ร่างกายของเราประกอบด้วย หน่วยย่อยที่สุดที่เราเรียกว่า เซลล์ (Cells) เซลล์หลายๆ เซลล์ทำงาน
ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) และกลุ่มของเนื้อเยื่อหลายชนิดทำงานด้วยกันนั้น เราจะเรียกว่าอวัยวะ(Organs) และตัวอย่างของอวัยวะ ได้แก่ หัวใจ (heart) ไต (Kidney) ตับ (Liver) ปอด (Lung) ฯลฯและเราพบว่าความผิดปกติหรือความบกพร่องใดๆ ของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเรานั้น ก็ล้วนแล้วแต่มี ต้นกำเนิดมาจากการตายหรือความเสียหายของส่วนเล็กที่สุดหรือ ส่วนที่เป็นเซลล์ของอวัยวะนั้นๆแทบทั้งสิ้น และจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ เราพบว่าสิ่งที่ทำให้เซลล์เกิดความเสียหายหรือเกิดการตายได้มากที่สุด คือสารพิษตกค้างชนิดหนึ่ง ที่เราเรียกว่า อนุมูลอิสระ (FreeRadicals) ที่มีอยู่อย่างมากมายในร่างกายของเราอนุมูลอิสระ หรือสารพิษดังกล่าวนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. อนุมูลอิสระที่มาจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งได้แก่ กาซอ๊อกซิเจน สารเคมีและสิ่งปนเปื้อนที่มากับ
อากาศที่เราหายใจเข้าไป สารเติมแต่งอาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือสารเคมีต่าง ๆ ที่ใช้ในการ
เกษตร ฯลฯ
2. อนุมูลอิสระที่ร่างกายของเราสร้างขึ้นเอง ซึ่งได้แก่ สารเคมีที่หลงเหลือจากขบวนการทางชีวเคมี ที่
เกิดขึ้นภายในร่างกายและในเซลล์เอง อย่างเช่น ในขบวนการในการสลายไขมันที่เราพบว่าร่างกาย
จะมีการสร้างสารอนุมูลอิสระชื่อไลปิดเปอร์ร๊อกไซด์ (Lipid peroxides) ในปริมาณสูงนั้น ในผู้ที่
ลดน้ำหนักโดยการสลายไขมันออกจากร่างกายมาก ๆ ก็จะทำหใเกิดอนุมูลอิสระชนิดนี้มากด้วย

อนุมูลอิสระเหล่านี้มีคุณสมบัติทางเคมีที่สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของเราได้ด้วยปฏิกิริยาอ๊อกซิ-
เดชั่น (Oxidation) และเมื่อมีการทำลายเยื่อหุ้มเซลล์แล้วก็จะส่งผลทำให้เซลล์เกิดการตาย หากหลายๆเซลล์เกิดการตายก็จะส่งผลทำให้เกิดความบกพร่องของอวัยวะตามมาภาวะที่พบว่าเกิดจากผลของอนุมูลอิสระนั้นมีมากมายตัวอย่างเช่นโรคความเสื่อมชนิดต่างๆ ของอวัยวะ ภาวะผิวพรรณเหี่ยวย่นก่อนวัยโรคความจำเสื่อม (Alzheimer's Diseases)โรคหัวใจ (Heart Diseases)ภาวะความเป็นหมัน(Infertilities) ฯลฯนอกจากนั้นยังพบว่าสารพิษ หรือสารอนุมูลอิสระเหล่านี้ยังสามารถทำให้เกิดความผิดปกติต่อการแบ่งตัวของเซลล์ได้ หากสารอนุมูลอิสระดังกล่าวเข้าไปทำปฏิกิริยากับสารพันธุกรรม DNAหรือRNAภายในเซลล์ทำให้เกิด การแบ่งตัวของเซลล์อย่างผิดปกติที่เป็นสาเหตุของภาวะมะเร็ง
(Cancers) ชนิดต่าง ๆ


ดังนั้นจะเห็นได้ว่าด้วยวิถีชีวิตการรับประทานอาหารที่ไม่ค่อยมีทางเลือกมากนักอากาศที่มีแต่มลภาวะ แหล่งของอาหารที่รับประทานที่เราไม่อาจทราบได้เลยว่าจะปราศจาก สารเคมีหรือสารปนเปื้อนหรือไม่ รวมทั้งภาวะเพิเศษต่างๆ ของร่างกายของแต่ละคน เช่น การลดไขมันในโปรแกรมการควบคุมน้ำหนักการออกกำลังกายอย่างหนักหรือภาวะความเครียด ที่เกิดจากการทำงานอย่างหนัก นั้นก็ล้วนแล้วแต่จะเป็นการช่วยก่อให้เกิดสารพิษ หรือสารอนุมูลอิสระ ที่มีผลในการทำลายเซลล์ และก่อความผิดปกติในร่างกายของเราได้ทั้งสิ้น

ในปัจจุบันวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ เราค้นพบว่าในการป้องกันภาวะบกพร่องของร่างกาย
ต่างๆที่เกิดจากการทำลายเซลล์จากผลอนุมูลอิสระเหล่านี้นั้นเราควรได้รับสารที่มีผลในการทำลายฤทธิ์
ของสารอนุมูลอิสระเหล่านี้เสียสารดังกล่าวก็คือ สารที่เราเรียกว่า สารต้านการเกิดปฏิกิริยา อ๊อกซิเดชั่น(Antioxidants)ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะและสารต้านการเกิดปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นที่พบว่าปลอดภัยที่สุด ก็คือสารที่ได้จากธรรมชาติ ตัวอย่างของสารต้านการเกิดปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั้นที่ดีได้แก่ วิตามิน เอ วิตามิน ซี
อี สารสกัดจากพืชชนิดต่าง ๆ เช่น
สารสกัดจากโรสแมรี่

โรสแมรี่ (Rosemary) เป็นพืชชนิดหนึ่งในแถบอเมริกาเหนือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า
โรสมารินัส ออฟฟิสสินาลีส (Rosmarinus officinalis L.) และในทางเภสัชวิทยา พบว่า
สารสกัดสำคัญที่ได้จากโรสแมรี่และให้ผลในการต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นคือสารธรรมชาติที่
มีชื่อว่า กรดโรสมารินิค (Rosmarinic Acid) และ กรดคาโนซิค (Carnosic Acid) ซึ่ง
นอกจากจะเป็นสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการต้านการเกิดปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นที่แล้วแล้ว สารสกัด
จากโรสแมรี่เหล่านี้ยังให้ผลในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ในการต้านการเกิดปฏิกิริยาอ๊อกซิ-
เดชั่นให้กับ วิตามิน อี (Vitamin E) ที่มีต่อร่างกายของเราให้สูงขึ้นได้อีกด้วย

ในปัจจุบัน พบว่ามีผลการวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดจากโรสแมรี่ออกมามายมายโดยเฉพาะ
ผลการวิจัยที่พบว่า สารประกอบ กลุ่มฟีนอลลิคโดเทอร์ปีน (Phenolic Diterpines) ที่มีอยู่ในสาร
สกัดจากโรสแมรี่นี้ยังให้ผลในการต้านเชื้อ HIV และโรคมะเร็ง (Tumor)จึงทำให้สารสกัดจาก
โรสแมรี่นี้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางสำหรับการใช้ประโยชน์เพื่อต้านการเกิดปฏิกิริยา
อ๊อกซิเดชั่นและป้องกันความบกพร่องของสุขภาพที่อาจจะเกิดต่อเนื่องจากปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น
ที่เกิดขึ้นในร่างกายของเราได้


1