รู้พระ รู้ลักษณะ รู้พุทธคุณ

1. พระรอดวัดพระสิงห์
ลักษณะ พิมพ์พระรอด ทำจากดินเหนือวัดพระคงฤาษี จังหวัดลำพูน และผสมผงพุทธคุณต่างๆ มีรวม 11 พิมพ์ 11 สี ทำพิธีพุทธาภิเษก 23 พฤษภาคม 2496
พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์อธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน ปลุกเสก ณ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
จัดได้ว่าเป็นพิธีสร้างพระรอดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของภาคเหนือและประเทศไทย

พุทธคุณ แคล้วคลาด เมตตามหานิยม อำนวยโชคลาภ และคงกระพันชาตรี จัดว่าเป็นพระรอดที่พุทธคุณยอดเยี่ยม ราคาเช่าหาย่อมเยาว์

 

2. พระรอดวัดชัยพระเกียรติ
ลักษณะ เป็นพระรอดหลากหลายเนื้อ และหลากหลายสี องค์ชัดเจนสวยงาม ที่ใต้ฐานพระมีเลข ๕ ปรากฏทุกองค์ บางครั้งอาจทำให้มีการเข้าใจผิดระหว่าง
พระรอดวัดพระสิงห์ และวัดชัยพระเกียรติ เนื่องจากราคาเช่าหาต่างกันอยู่บ้าง โดยวัดพระสิงห์มีราคาเช่าหาที่แพงกว่า จัดสร้างโดยหลวงพ่อพลี วัดสวนพลู เป็นประธานร่วมกับพระอาจารย์ฝ่ายวิปัสนา ที่มีชื่อเสียงของเชียงใหม่ และลำพูน ในคืนวันมาฆบูชา ปี พ.ศ. 2497 ณ วัดชัยพระเกียรติ จ.เชียงใหม่
พิธีพุทธาภิเษกใหญ่รองจาก วัดพระสิงห์
พุทธคุณ เช่นเดียวกับพระรอดวัดพระสิงห์


3. พระป๋วย
ลักษณะ พระพิมพ์ดินเผารูปสามเหลี่ยมยาว ฐานกว้าง 5 ซม. สูง 8 ซม. พระพุทธรูปประทับบนฐานบัว นั่งปาง
สดุ้งมาร ครองจีวรห่มเฉียง เนื่องจากศิลปะที่องค์พระมีลักษณะของศิลปะลพบุรี ดังนั้นพระป๋วยจึงน่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 - 19
พบที่กรุวัดดอนแก้ว และวัดประตูลี้ และยังพบบางส่วนที่กรุวัดดอยคำเชียงใหม่อีกด้วย
พุทธคุณ เยี่ยมทางคงกระพันชาตรี มหาอุต และแคล้วคลาดจากภยันตรายต่างๆ


4. พระเลี่ยงดอยคำ
ลักษณะ พระเนื้อดิน องค์เหมือนกับพระเลี่ยงของจังหวัดลำพูน ฐานกว้าง 3 ซม. สูง 5 ซม. ได้จากกรุวัดดอยคำ ปีพ.ศ. 2509
พุทธคุณ ดีทางคลาดแคล้วจากภยันตรายทั้งปวง ราคาเช่าหาถูกกว่าเลี่ยงสกุลลำพูนพอสมควร


5. พระสามเวียงท่ากาน
ลักษณะ พระพิมพ์เนื้อดินละเอียด มีว่านดอกมะขามเล็กน้อย ฐานกว้างประมาณ 5 ซม. สูงประมาณ 6 ซม. แสดงถึงอิทธิพลศิลปะลพบุรี พบที่เวียงท่ากาม
ซึ่งเป็นเมืองโบราณ ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จ.เชียงใหม่ พระพุทธรูปองค์กลางนั่งสดุ้งมาร สององค์ขนาบด้านซ้ายและขวา
แสดงปางสมาธิ ตามคติพุทธศาสนานิกายมหายาน เรียกว่า พระรัตนตรัยมหายาน อยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 - 18
พุทธคุณ ดีทางคลาดแคล้ว และคงกระพัน แต่เนื่องจากองค์เขื่องจึงไม่นิยมนำมาห้อยคอ โดยมักเก็บไว้ในถุงย่าม หรือบนหิ้งพระ

 

พระลือ
ลักษณะ: พระเนื้อดิน พบหลายสี เช่นสีขาว สีพิกุล สีเขียว และสีขาว องค์พระมีขนาดใหญ่กว่าพระคง แต่ความชัดเจนและความปราณีตแตกต่างจากพระคง นั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัย รอบองค์พระมีประภามณฑลโดยรอบ ขนาด ฐานกว้าง 1.8 ซม. สูง 2.3 ซม. พบที่กรุวัดประตู้ลี้ และวัดดอนแก้ว เป็นพระที่มีจำนวนไม่มากนัก
พุทธคุณ: ยอดเยี่ยมในทางแคล้วคลาดรองจากพระรอด

 

Ref: พระเครื่องเมืองเหนือ 15 จังหวัด โดยทรงชัย เจตะบุตร และยุทธ เดชคำรณ ปี พ.ศ. 2503 และหนังสือพระเครื่องสกุลหริภูญไชย
ภาพจากหนังสือ ภาพพระเครื่องสกุลหริภูญไชย งานนิทรรศการ การประกวดพระบูชา พระเครื่อง จังหวัดเชียงใหม่ 2545