ทำไมพระพุทธรูปล้านช้าง แบ่งได้ 2 แบบ แบ่งกันอย่างไร

ในขณะที่นักสะสมบางท่านอาจยังคงสับสนกับการแบ่งพระพุทธรูปแบบล้านนา กับแบบล้านช้าง สำหรับบทความนี้มุ่งเน้นเพื่อให้สามารถรู้และแบ่งศิลปะล้านช้างที่มีอยู่อย่างหลากหลายได้ เนื่องจากมีการแบ่งย่อยของพระพุทธรูปแบบล้านช้าง ซึ่งแบ่งได้ 2 แบบ โดยพิจารณาจากศิลปะ วัฒนธรรม จุดประสงค์การสร้าง ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ซึ่งได้อธิบายไว้โดยสังเขปดังต่อไปนี้

 

แบบที่ 1 ศิลปะแบบช่างมืออาชีพ
มักเป็นศิลปะที่สร้างขึ้นโดยช่างในประเทศลาวเอง โดยอาจเป็นความต้องการของชนชั้นปกครอง ส่วนใหญ่มักสร้างขึ้นโดยใช้วัสดุสัมฤทธิ์ พระพุทธรูปที่สร้างมีการพัฒนาฝีมือในการสร้างพระพุทธรูป เป็นการสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้ผู้ศรัทธา ได้นำไปถวายวัด จุดประสงค์ในการสร้างส่วนใหญ่เพื่อการพาณิชย์ ศิลปะของพระพุทธรูปส่วนใหญ่จะถูกสร้างขึ้นตามความนิยมในแต่ละยุคแต่ละสมัยที่เปลี่ยนไป มีระยะเวลาการพัฒนาที่ยาวนานหลายร้อยปี เน้นถึงรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ มากพอสมควร อาทิเช่น พระกรรณ(หู) เม็ดพระศก และเกตุเปลวเพลิง ที่อาจมีการสร้างอย่างวิจิตรพิศดาร และประดับด้วยแก้วหรือพลอยสีต่างๆ

 

พระพุทธรูปล้านช้างสร้างโดยช่างมืออาชีพ

 

แสดงพระพุทธรูปแบบศิลปะพื้นบ้านทรงเครื่อง
ลักษณะการแกะบ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์

 

 

 

แสดงพระพุทธรูปแบบศิลปะพื้นบ้าน

แสดงพระพุทธรูปแบบศิลปะพื้นบ้านทรงเครื่อง
ลักษณะการแกะบ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์

แบบที่ 2 ศิลปะแบบพื้นบ้าน (Folk Art)
มีเจตนาในการสร้างแตกต่างไปจากแบบแรกอย่างมากมาย วิวัฒนาการในการสร้างพระพุทธรูปเป็นแบบสั้น ๆ ประมาณ 50 - 150 ปี สร้างขึ้นจากช่าง หรือชาวบ้านในแต่ละชุมชนเอง ตามคติความเชื่อส่วนบุคคล ส่วนใหญ่ใช้ไม้เป็นวัสดุ แต่ยังพอมีพบเห็นบ้างที่เป็นสัมฤทธิ์ แต่มีฝีมือการหล่อแบบหยาบๆ การหล่ออาจออกมาไม่สมบูรณ์ และมีการเพิ่มเติมจุดที่ขาดหายในภายหลัง พระพุทธรูปที่สร้างอาจมีสัดส่วนที่ไม่สมดุลย์ เช่นอาจมีแขนที่ยาวผิดปกติ อาจมีพระเศียรเล็กกว่าปกติ หรือแม้แต่มีการออกกริยาท่าทางแตกต่างไปจากปางต่างๆ ของพระพุทธเจ้า ศิลปะในแขนงนี้โดยส่วนตัวแล้ว ผมมีความชอบในศิลปะแบบ Folk Art มากพอสมควรเนื่องจากมีความเป็นเอกลักษณ์ แสดงถึงเจตนาที่บริสุทธิ์ในความศรัทธาต่อศาสนา แม้ว่าการสร้างอาจแสดงถึงความแข็งกระด้าง แต่ลึกๆ แล้วบ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์ และความโดดเด่นของศิลปะเอง

โดยท่านผู้อ่านสามารถหาความรู้เพิ่มเติมได้จากหนังสือประวัติการสร้างพระพุทธรูปล้านช้าง, สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์

แรงบันดาลใจในการเขียนจาก: หนังสือประวัติการสร้างพระพุทธรูปล้านช้าง, สมเกียรติ โล่ห์เพชรัตน์

Back