นางสาว  จิราพร  จิตต์มั่น

ประวัติของวิทยุโทรทัศน์

จากข้อสมมติฐานที่ว่า    หากจะมีการส่งสัญญาณภาพจะเป็นการส่งผ่านสื่อที่ใช้สาย wire หรือไม่ใช้สายก็ตาม wirelessขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสองประการประการแรก   ต้องเปลี่ยนภาพที่จะส่งให้เป็นพลังงานแสงผสมไปกับแสงไฟฟ้าได้  ประการที่สอง  ทำอย่างไรให้ภาพปรากฏอย่างต่อเนื่องโดยไม่อาศัยกระบวนการทางเคมี


ได้มีการทดลองเกี่ยวกับวิทยุโทรทัศน์ตั้งแต่ศตวรษที่ 18 เรื่อยมา
-  พ.ศ. 2416  แอนดรู  เมย์  (andrew may)  เจ้าหน้าที่ส่งโทรเลขชาวไอริชค้นพบสารเซเลเนียม (selenium)  ที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นกระแสไฟฟ้า
-  พ.ศ. 2427   พอล  นิวโกว  (paul  nipkow)  นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน  ได้ค้นพบการใช้จานที่เจาะรูเล็กๆ  เพื่อรับพลังงานแสง  เมื่อจานหมุนแสงจะผ่านรูดังกล่าว  ซึ่งจะทำให้ภาพผ่านรูไปปรากฏบนจอภาพอย่างต่อเนื่อง    ที่เรียกว่า  การสแกนภาพ
-  พ.ศ. 2430  นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศษชื่อ  เอ็ม  เซนเลซ์ก  (m.senlecg)  ประดิษฐ์กล้องที่สามารถส่งภาพและเสียงไปบนจอได้สำเร็จ
-  พ.ศ. 2432  ศาสตราจารย์  แอล  เวลเลอร์  (professor  l.weiller)  ได้เพิ่มกระจกเงาผนวกเข้าไปเพื่อที่จะได้ภาพที่สะท้อนไปที่จอเซเลเนียม
-  พ.ศ. 2440  คาร์ล  เฟอร์ดินานด์  บราวน์  (karl  ferdinand  braun)  ได้ค้นพบหลอดภาพโอสซิลโลสโคป
-  พ.ศ. 2450  ศาสตราจารย์  โบริสโรสซิง  (professor  boris  rosing)  ก็ได้ใช้กระจกเงาผนวกเข้ากับหลอดของบราวน์โดยใส่โฟโตเซลล์ที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ และเริ่มประสบความสำเร็จที่จะเห็นภาพบนจอ
-  พ.ศ. 2466  ดร. วี  เคย์  ซโวรีกิน  (dr.  v.k.  zworykin)  ได้เสนอผลงานเกี่ยวกับกล้อง  ไอโคโนสโคป
-  พ.ศ. 2468  ชาร์ล  ฟรานซิส  เจงกิน  (charles  francis  jenkins)  และ เจมส์  ลอจี  แบร์ด  (james  logie  baird)  ได้สาธิตต่อประชาชนเกี่ยวกับระบบกลไกโทรทัศน์เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ
-  พ.ศ. 2472  ซโวรีกิ้นและผู้ร่วมงานได้สาธิตการรับอิเล็กตรอนของหลอดภาพโทรทัศน์เรียกว่า  ไคน์สโคป  (kinesope) 
-  พ.ศ. 2475  บริษัทมาร์โคนี-อีเอ็มไอ  (marconi-emi)  ซึ่งมีประสบการณ์ในค้านการถ่ายทอดสัญญาณภาพของโทรสาร (fasimele) ทางคลื่อนสั้นกับอีเอ็มไอ  การทดลองดำเนินต่อไปกว่าสามสิบปี  บริษัท  อาร์ซีเอ  ซีบีเอส  และดูมองค์  (dumont)  ต่างทำการค้นคว้าอย่างไม่ลดละอันเป็นแรงจูงใจที่ทำให้โทรทัศน์มาใช้ทางด้านการค้า
-  พ.ศ. 2483  รัฐบาลกลางได้ตั้งคณะกรรมาธิการว่าด้วยการสื่อสารของรัฐบาลได้จัดดำเนินการหามาตราฐานของระบบถ่ายทอดสัญญาณ 
-  พ.ศ. 2484  รัฐบาลกลางได้ประกาศให้โทรทัศน์เพื่อการค้าใช้ระบบสัญญาณ 525 เส้น
-  พ.ศ. 2495  รัฐบาลกลางได้กำหนดย่านความถี่สูง(vhf)  มี 12 ช่อง  คือ  ตั้งแต่ช่อง 2  ถึงช่อง 13  และได้กำหนดย่านความถี่สูงพิเศษ(uhf) มี 70 ช่อง  คือช่อง 14 ถึงช่อง  83


ข้อมูลอ้างอิงจาก  หนังสือความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุโทรทัศน์   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช