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและประเภทผู้ป่วยใน ภายใน 72 ชั่วโมงแรกจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ส่วนค่าห้องและค่าอาหาร ตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกินวันละ 700 บาท
หากเข้ารับการรักษา ณ สถานพยาบาลเอกชน จ่ายตามหลักเกณฑ์เดียวกับกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน
ในกรณีมีความจำเป็นต้องส่งตัวผู้ป่วยไปตรวจวินิจฉัยหรือรักษาต่อยังสถานพยาบาลอื่นภายในระยะเวลา 72 ชั่วโมง สามารถเบิกค่าพาหนะในอัตราดังนี้
- ภายในเขตจังหวัดเดียวกัน สำหรับค่ารถพยาบาล หรือเรือพยาบาล จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง ไม่เกิน 500 บาทต่อครั้ง
และ 300 บาทต่อครั้งสำหรับพาหนะรับจ้างหรือส่วนบุคคล
- ในกรณีข้ามเขตจังหวัด จ่ายเพิ่มจากกรณีภายในเขตจังหวัดเดียวกันอีกตามระยะทางกิโลเมตรละ 90 สตางต์
(ตามระยะทางกรมทางหลวง)
เมื่อผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลอื่น
ให้รับแจ้งสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลทราบทันที เพื่อในรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น
นับตั้งแต่มีการแจ้ง
กรณีไม่มีบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาล
สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบตามเงื่อนไขแล้ว แต่สำนักงานประกันสังคมยังไม่ออกบัตรรับรองสิทธิการรักษาพยาบาลให้ สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลได้ หากประสบอันตรายจากอุบัติเหตุสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ตามหลักเกณฑ์และอัตราเดียวกับการเจ็บป่วยฉุกเฉิน
19. กรณีคลอดบุตรจะได้รับเงินเท่าไร
สำนักงานประกันสังคมจะเหมาจ่ายค่าคลอดบุตรให้ครั้งละ 4,000 บาท โดยมีสิทธิได้รับคนละ 2 ครั้ง
(กรณีที่มีการคลอดตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2547 เป็นต้นไป ค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายเพิ่มเป็น 6,000 บาท/ครั้ง)
สำหรับผู้ประกันตนหญิง จะได้รับค่าคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ในอัตราร้อยละ 50
ของค่าจ้างเฉลี่ย เป็นระยะเวลา 90 วัน
สำหรับผู้ประกันตนชาย จะได้รับเฉพาะค่าคลอดบุตร (สำหรับภรรยาที่จดทะเบียนสมรส หรือหญิงที่อยู่กินฉันสามีภรรยาอย่างเปิดเผยตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนด)
20. กรณีทุพพลภาพจะได้รับเงินเท่าไร
- ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นรายเดือนตลอดชีวิตในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง
- ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท
- ได้รับค่าใช้จ่ายในกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ทุพพลภาพทางร่างกาย จิตใจ และอาชีพ ตามประกาศ
สำนักงานประกันสังคม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ อัตราค่าฟื้นฟูของผู้ทุพพลภาพเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
ไม่เกิน 40,000 บาทต่อราย
- ผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป หากเสียชีวิตจะได้รับค่าทำศพ
และเงินสงเคราะห์กรณีตาย เช่นเดียวกับกรณีตาย
21. กรณีตายจะได้รับเงินเท่าใด
ได้รับค่าทำศพ 30,000 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย ดังนี้
จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างหนึ่งเดือนครึ่ง
จ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสงเคราะห์เท่ากับค่าจ้างห้าเดือน
22. กรณีสงเคราะห์บุตรจะได้รับเงินเท่าไร
ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 200 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ คราวละไม่เกิน 2 คน
23. กรณีชราภาพจะได้รับเงินเท่าไร
เงินบำนาญชราภาพ
1. กรณีจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน ได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตราร้อยละ 15 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
2. กรณีจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน ให้ปรับเพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพตามข้อ 1. ขึ้นอีกร้อยละ 1 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน
สูตรคำนวณเงินบำนาญชราภาพ = ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคูณด้วย (15% + จำนวน% ที่เพิ่มให้อีกปีละ 1%)
เงินบำเหน็จชราภาพ
1. กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทน
ในกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ
2. กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ เท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร
และชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนตามที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
3. กรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือน นับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย
สูตรคำนวณเงินบำเหน็จชราภาพ (กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป) = (เงินสมทบของผู้ประกันตน + เงินสมทบของนายจ้าง + ผลประโยชน์ตอบแทน)
เงินบำนาญชราภาพ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป
เงินบำเหน็จชราภาพ ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบไม่ถึง 180 เดือน
24. กรณีว่างงานจะได้อะไร
ตกงานเพราะถูกเลิกจ้าง
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง
ตกงานเพราะลาออก
ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ปีละไม่เกิน 90 วัน ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้าง หากใน 1 ปีปฏิทิน มีการยื่นขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ทั้ง 2 กรณี ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนการขาดรายได้รวมกันไม่เกิน 180 วัน
25. ผู้ประกันตนยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่ใด
ผู้ประกันจนสามารถยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่
1. สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่
2. สำนักงานประกันสังคมจังหวัดทั่วประเทศ
3. ขอรับประโยชน์ทดแทนทางโทรศัพท์
4. ส่งแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนทางไปรษณีย์

ขึ้นข้างบน

สำนักงานประกันสังคมจังหวัดกาญจนบุรี
2/1 หมู่ 12 ถนนแม่น้ำแม่กลอง ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 71000
โทร. 0-3451-2816 โทรสาร 0-3451-3913