พระพุทธรูป ศึกษาและสะสมอย่างไร


 

จริง ๆ แล้ว การสะสมพระพุทธรูปแตกต่างจากการสะสมพระเครื่อง นักสะสมหลายท่านเห็นว่าควรที่จะสะสมเฉพาะพระที่สมบูรณ์ โดยยึดถือหลักเช่นเดียวกับการสะสมพระเครื่อง หรือการสะสมพระพุทธรูปใน
สมัยรัตนโกสินทร์ แต่ในทางความเป็นจริงแล้วการที่จะหาพระพุทธรูปตามความสนใจที่สมบูรณ์ทุกอย่างนั้นเป็นไปได้ยากมาก โดยจะอธิบายการสร้างพระพุทธรูปโดยคร่าว ๆ ดังนี้
เนื่องจากการหล่อพระบูชาในสมัยโบราณ เริ่มต้นจากการขึ้นรูปด้วยดินเหนียว ปั้นขึ้นมาเป็นองค์พระหลังจากที่การขึ้นรูปเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะครอบด้วยขี้ผึ้งเป็นผิวชั้นที่สอง หลังจากนั้นเปลือกด้านนอกจะพอกด้วยดินอีกชั้นหนึ่งหลังจากเสร็จสิ้นแล้ว จะได้แม่พิมพ์สำหรับพระ 1 องค์ หลังจากนั้นก็จะเทสัมฤทธิ์เข้าไปแทนที่ขี้ผึ้ง ซึงกรรมวิธีในสมัยโบราณการเทสัมฤทธิ์ จะได้พระพุทธที่มีผิวตึง ซึ่งต่างจากการทำเลียนแบบขึ้นมาในภาพหลัง ซึ่งบางจุดผิวของพระพุทธรูปจะย่น หลังจากที่สัมฤทธิ์แข็งตัวแล้ว ก็จะต้องแกะแบบพิมพ์พระพุทธรูปออก ซึ่งในสมัยโบราณการแกะแม่พิมพ์จะทำการทุบเพื่อให้แม่พิมพ์แตกออก ซึ่งเป็นการทำลายแม่พิมพ์นั่นเอง โดยจากจุดนี้ทำให้ทราบว่าพระพุทธรู)แต่ละองค์จะมีความเป็นองค์เดียว (Unique) เนื่องจากแม่พิมพ์ 1 ชุดจะสามารถหล่อพระได้ 1 องค์เท่านั้น

 

 

จากภาพที่แสดง พระพุทธรูปองค์นี้สภาพเดิมๆจากกรุ ส่วนขาด้านซ้ายของพระพุทธรูปขาดหายไป และเม็ดพระศกด้านบนขาดหายไป จากสภาพที่เห็นจำเป็นที่จะต้องมีการซ่อม แต่ลักษณะของการซ่อมของพระองค์นี้ จะต้องซ่อมจุดที่ใหญและสำคัญ ทำให้เมื่อซ่อมเสร็จสมบูรณ์แล้ว คุณค่าทางประวัติศาสตร์ และคุณค่าทางศิลปะจะด้อยลงจึงต้องพิจารณาให้ดีก่อนที่จะทำการซ่อม ส่วนในกรณีที่ไม่ต้องการซ่อม ก็สามารถสะสมได้ในลักษณะเดิม ๆ เช่นนี้ได้ โดยอาจหาแท่นไฟเบอร์ เพื่อที่จะทำให้ ศิลปวัตถุชิ้นนี้ สามารถตั้งอยู่บนแท่นได้
ส่วนจุดอื่นๆ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องตกแต่งอีก

 

ซึ่งจุดนี้สามารถนำมาเป็นจุดพิจารณาการหาเช่าพระได้ว่าจะต้องไม่มีพระที่มีขนาดเดียวกันทุกอย่าง เหมือนกันในทุกสัดส่วนอยู่ในตลาด ถึงแม้จะสร้างขึ้นมาโดยช่างคนเดียวกัน การปั้นพระ 2 องค์ใน 2 ครั้งจะต้องเกิดความแตกต่างกันบ้างไม่มากก็น้อย ดังนั้นนักสะสมโดยทั่วไปที่คาดหวังว่าจะหาพระที่มีลักษณะเหมือนกัน และสมบูรณ์เพื่อการสะสมหรือเก็บรักษานั้นจึงทำได้ยาก
กรรมวิธีต่อจากการแกะแม่พิมพ์ออกมาแล้วคือ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของพระพุทธรูป ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีความเป็นไปได้ที่พระพุทธรูปองค์นั้น ๆ ถูกทำออกมาไม่สมบูรณ์ โดยจะมีการเทเพิ่ม โดยมากมักจะเป็นที่ฐานพระ ซึ่งเรียกกันตามภาษาของการสร้างพระว่า "ซ่อมเดิม" ซึ่งนักสะสมในปัจจุบันจะต้องแยกแยะให้ออกว่าแบบใดซ่อมเดิม แบบใดซ่อมใหม่ การสังเกตง่าย ๆ การซ่อมเดิมผิวพระเดิมกับรอยซ่อมจะค่อนข้างกลืนกันแล้วเนื่องจากระยะเวลาที่ผ่านมานานแล้ว แต่การซ่อมใหม่การดูจะต้องดูจากรอยพรางผิวทั้งภายนอกและภายใน หรือมีการปิดทองเพิ่มเข้าไปเพื่อพรางรอยซ่อม

 

Home