อนุสาวรีย์แห่งความกล้าหาญและเสียสละของทหารไทย

ในสมรภูมิเวียดนาม

พ.ศ.2507 ถึง พ.ศ.2515

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถสมเด็จพระราชดำเนิน

ทรงวางศิลาฤกษ์ เมื่อ 22 ตุลาคม พ.ศ.2533

------------------

ไทยเข้าร่วมสงครามเวียดนาม

เมื่อเกิดสงครามเวียดนาม ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเวียดนาม กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามขึ้นใน พ.ศ.2508 รัฐบาลไทยได้อนุมัติหลักการให้ความช่วยเหลือทางการทหารแก่รัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนามตามที่ได้รับการร้องขอโดยส่งกำลังทหารจากกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศไปร่วมรบ มีกองบัญชาการกองกำลังทหารไทยในสาธารณรัฐเวียดนามเป็นกองบัญชาการร่วมปฏิบัติหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชาหน่วยทหารไทยทุกเหล่าทัพสำหรับหน่วยที่ส่งไปร่วมรบคือ

1. ทหารบก ในชั้นต้นจัดกำลังในอัตรากรมทหารอาสาสมัคร ( กรม.อสส.) ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อจงอางศึก ต่อมาได้ขยายความช่วยเหลือโดยเพิ่มเติมอัตรากำลังพลเป็นระดับกองพลทหารอาสาสมัคร ( พล.อสส.) ซึ่งรู้จักกันในชื่อ กองพลเสือดำ

2. ทหารเรือ หน่วยเรือซีฮอร์ส ( Sea Horse )

3. ทหารอากาศ หน่วยบินวิคตอรี ( Victory Wing U nit )

ความเป็นมาของอนุสาวรีย์

พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก ( ขณะนั้น ) ได้อนุมัติหลักการ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2530 ให้กองทัพบกจัดสร้างอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนามขึ้น ในบริเวณค่ายสุรสีห์ กองพลทหารราบที่ 9 จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงวีรกรรมของทหารไทยที่ได้ไปปฏิบัติการรบร่วมกับชาติพันธมิตรในสงครามเวียดนาม นำชื่อเสียงและเกียรติยศมาสู่ประเทศไทย กับเพื่อเป็นที่ระลึกถึงคุณงามความดีและความเสียสระของทหารที่เสียชีวิตในสงครามครั้งนั้น ระหว่างปี พ.ศ.2530 – 2533 กองทัพบกได้พิจารณาดำเนินการในขั้นการวางรูปแบบการตกแต่ง และประมาณการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ

สมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ เสด็จพระราชดำเนินไปทรางวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีทหารผ่านศึกเวียดนาม เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2533 ณ กองพลทหารราบที่ 9 ค่ายสุรสีห์ ตรงบริเวณสี่แยกคำขวัญ

ต่อมาใน พ.ศ.2534 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้มอบให้กรมยุทธศึกษาทหารดำเนินการก่อสร้างอนุสาวรีย์นี้ต่อ จากกองทัพบก โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด ( พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ขณะนั้น )

ได้มอบให้พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด ( ขณะนั้น ) เป็นผู้กำกับดูแลให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ กองบัญชาการทหารสูงสุด ได้รายงานเรียนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมขอจัดตั้งคณะกรรมการซึ่งกระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนาม โดยมีรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นประธานกรรมการ

การจัดสร้างอนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนาม

กองบัญชาการทหารสูงสุดได้มอบให้กรมยุทธโยธาทหารบก ดำเนินการก่อสร้าง

อนุสาวรีย์ทหารผ่านศึกเวียดนามใน พ.ศ.2534 การก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ.2535 หลังจากนั้น ได้มีการแก้ไขปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง และชำรุดต่าง ๆ จัดและตกแน่งบริเวณโดยรอบ จนกระทั้ง พ.ศ.2538 อนุสาวรีย์ดังกล่าวจึงเสร็จเรียบร้อย มีความสง่างาม ร่มรื่น และสวยงาม

ตัวอนุสาวรีย์

มีลักษณะคล้ายดาบปลายปืน 4 เล่ม ประกบกัน สูงประมาณ 29 เมตร หุ้มสันซึ่งมีลักษณะคล้ายกลีบมะเฟืองกับส่วนยอดอนุสาวรีย์ ด้วยสเตนเลสผิวกระจก ฐานอนุสาวรีย์เป็นรูปวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 24 เมตร ยกพื้นรูปสี่เหลียม จตุรัสทำเป็นขั้นบันได ปูด้วยหินแกรนิต บริเวณคอฐานรูปอนุสาวรีย์ด้านหน้าจารึกชื่ออนุสาวรีย์บนแผ่นหินแกรนนิตสีดำ ส่วนอีกสามด้านจารึกชื่อทหารไทยผู้เสียชีวิตในสงครามเวียดนามจำนวน 539 ชื่อ บนแผ่นหินอ่อนสีเทา คอบนของอนุสาวรีย์ประดับภาพประติมากรรมนูนต่ำทำด้วยโลหะทองแดงผสม รมสีด้วยน้ำยาเคมี เป็นภาพเกี่ยวกับ

- การดำเนินการในส่วนบังคับบัญชา (การไปนมัสการเพื่อลาพระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากรการตรวจ

เยี่ยมของผู้บังคับบัญชา การประดับแพรแถบธงชัยเฉลิมพล การประดับเหรียญชัยสมรภูมิ และ

เหรียญกล้าหาญ )

- วีรกรรมของทหารบก ( กรม อสส., พล.อสส.)

- วีรกรรมของทหารเรือ ( หน่วยเรือซีฮอร์ส )

- วีรกรรมของทหารอากาศ (หน่วยบินวิคตอรี่ )

ผู้ออกแบบอนุสาวรีย์และสภาพประติมากรรมนูนต่ำวีรกรรม คือ นายกนก บุญโพธิ์แก้ว ผู้อำนวยการกองหัตถศิลป กรมศิลปกร ( ขณะนั้น )

บริเวณโดยรอบอนุสาวรีย์

จัดสร้างน้ำพุ สวนหย่อม ปลูกต้นไม้ยืนต้น และไม้ประดับวางกระสอบรอบคูน้ำให้มีสภาพคล้ายค่ายทหารไทย สำหรับพื้นที่ตรงข้ามอนุสาวรีย์ ได้จัดเป็นพิพิธภัณฑ์ กลางแจ้งประกอบอนุสาวรีย์ ติดตั้งเครื่องบินตรวจการณ์ (บต.19) และเฮลิคอปเตอร์ (ฮท.1) ของกองทัพบกไว้ให้ชมด้วย


กลับไปหน้าแรก

1