โรสแมรี่ (Rosemary) เป็นพืชที่ชาวยุโรปและอเมริกา รู้จักกันเป็นอย่างดี และในประเทศไทยของเราคงรู้จักโรสแมรี่ในแง่ของกลิ่นหอม (Flavor) ของน้ำมันจาก โรสแมรี่ ที่ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอาง หรืออาหารกันอย่างกว้างขวาง โรสแมรี่เป็นพืชที่มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่าโรสมารินัส อ๊อฟฟิซซินาลีส
(Rosemarinus officinalis L.)
เดิมทีเดียว โรสแมรี่ เป็นพืชที่ขึ้นอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแต่ปัจจุบันพบมากในแถบอเมริกาเหนือซึ่งผู้คนในแถบดังกล่าวนิยมนำโรสแมรี่มาใช้ประโยชน์ในการบำรุงสุขภาพกันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ และส่วนที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ในสรรพคุณดังกล่าว ก็คือ ส่วนของ ใบ
(Leaf) และ นอกจากนั้น ดอกของ โรสแมรี่ ยังถูกใช้เป็นสัญญลักษณ์แห่งความรัก (Love charm) และสัญญลักษณ์แห่งความทรงจำ (Remembrance) ในเทศกาลต่างๆ อีกด้วย

ในทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่นั้น นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจสอบและได้ทำการศึกษาวิจัย โรสแมรี่โดยเฉพาะสารสกัดที่เราได้จากส่วนใบของ โรสแมรี่ (Rosemary Extract) กันมาเป็นเวลานานจนกระทั่งทำให้พบว่า สารสกัดจากโรสแมรี่นั้นเป็นส่วนผสมของสารจากธรรมชาติมากมายหลายชนิดซึ่งส่วนใหญ่แล้ว สารที่มีประโยชน์ ต่อสุขภาพร่างกายของคนเราที่มีอยู่ในสารสกัดดังกล่าวเป็นสารเคมีในกลุ่มของฟีนอลลิคไดเทอร์ปีน (Phenolic Diterpine)  โดยพบว่าสารเหล่านี้จะให้ผลในการกำจัดสารพิษชนิด ต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะอนุมูลอิสระ (Free Radicals)  ที่มีผลในการทำลายเซลล์และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะมะเร็ง สารสำคัญจากโรสแมรี่ที่มีการวิจัยกันอย่างกว้างขวาง และพบว่าให้ผลดังกล่าวอย่างชัดเจนก็คือ กรดโรสมารินิค (Rosmarinic Acid) กรด คาร์โนซิค (Carnosic Acid) และ
คาร์นาโซล (Carnasol)
และจากผลการศึกษาวิจัยของคณะนักวิทยาศาสตร์ ที่ประกอบด้วยDr.Aruoma OI และ คณะฯจาก
มหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้ตีพิมพ์ในวารสาร ซีโนไบโอติค (Xenobiotic)
ได้แสดงไว้อย่างชัดเจนว่าสารสกัด กรดคาร์โนซิคและคาร์นาโซล ให้ผลในการลดการทำลาย เยื่อหุ้ม
เซลล์และสารพันธุกรรม DNA จากความเป็นพิษของอนุมูลอิสระและยังให้ผลในการลดฤทธิ์การทำลาย
เซลล์ของอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น ไลปิดเปอร์อ๊อกไซด์ (Lipidperoxide) เปอร์ร๊อก ซิลเรติคัล (Peroxyl
Radicals)และไฮดร๊อกซิลเรติคัล (Hydroxyl Radicals) ฯลฯและจากผลการวิจัยของDr.Singletary K
จากภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและสารอาหารสำหรับมนุษย์(DepartmentofFoodScienceand
Human Nutrition) มหาวิทยาลัยแห่งอิลินอยด์ ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Cancer letter
ปี 1996 ก็ได้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดคาร์นาโซล และ กรดเออร์โซลิค (Ursolic Acid) จาก โรสแมรี่มี
ส่วนที่สามารถให้ผลในการต้านภาวะมะเร็งหรือ ทูเมอร์ (Antitumerigenic Activity)ได้ในสัตว์ทดลอง
โดยเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและจากบทความทางวิชาการและการศึกษาของDr.al - Seriti MR.
และคณะฯ มหาวิทยาศาสตร์การแพทย์เมืองตริโปลีประเทศลิเบียที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารIndian
Journal Experimental Biology ปี 1999 ก็แสดงให้เห็นว่าสารสกัด กรดโรสมารินิค จากโรสแมรี่ ยัง
ให้ผลในการป้องกันภาวะหอบหืด ภาวะการเกร็งของทางเดินอาหาร โรคแผลในกระเพาะอาหาร
ภาวะการอักเสบ ภาวะหลอดเลือดแข็งตัว ภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะต้อกระจก ภาวะมะเร็ง และ
ภาวะที่ตัวอสุจิในเพศชายมีความบกพร่อง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผลต่างๆ ที่กล่าวถึงนี้พบว่า
เป็นผลจากฤทธิ์ในการต้านความเป็นพิษจากอนุมูลอิสระ (Free Radicals) นั่นเอง



อนุมูลอิสระ (Free Radicals) นั้น หลายคนคงเริ่มรู้จักแล้วว่าในความเป็นจริงก็คือ สารพิษที่มีอยู่รอบตัวเรา รวมทั้งจากมลภาวะจากสารเติมแต่งในอาหารที่รับประทาน และจากการศึกษายังพบว่า ขบวนการเผาผลาญสารอาหาร หรือขบวนการทางชีวเคมีต่างๆ ในร่างกายของเราก็สามารถสร้างอนุมูลอิสระเหล่านี้ได้เช่นกัน  และอนุมูลอิสระเหล่านี้เอง ที่เป็นสาเหตุของโรคภัยไข้เจ็บในยุคสมัยใหม่นี้อย่างมากมาย และหลายโรคเป็นโรคที่น่าสะพรึงกลัว เนื่องจากยากในการรักษาให้หาย ในหลายภาวะ อย่างเช่น ในภาวะที่เรามีความเครียดสูง หรือแม้ในขณะที่ร่างกายของเรามีขบวนการในการเผาผลาญพลังงานสูง อย่างเช่นในผู้ที่อยู่ในโปรแกรมลดไขมันสะสมซึ่งล้วนเป็นภาวะที่เร่งให้ร่างกายของเรามีขบวนการทางชีวเคมีเพิ่มมากขึ้น  ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าไปเร่งให้มีการสร้างอนุมูลอิสระภายในร่ายกายของเรามากขึ้นดังนั้น ในผู้ที่อยู่ในภาวะดังกล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะหันมาพิจารณากำจัดอนุมูลอิสระออกไปจากร่างกายเพื่อป้องกันภาวะความบกพร่องต่างๆในร่างกาย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากอนุมูลอิสระเหล่านี้

และสารสกัดจากโรสแมรี่ ที่ให้สารสำคัญที่ได้รับการศึกษาวิจัยทั้งในทางการแพทย์และโภชนาการแล้วว่าเป็นสารที่ให้ผล ในการกำจัดสารพิษอนุมูลอิสระได้อย่างดี และมีความปลอดภัยเนื่องจากเป็นสารสกัดจากธรรมชาติจึงถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ และกำลังได้รับความนิยมอย่างสูง