ประวัติผู้จัดทำ

 

 

1. ชื่อ นางสุภัชชา พรหมแก้ว

2. อายุ 34 ปี

3. คุณวุฒิ ผู้ชำนาญการสอน

4. ตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 5

5. สถานที่ทำงานปัจจุบัน โรงเรียนวังประจบวิทยาคม

ตำบลวังประจบ อำเภอเมือง จังหวัดตาก รหัสไปรษณีย์ 63000 โทรศัพท์ 0-5551-4707

6. สถานที่ที่สามารถติดต่อไปสะดวก

เลขที่ 189/1 ถนนรามคำแหง ตำบลหัวเดียด อำเภอเมือง จังหวัดตาก 63000

โทรศัพท์ 055-514371

7. ผลงานดีเด่นเท่าที่ท่านทราบ

    1. หัวหน้าระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
    2. เจ้าหน้าที่การเงินโรงเรียน
    3. กรรมการฝ่ายปกครอง

7.4 ครูดีที่หนูรัก จาก โรงเรียนวังประจบวิทยาคม ปี 2545

  

ประวัติความเป็นมาของ

หมู่บ้าน โป่งแค

ประวัติความเป็นของหมู่บ้านโป่งแค

ในสมัยก่อนนั้น หมู่บ้านโป่งแคยังไม่ได้ตั้งขึ้นมา และหมู่บ้านโป่งก็มีชื่อ

ว่าหมู่บ้าน “น้ำดิบ” ในหมู่บ้านน้ำดิบช่วงปลาย ๆ ของหมู่บ้านน้ำดิบนั้นมีโป่งเยอะ มีอยู่

หลายที่ คำว่า “โป่ง” ในที่นี้หมายถึง จอมปลวกนั่นเอง โป่งนี้ชอบขึ้นอยู่ตามต้นดอกแค

และก็มีการแยกหมู่บ้าน เนื่องจากมีคนอพยพมาอยู่กันอย่างหนาแน่น จึงได้แยกตัวออกจาก

หมู่บ้านน้ำดิบมาเป็นหมู่บ้านโป่งแคจนถึงปัจจุบันนี้เอง

ผู้ให้ข้อมูล นายสมชาย ชำนาญผา

ผู้ขอข้อมูล ด.ญ.สุภาพร มงคล

 

 

 

ประวัติความเป็นมาของ

หมู่บ้าน วังประจบ

ประวัติความเป็นของหมู่บ้านวังประจบ

เมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว สภาพของบ้านวังประจบยังเป็นป่งดง โดยทั่วไป

ทั้งหมดไม่มีผู้คนมาอาศัยอยู่แต่อย่างใด ถนนสายตากสุโขทัยก็ยังไม่ได้สร้าง การเดินทางไปมาต้องใช้ทางเกวียน เมื่อทางราชการต้องการติดต่อราชการกับจังหวัดสุโขทัย เช่นการติดต่อราชการหรือส่งพัสดุภัณฑ์ ก็ใช้คนแบกหามไปตามเส้นทางนี้ เขาเรียกทางเส้นนี้ว่าทางหลวง

และคนที่แบกหามหรือส่งพัสดุภัณฑ์ เขาเรียกคนเดินเมล์ และเดินด้วยเท้าหรือขี่ม้า เส้นทางนี้

ตัดจากจังหวัดตากมุ่งตรงไปจังหวัดสุโขทัยทางทิศตะวันออกลัดเลาะป่าเขา และผ่านมาทาง

สถานที่อันเป็นที่ตั้งบ้านวังประจบปัจจุบันนี้ และมาข้ามห้วยแม่ระกา หรือที่เราเรียกกันเดี๋ยวนี้

ว่า คลองคะยาง ตรงจะที่ทางข้ามห้วยแม่ระกานั้น เขาเลยเรียกว่าทางข้ามมาจนเดี่ยวนี้ ข้ามคลองแม่ระกาแล้วผ่านไปทางใต้นิดหน่อย เมื่อผ่านไปตรงที่เป็นที่ตั้งวัดแก่งหินเดียวนี้

เส้นทางนี้แยกออกเป็นสองสาย สายหนึ่งตรงไปจังหวัดสุโขทัย ส่วนอีกเส้นหนึ่งแยกลงไป

ทางใต้ไปจังหวัดกำแพงเพชร ตรงจุดที่ทางแยกนี้อยู่ใกล้กับห้วยแม่ระกา ซึ่งน้ำไหลวกลงไป

ทางใต้ และที่ตรงนี้มีวังน้ำลึก น้ำขังตลอดปี ผู้คนที่เดินทางสัญจรไปมามักจะมาพักที่นี้ เพราะ

ได้อาศัยน้ำในวังนี้ จึงเรียกวังน้ำนี้ว่า “วังประจบ” สมัยนั้นตำบลน้ำรึมเป็นหมู่บ้านใหญ่มี

ผู้คนเป็นจำนวนมากพอเสร็จหน้าทำนามักจะพากันเข้าป่า และบุคคลเหล่านั้นส่วนหนึ่งจะมา

ที่วังประจบ จุดมุ่งหมายที่มาคือ มาล่าสัตว์บ้าง หาของป่าบ้าง และพาควายมาพักแรกบ้าง

เพราะคลองแม่ระกามีวังน้ำเป็นช่วง ๆ ตลอดปี บุคคลที่มาเหล่านี้มาพบที่ป่ามีลักษณะที่

เหมาะแก่การทำไร่ทำนา จึงได้พากันมาจับจองไว้เป็นของตนเอง จึงเกิดกลุ่มหมู่บ้านเล็ก ๆ

กลุ่มละ 4 – 5 หลังคาเรือน โดยแยกออกไปตั้งตามที่ดินของตนที่จับจองไว้นับได้ดังนี้

    1. กลุ่มหมู่บ้านวังกอบง ปัจจุบันนี้คือที่ดินที่อยู่หลังโรงเรียนวังประจบวิทยาคม ปัจจุบันนี้จะมีต้นตาลสูง ๆ เป็นสัญลักษณ์
    2. กลุ่มบ้านท่าข้าม คือหมู่บ้านหน้ากรมทางในปัจจุบันนี้เอง
    3. กลุ่มหมู่บ้านวังประจบเก่า
    4. กลุ่มหมู่บ้านหนองจิก คือ บ้านแก่หินในปัจจุบันนี้เอง
    5. กลุ่มบ้านหาคลองสัก หรือบ้านสะแกเครือในปัจจุบัน
    6. ต่อมามีผู้คนที่เป็นญาติพี่น้องเพื่อนฝูงได้ติดตามมาอยู่เพิ่มเติมกลุ่มต่าง ๆ ทำให้

มีผู้คนมากขึ้น จึงตั้งผู้ใหญ่บ้านปกครองเป็นหมู่ที่ 7 ของตำบลน้ำรึม ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ

ผู้ใหญ่แจ๊ว สุขจิตร เมื่อหมดสมัยผู้ใหญ่แจ๊ว แล้วก็มีผู้ใหญ่คนที่ 2 คือ ผู้ใหญ่ใน บุบผา

โรงเรียนบ้านวังประจบเริ่มเปิดสอนเป็นครั้งแรกโดยอาศัยศาลาคนเดินทางเป็นสถานที่เรียน

เพราะมีนักเรียนไม่กี่คน เมื่อผู้ใหญ่ใน ถึงแก่กรรมลงก็มีผู้ใหญ่บ้านคนที่ 3 คือ

ผู้ใหญ่จ้อน บุบผา ตอนนี้ทางราชการมาสร้างอาคารเรียนให้ใหม่ริมถนนสายสุโขทัยตาก

หลังจากผู้ใหญ่จ้อน บุบผาถึงแก่กรรม จึงเลือกผู้ใหญ่คนใหม่ขึ้นมาแทนคือ ผู้ใหญ่อยู่ เอมอยู่

และถัดจากผู้ใหญ่อยู่ ก็ถึงผู้ใหญ่หวาน อุดคำเที่ยง ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนตามวาระ ในตอนนี้

มีผู้คนหลายบ้าน หลายอำเภอ และหลายจังหวัดพากันเข้ามาทำมาหากินในบ้านวังประจบมากขึ้น จึงทำให้เกิดบ้านใหม่ขึ้นมาอีกเช่น บ้านลานเต็ง บ้านลานยาง บ้านหนองร่ม บ้านลานสอ

บ้านโป่งแดง เป็นต้น เมื่อมีผู้คนและหมู่บ้านมากขึ้น ทางราชการจึงได้ยกหมู่บ้านขึ้นเป็นตำบลโดยมีนายงุ้น แจ่มวงษ์อินทร์ เป็นกำนันคนแรกของวังประจบ และหลังจานี้เป็นต้นมาก็

มีผู้คนจากหลายหมู่บ้าน หลายตำบล และหลายจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดในภาคอีสาน

พากันอพยพเข้ามาปักหลักทำมาหากิน จึงเกิดหมู่บ้านและโรงเรียนเพิ่มขึ้น เช่น

บ้านสะพานสอง บ้านทรัพย์สมบูรณ์ เป็นต้น

หมายเหตุ ขอเพิ่มเติมเรื่องของประวัติบ้างวังประจบวิทยาคมอีกเล็กน้อยใน

เรื่องของถนนสายสุโขทัย – ตากนี้ ได้สร้างขึ้นครั้งแรกสมัยบ้านวังประจบยังไม่มีผู้ใหญ่บ้าน

โดยมีบริษัทรับเหมาก่อสร้างชื่อ บริษัท ง่วนเลี่ยงได่ เป็นของคนจีน คนงานที่ทำก็เป็นคนจีน

ล้วนๆ ไม่มีคนไทยเลย หัวหน้าคนงานชื่อ เฒ่าแก่สี หรือเล็กสี บริษัทจีนรับเหมาไปถึงแค่

บ้านคลองสัก ตรงถนนโค้งเข้าวัดคลองสักในปัจจุบัน ต่อจากนั้นมีบริษัทของอินเดียเข้ามา

รับเหมาทำไปจนเสร็จสิ้นถึงจังหวัดสุโขทัย-ตาก และคนที่เป็นนายช่างดูแลการทำถนนสายนี้

เป็นคนไทยชื่อว่า “คุณจรด วิถีถ่อง” เข้าจึงตั้งชื่อถนนสายนี้ว่าถนนจรดวิถีถ่อง

 

ผู้ให้ข้อมูล นายปลื่ม จันทร์สายทอง

ผู้ขอข้อมูล ด.ญ.นิตยา ดีเมฆ

ประวัติความเป็นมาของ

หมู่บ้าน แก่งหิน

ประวัติความเป็นของหมู่บ้านแก่งหิน

บ้านแก่งหินหมู่ที่ 2 ตำบลวังประจบ อำเภอเมือง จังหวัดตาก เดิมเป็นบ้าน

วังประจบหมู่ที่ 16 ตำบลน้ำรึม

ชาวบ้านได้ย้ายมาจากตำบลน้ำรึม ซึ่งมาอยู่ไม่กี่ครอบครัว และต่อมามี

ประชากรเพิ่มขึ้นจึงตั้งเป็นหมู่บ้านแก่งหิน ตำบลน้ำรึม อำเภอเมือง จังหวัดตาก

เหตุที่เรียกชื่อบ้านแก่งหิน เพราะบริเวณคลองแม่ระกามีหินขนาดใหญ่

กั้นขวางคลองแม่ระกาอยู่ เวลาหน้าฝนน้ำไหลผ่านคลองแม่ระกา ก็จะผ่านหินที่ขวางอยู่

ดูแล้วสวยงามมาก ชาวบ้านจึงเรียก “แก่งหิน” จนมาถึงปัจจุบัน และต่อมามีการย้ายจาก

ตำบลน้ำรึมมาเป็นตำบลวังประจบ บ้างแก่งหินจึงเปลี่ยนจากหมู่ที่ 16 ตำบลน้ำรึม มาเป็น

หมู่ที่ 2 ตำบลวังประจบจนถึงปัจจุบันนี้

ผู้หาข้อมูล ด.ญ.เปรมยุดา ฟักทองอยู่ และ

ด.ญ.วัชราภรณ์ มะโนเพ็ญ

ภาษาถิ่นของหมู่บ้าน

ยกตัวอย่างได้ดังนี้

จิ้งจก ภาษาพื้นบ้าน ตกแก้ม

กิ้งก่า ภาษาพื้นบ้าน ไห้ก่า

จอบ ภาษาพื้นบ้าน กระบก

เสียม ภาษาพื้นบ้าน กระบก ฯลฯ

 

ประวัติความเป็นมาของ

หมู่บ้าน ลานห้วยเดื่อ

ประวัติความเป็นของหมู่บ้านลานห้วยเดื่อ

ประวัติหมู่บ้านลานห้วยเดื่อก่อนเดิมจะได้เป็นหมู่บ้านลานห้วยเดื่อนั้น ได้

มีชาวบ้านตำบลน้ำรึมได้มาทำมาหากิน , ทำนา ในบริเวณหมู่บ้านของเรา ต่อมาก็อพยพมา

สร้างบ้านเรือนที่หมู่บ้านของเราเป็นจำนวนมาก อีกทั้งบริเวณนี้มีคลองที่ชื่อว่า “คลองขยาง”

และเป็นคลองที่อยู่ในหมู่บ้านของเรา และมีน้ำไหลผ่านและมีต้นมะเดื่อขึ้นมากมาย ชาวบ้าน

จึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “หมู่บ้านลานห้วยเดื่อ”

 

ผู้หาข้อมูล ด.ช.ปริญญา อ่อนจิ๋ว

 ประวัติความเป็นมาของ

หมู่บ้าน สะแกเครือ

ประวัติความเป็นของหมู่บ้านสะแกเครือ

หมู่บ้านสะแกเครือ เมื่อก่อนนี้มีชื่อว่าหมู่บ้านคลองขยาง แต่ต่อมาได้

เปลี่ยนแปลงเป็นบ้านสะแกเครือ เพราะว่ามีต้นสะแกขึ้นอยู่มากมาย ลักษณะของต้นสะแก

จะมีลักษณะใบเขียวเล็ก ๆ ลำต้นมีหนาม จะขึ้นอยู่เป็นเครือ จึงได้เปลี่ยนชื่อตามต้นไม้ที่มีอยู่

ในท้องถิ่น ชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านสะแกเครือ” และใช้ต้นสะแกเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน

และได้เรียกกันจนติดปากว่า บ้านสะแกเครือ มาตลอดจนเป็นที่รู้จักกันไปทั่วจนมาถึงปัจจุบัน

 

ผู้หาข้อมูล ด.ญ.มยุรส บัวจันทร์

 

ประวัติความเป็นมาของ

หมู่บ้าน ลานเต็ง

ประวัติความเป็นของหมู่บ้านลานเต็ง

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน เนื่องด้วยเมื่อก่อนนี้ หมู่บ้านลานเต็งมี

ต้นเต็งขึ้นเยอะมาก ถ้านับแล้วเกือบทั่วบริเวณของหมู่บ้านจะมีต้นเต็งขึ้นทุกหลังคาเรือน

ที่มาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ซึ่งถ้าเทียบกับที่อื่น ๆ แล้วนับว่าต้นเต็งขึ้นอยู่ที่หมู่บ้านนี้มาก

ที่สุด จนใครไปใครมาก็จะเห็นต้นเต็งอยู่เต็มไปหมด จึงเป็นเอกลักษณ์ประจำหมู่บ้านเลย

ต่อจากนั้นชาวบ้านจึงพากันตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “หมู่บ้านลานเต็ง” มาจนถึงทุกวันนี้

ผู้หาข้อมูล ด.ช.จิรศักดิ์ จันทร

ภาษาถิ่นของหมู่บ้าน

ยกตัวอย่างได้ดังนี้

จิ้งจก ภาษาพื้นบ้าน ตะแก้ม

จอบ ภาษาพื้นบ้าน กระบก

เสียม ภาษาพื้นบ้าน กระจอม

เสือ ภาษาพื้นบ้าน เสื่อ

เสื่อ ภาษาพื้นบ้าน เสือ

 

 

ประวัติความเป็นมาของ

หมู่บ้าน หนองพม่า

ประวัติความเป็นของหมู่บ้านหนองพม่า

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน เมื่อประมาณ 500 ปีที่ผ่านมา ที่หมู่บ้าน

หนองพม่ามีการทำสงครามระหว่างไทยกับพม่า ซึ่งในอดีตนั้นที่ตั้งของหมู่บ้านหนองพม่า

มีกองทัพของพวกพม่ายกทัพมาเพื่อจะตีประเทศไทยในสมัยนั้น ได้เดินทางมาแล้วมาตั้งทัพ

ที่หมู่บ้านหนองพม่า เพราะในอดีตบริเวณนี้มีหนองน้ำไหลผ่านทัพของพม่าจึงพักและตั้ง

ฐานทัพที่นี้ ต่อมากองทัพไทยได้ยกทัพมาตีกองทัพพม่าจนแตกสลายและพม่าพ่ายแพ้ไป

ในที่สุด ทหารพม่าได้ล้มตายอยู่ในหนองน้ำแห่งนี้เป็นจำนวนมากมาย คนเฒ่า คนแก่ ในสมัย

นั้นก็เลยตั้งชื่อตามสภาพเหตุการณ์ต่างๆ ว่า “หมู่บ้านหนองพม่า” มาจนถึงปัจจุบันนี้

 

ผู้ให้ข้อมูล คุณตาสำราญ ยิ้มมี

ผู้ขอข้อมูล ด.ช.ธวัชชัย เพชรวงษ์