บทความเรื่องผู้ว่า ceo โดย พ.ต.อ.อนุรุต กฤษณะการะเกต รอง ผบก.ภ.จว.นราธิวาส
ข้อเขียนเรื่อง ผู้ว่า CEO
โดย พ.ต.อ.อนุรุต กฤษณะการะเกตุ รอง ผบก.ภ.จว.นราธิวาส
จังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา
มารู้จักจังหวัด CEO
ชื่อทางราชการ - จังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา
จังหวัดทดลอง - จังหวัดนราธิวาส
จังหวัดควบคุม - จังหวัดปัตตานี (จังหวัดเปรียบเทียบ)
CEO - Chief Executive Officer
ครม.เห็นชอบ - ทดลองก่อน 5 จังหวัด
ระยะที่ 1 - เริ่มปฏิบัติแต่ ต.ค. - ธ.ค.44
ระยะที่ 2 - ม.ค.45 - มี.ค.45
ระยะที่ 3 - ระหว่างเดือน เม.ย.45 - มิ.ย.45
ระยะที่ 4 - ก.ค.45 - ก.ย.45

ข้อเท็จจริง ที่มาที่ไปของแนวคิดการจัดการบริหารงานแบบ CEO ของรัฐบาลสะท้อนปัญหาที่รัฐบาลประสพอยู่

1. รัฐบาลจะต้องเลิกแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนประจำวันของชาวบ้าน กลุ่มมวลชน - ชุมชนต่าง ๆ เป็นเรื่องของ
ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะได้ใช้เวลาในการสร้างความมั่งคั่งให้กับ
ระบบธุรกิจของชาติ ไม่ใช่มาดูแลเรื่องปลีกย่อยในระดับท้องถิ่น
2. ขณะนี้การเคลื่อนไหวประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาลเป็นจำนวนมาก จากกลุ่มเกษตรกรเรื่องผลผลิตราคาตกต่ำ และกลุ่มมวลชนจากจังหวัดต่าง ๆ ที่เดินขบวนไปประท้วงสืบเนื่องจากปัญหาต่าง ๆ ในจังหวัดของตนเอง ทำให้นายกรัฐมนตรีต้องลงมาแก้ไขปัญหาทั้งเดือน และการแก้ปัญหารายวันจากเหตุดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อเวลา ไม่มีเวลาที่จะทุ่มเทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติในภาพรวมให้มั่งคั่ง
3. ในปัญหาสำคัญที่รัฐบาลอยากรู้ เช่น ปัญหายาเสพติดต้องมาตามเรื่องจากตำรวจ - สาธารณสุข - และกรมการปกครอง
ซึ่งมีหลายหน่วย ซึ่งมันเป็นเรื่องวุ่นวาย ชักช้า รัฐบาลอยากให้มีเจ้าภาพเรื่องนี้ในแต่ละจังหวัด มาตามเรื่องที่ ผู้ว่าราชการ
จังหวัด จะรู้เรื่อง ก็จะจบทันที ซึ่งนายกฯ ต้องการตัวนี้ เป็นการเซฟเวลาและขั้นตอนทางธุรการ ทางหนังสือต่างๆ
4. ในเรื่องการแก้ไขปัญหา เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาเรื่องการป้องกันในรูปแบบต่าง ๆ นายกฯ บอกเหนื่อย ต้องตามงานกัน
หลายจุด อยากที่จะตามที่เดียว ไม่ต้องตามหลาย ๆ ที่ ยุ่งยาก และต่างคนต่างคิดของบประมาณในแนวราบเอามา
ใช้แก้ไขปัญหา ซึ่งน่าจะมีการบูรณาการร่วมกันได้ไม่ใช่แยกกันทำ
ความมุ่งหมาย (แผนการพัฒนาจังหวัดรูปใหม่)
1. เป็นแนวคิดของนายกฯ คิดจากภาคเอกชน/ผู้บริหารสูงสุด
2. เกิดประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายได้รวดเร็ว
3. สิ่งที่ใส่เข้าไปเป็นการทดลอง จะต้องรู้ว่าได้ผลหรือไม่ได้ผล โดยจะต้องมีการทำจังหวัดเปรียบเทียบ เพื่อให้รู้ว่าผลสามารถใช้ยืนยันว่า สิ่งที่ทำสามารถนำมาใช้
4. ใช้ง่าย - รวดเร็ว - มีการบูรณาการระดับปฏิบัติด้วยกัน
5. เป็นการให้อธิบดีต่าง ๆ ซึ่งอยู่ส่วนกลางได้คลายอำนาจออกมาสู่ท้องถิ่น เพื่อให้มีการแก้ไข ยุติปัญหาในระดับท้องถิ่นได้ เพราะอธิบดีไม่สามารถลงมาบริหารงานแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชนได้ถึงท้องถิ่น
จังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาจังหวัด CEO (Chief Executive Officer)
ขณะนี้จังหวัดนราธิวาส ได้ประกาศเป็นจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัด ทำหน้าที่ CEO มีบทบาทหน้าที่ดังนี้
ความหมายของการทำงาน
1. ทำงานโดยมีเป้าหมายชัดเจน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของชาติ และสภาพปัญหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่
2. ทำงานโดยยึดหลักความสัมพันธ์ระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ตามบทบัญญัติและเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ
3. มีระบบตรวจสอบติดตามประเมินผล เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินการ
ความหมายของการทำงานแบบบูรณาการ
1. ทำงานเป็นทีมเวิร์ค
2. เน้นการประชุมแบบเวิร์คชอฟ
3. ติดตามปัญหาการเคลื่อนไหวได้ทันท่วงที
รูปของการบริหารงาน CEO
ผู้ว่าราชการจังหวัด ทำงานในรูปของ MACRO , MICRO
1. MICRO คือ การทำงานเสมือนนายกรัฐมนตรีของท้องถิ่น หรือ อธิบดีของจังหวัด มีอำนาจแก้ไข
ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จ
2. MACRO คือ การทำงานในภาพใหญ่ของประเทศ เสมือนเป็นผู้ช่วยนายกรัฐมนตรี แก้ไขปัญหาเรื่องจังหวัด
2.1 ประเด็นกฎหมาย (มีการมอบอำนาจแก้ระเบียบให้สอดคล้องต่อการแก้ไขเหตุต่าง ๆ )
2.2 ประเด็นงบประมาณ แก้ไขบูรณาการโครงการต่าง ๆให้สอดรับกัน ป้องกันการทุจริต ฮั้วกันของ
โครงการรับเหมาต่าง ๆ ในจังหวัดของหน่วยราชการต่าง ๆ ที่มาดำเนินการ
2.3 ประเด็นเรื่องคน ซึ่งก็รวมถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องคน การพิจารณาความดีความชอบ ในเรื่องการ
โยกย้าย การพิจารณาทัณฑ์ทางวินัย สามารถสั่งการได้ถึงระดับต่าง ๆ (ตามขอ)
แนวคิดและกระบวนการบริหารจัดการ CEO จังหวัดนราธิวาส
จะต้องรวมพลังของทุกส่วนให้ยึดโยงกับจังหวัดตนเองให้มากที่สุด คือทุกหน่วยงานต้องทำงานให้นราธิวาส
ไม่ใช่ทำงานให้ตำรวจ, ปกครอง, หรือสาธารณสุข แต่อย่างใด เพราะประโยชน์จะตกอยู่กับชาวบ้านมากที่สุด โดยทำลายกำแพงของหน่วยงานต่าง ๆ ลงมาให้ได้โดยเปิดกว้างและยอมรับการปฏิบัติงานร่วมกัน
ภาวะผู้นำและบทบาทของ ผวจ.CEO
- วางระบบตามแนวความคิดของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีให้เป็นรูปธรรม โดยเน้นการทำงานร่วมกันทุกฝ่ายที่มุ่งสู่ผลสำเร็จของงาน มีเป้าหมายและเวลาที่ชัดเจน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บริหาร ที่ประสานประโยชน์ให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล เป็นผู้นำในการกำหนดยุทธศาสตร์จังหวัด
- การกำหนดความหมาย หลักการของผู้ว่าราชการจังหวัด CEO และบทบาทในการบูรณาการเพื่อการพัฒนาอย่างชัดเจน เพื่อเป็นการแสวงหาจุดร่วมกันในการทำงาน สร้างความเป็นหุ้นส่วนบริหารงานแบบเครือข่าย
- เน้นการประชาสัมพันธ์และแสวงหาความร่วมมือจากทุกส่วนราชการในจังหวัดนราธิวาส ในการบูรณาการการทำงาน
ร่วมกันด้วยการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกันแก้ปัญหา ร่วมหาวิธี ร่วมวางแผน และร่วมตรวจสอบ เป็นผู้ติดตามเพื่อช่วยแก้ปัญหา
ให้กับหน่วยงาน
- มุ่งเน้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ และบังเกิดผลดีต่อจังหวัดนราธิวาส เป็นผู้รับฟังการบริการ/ประชาชน
- มีการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ (STRATEGIC MANAGEMENT) ซึ่งมีเป้าหมายและระยะเวลา
- มีแผนยุทธศาสตร์ (STRATEGIC PLANNING) ที่เป็นรูปธรรม สามารถบูรณาการงาน/งบประมาณ ทั้งที่เป็นส่วนของภาครัฐ และส่วนที่เกิดจากความคิดริเริ่มของจังหวัดเข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบ
- มีเจ้าภาพที่เป็นศูนย์รวมในการบริหารจัดการ เพื่อให้แผนยุทธศาสตร์มีผลในทางปฏิบัติ
การปฏิบัติและหลักการของผู้ว่าราชการจังหวัด
1. ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้รับผิดชอบงานของจังหวัดทุกเรื่อง(เจ้าภาพ)
2. การบริหารราชการในจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานคณะบริหาร ซึ่งประกอบด้วยหัวหน้า
ส่วนราชการในจังหวัดเปรียบเสมือน คณะรัฐมนตรี ( ตัวแทนกระทรวง , ทบวง ,สำนักงาน )
3. ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจสูงสุดในจังหวัด เหมือนเป็นผู้แทนนายกรัฐมนตรีในจังหวัด หรืออธิบดีจังหวัด
4. ส่วนราชการในจังหวัด ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาของจังหวัด ร่วมกันนำทรัพยากรมารวมกัน และกำหนดยุทธศาสตร์ของจังหวัดร่วมกัน โดยไม่ติดอยู่ในสังกัดหน่วยงานของตนเอง ทั้งระดับชาติไปสู่ท้องถิ่น
5. จังหวัด ต้องมีทิศทางที่ชัดเจนต่อการกำหนดภาระกิจของจังหวัดที่ต้องการบรรลุตามยุทธศาสตร์ และดำเนินการตามกลยุทธ์ ว่าเราจะทำได้อย่างไร
6. ผู้ว่าราชการจังหวัด ต้องได้รับมอบอำนาจจากราชการส่วนกลางในเรื่องการบริหารงานบุคคล การ
บริหารงบประมาณ ประเด็นการสั่งการตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ การมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและประชาชน เป็นปัจจัยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน
7. ผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถใช้เงินเหลือจ่ายตามโครงการต่าง ๆ ของส่วนราชการต่างๆ ได้หรือปรับตามการใช้งบประมาณ
ตามแผนงานได้แนวทางการดำเนินการของจังหวัดนราธิวาส
นโยบาย เน้นหนักใน 7 เรื่อง
1. เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด
2. เรื่องการแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
3. เรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน
4. เรื่องการบริการประชาชน
5. การขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนราธิวาสมีโครงการอันเนื่องมาจาก
พระราชดำริมากมาย ซึ่งในปี 2544 มีทั้งสิ้น 11 ด้าน 132 โครงการ (314 กิจกรรม) ซึ่งล้วนมีวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาความยากจน สร้างความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชนโดยครอบคลุมทั้งในด้านชลประทาน ด้านการศึกษา การสร้างงาน สร้างอาชีพ ด้านสาธารณสุข และการทดลองวิจัยในด้านต่าง ๆ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการขยายผลให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
6. การรักษาความสงบเรียบร้อยตามบัญชาของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ซึ่งได้เดินทางมาราช การที่จังหวัดนราธิวาสแล้ว 3 ครั้ง เมื่อ
- วันที่ 8 เมษายน 2544 มีการประชุมปรึกษาหารือข้อราชการกับหัวหน้าส่วนราชการที่
เกี่ยวข้อง ณ ห้องรับรองท่าอากาศยานนราธิวาส
- วันที่ 23 มิถุนายน 2544 ประชุมคณะกรรมการอำนวยการแก้ไขปัญหาความมั่นคงจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ณ ห้องประชุม มทบ. 42 ค่ายเสนาณรงค์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
- วันที่ 1 กันยายน 2544 เฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และมอบ
ภารกิจแก่หัวหน้าส่วนราชการ ณ พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์
7. การเสริมสร้างความสัมพันธ์ชายแดนไทย - มาเลเซีย
ยุทธศาสตร์
1. พัฒนาข้าราชการให้มีคุณภาพ
2. พัฒนาระบบและวิธีทำงาน
3. จัดประเมินผลงานทุกระบบ ทุกองค์กรอย่างต่อเนื่อง
4. จัดทำแผนปฏิบัติงาน 4 แผนงานหลัก เพิ่มเติมอีก 3 แผน
5. พัฒนากระบวนการ ให้ชุมชนคัดเลือกผู้นำที่ถูกต้อง
ข้อพิจารณาประกอบการทำงานของ ผวจ. CEO
1. ข้อมูล ต้องมีความพร้อมมากที่สุด สมบูรณ์ที่สุดประกอบการแก้ไขปัญหาจังหวัด CEO
2. การบริหารงานของ ผู้ว่าราชการจังหวัดในเรื่องการแก้ไขปัญหาความยากจน การแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น การแก้ไขปัญหายาเสพติด , การให้บริการประชาชน , จะต้องใช้ข้อมูลตัวชี้วัด 48 ตัว เป็นกรอบแนวทางปฏิบัติแก้ไขปัญหาประกอบการตัดสินใจแต่ละเรื่องเป็นตัวตั้ง
3. จะแก้ปัญหาอะไร เราจะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน 48 ตัว มาเป็นตัวนำร่องคิดประกอบการทำงานได้ถูกต้อง
4. จะมีการตรวจสอบติดตามข้อมูลทั้ง 48 ตัว โดย มอ.ปัตตานี ข้อมูลทั้ง 48 ตัว ต้องรู้และชัดเจนตามข้อมูล ให้เกิดความพร้อม ข้อมูลเหล่านี้ต้องทำให้เป็นระบบต่อเนื่อง
5. เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับมอบอำนาจแล้ว ต้องมอบต่อให้ หน.ส่วนราชการให้ดำเนินการดังกล่าวให้เกิดความเรียบร้อย ไม่ใช่รับมอบแล้วมาถือครองเอาไว้ไม่ได้ ต้องใช้อำนาจด้วยความชอบธรรม
6. ทำสงครามกับปัญหาความยากจน - ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น - ปัญหายาเสพติด ให้เป็นกระบวนการหรือตามความนึกคิดของคนในจังหวัดให้ได้
7. จังหวัด จะต้องค้นหาปัญหาหลัก ๆ ของพื้นที่ที่ต้องเยียวยาแก้ไขโดยการตัดสินใจร่วมกันของประชาชน เป็นความคิดริเริ่มของประชาชนในระดับพื้นที่ เป็นการกำหนดความสำคัญของปัญหา
ตำรวจกับการทำงานร่วมในจังหวัด CEO
การเตรียมการของ ภ.จว.นราธิวาส
1. ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจในเรื่องจังหวัดทดลองแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา ให้เข้าใจถูกต้องและปฏิบัติได้ถูกต้องเกิดความชัดเจน
2. หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรต่าง ๆ จะต้องรีบเร่งตรวจสอบว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ในพื้นที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับงาน CEO โดยเน้นหัวหน้าสถานีตำรวจภูธร ต้องรู้ทุกเรื่องที่เป็นปัญหา(ตรวจค้นให้พบที่เกี่ยวข้อง ตำรวจมี 4 ด้าน)
3. ต้องทำความเข้าใจกับข้าราชการตำรวจให้เข้าใจว่า การบูรณาการคืออะไร ในแผนการปฏิบัติงาน
4. เตรียมกรอบและแนวทางการปฏิบัติ มาซักซ้อมสร้างความเข้าใจ
5. แจ้งข่าวสารและแผนงาน CEO ของผู้ว่าราชการจังหวัดให้ทราบ
คำถาม มีอำนาจหน้าที่การงานของตำรวจส่วนใด ที่จะต้องมอบให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการได้โดยสมบูรณ์ ในลักษณ์รูปแบบ ONE STOP SERVICE แค่จังหวัด
ข้อเท็จจริง ในการปฏิบัติของผู้ว่าราชการจังหวัด เกี่ยวกับการใช้อำนาจตามกฎหมายด้านต่าง ๆ แบบเบ็ดเสร็จของ
ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ตามโครงการทดลอง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่ CEO ได้มีการประมวลไว้ 4 ประการ
1. งานสอบสวนคดีอาญา
2. งานป้องกันปราบปรามอาชญากรรม
3. งานบริการประชาชน
4. งานบริหาร(บริหารงบดุล การเงิน - การพัสดุและแผนงาน) ซึ่งงานทั้ง 4 ประเภท ขณะนี้ วช.กำลังเร่งรัดพิจารณาสั่งการให้ความชัดเจนในการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อให้เกิดความชัดเจน
ทั้งการใช้และการปฏิบัติ และจะแจ้งให้ทราบถึงผลดังกล่าวโดยเร็ว
ขอเรียนว่า ในส่วนของตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส เมื่อเป็น CEO แล้ว จะเร่งรัดดำเนินการในเรื่อง ประเด็นกฎหมาย,
ประเด็นงบประมาณ, ประเด็นเรื่องคน, ประเด็นเรื่องงาน ให้เกิดการบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนใน 4 เรื่อง
1. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2. ทุจริตคอรัปชั่น
3. ยาเสพติด
4. การบริการประชาชน
โดยบังเกิดผลมุ่งหวังความสำเร็จในเรื่อง
1. การบริการในด้านต่าง ๆ ที่ดีกว่าเดิมแก่ประชาชน
2. แก้ไขปัญหาความทุกข์ร้อนของประชาชนได้รวดเร็วฉับไว
3. เร่งรัดพัฒนาการทำงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม (สังคมพัฒนา ตำรวจล้าหลัง)
4. หัวหน้าสถานีตำรวจภูธรเข้าใจแผนงาน CEO และทำงานตอบสนองได้ตรงตามเป้าหมายของรัฐบาล
การจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการบูรณาการงาน/งบประมาณ
สืบเนื่อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ปรับปรุงและบูรณาการงานด้านบริการประชาชน โดยจัดตั้งเป็น
โครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชน โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาประจำสถานีตำรวจเพื่อช่วยเหลือ เสนอแนะ ให้ข้อแนะนำในเรื่องแนวทางการบริการประชาชนที่
มาใช้บริการบนสถานี ให้เกิดความพึงพอใจมากที่สุด โดยกำหนดไว้ 7 ด้าน (แต่ 2542 - 2545) โดยการปฏิบัติต่อเนื่อง
และสอดรับกับแผนงาน CEO
1. ด้านบริการทั่วไป (ONE STOP SERVICE พัฒนาเป็น ROOM SERVICE) มีตัวกิจกรรม 8 กิจกรรม ตัวชี้วัด 19 ตัว
มีวิธีการตรวจ 15 ตัว
2. ด้านอำนวยความยุติธรรมทางอาญา ตัวกิจกรรม 10 กิจกรรม ตัวชี้วัด 19 ตัว วิธีการตรวจ 18 วิธี
3. ด้านการรักษาความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน ตัวกิจกรรม 13 กิจกรรม ตัวชี้วัด 27 ตัว วิธีการตรวจ 26 วิธี
4. ด้านการควบคุมและจัดการจราจร ตัวกิจกรรม 6 กิจกรรม ตัวชี้วัด 12 ตัว วิธีการตรวจ 8 วิธี
5. ด้านการประชาสัมพันธ์ และแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน ตัวกิจกรรม 3 กิจกรรม ตัวชี้วัด 6 ตัว วิธีการตรวจ 4 วิธี
6. ด้านปรับปรุงที่ทำงานและสภาพแวดล้อม ตัวกิจกรรม 6 กิจกรรม ตัวชี้วัด 13 ตัว วิธีการตรวจ 6 วิธี
7. ด้านการบริการและปกครองบังคับบัญชา ตัวกิจกรรม 8 กิจกรรม ตัวชี้วัด 15 ตัว วิธีการตรวจ 6 วิธี
รวมตัวชี้วัด 121 ตัว
กิจกรรม 54 กิจกรรม
วิธการตรวจ 86 วิธี
ซึ่งในปี 2545 โครงการพัฒนาสถานีตำรวจเพื่อประชาชนทั้ง 7 ด้าน จะถูกประเมินและตรวจสอบจากบุคคลภายนอก(มหาวิทยาลัย) ถึงผลสำเร็จในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างไร
งานด้านปราบปรามยาเสพติด
กรอบการปฏิบัติ ยึดถือคำสั่ง 119/2544 เรื่อง แนวทางการใช้พลังแผ่นดิน เพื่อเอาชนะยาเสพติด และคำสั่ง 228/2544 เรื่อง แผนปฏิบัติการเพื่อเอาชนะยาเสพติด มาจัดทำแผนการปฏิบัติรองรับภารกิจในด้านต่าง ๆ
กรอบความคิดของแผน
1. การควบคุมตัวยา การปฏิบัติต้องตัดวงจรของปัญหา
2. ควบคุมผู้เสพออกจากเครือข่ายนักค้า
3. ควบคุมพื้นที่สถานศึกษา และมิติทางสังคม - วัฒนธรรม แยกสลายทำลายฝ่ายตรงข้าม - การทำงานพยายามย่อยพื้นที่ให้เล็ก เพื่อให้ควบคุมปัญหาและตัวแปรต่าง ๆ
4. เป็นการแก้ไขปัญหาแบบยั่งยืน โดยลดปัจจัยหนุน สร้างปัจจัยเสริม - ปรับเปลี่ยนทัศนคติ - พฤติกรรม, พัฒนาเยาวชนรุ่นใหม่ให้ปลอดยาเสพติด
จุดอ่อนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดที่ผ่านมา
1. ต่างคนต่างทำ
2. มีและเน้นรูปแบบโครงสร้างปริมาณมากกว่าคุณภาพ (สร้างภาพหลอกลวง)
3. การแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นการแยกส่วน ไม่มองภาพรวมเป็นอย่างไร (อำนาจใครอำนาจมัน, หน้าที่ใครหน้าที่มัน)
4. ขาดตัวชี้วัดผลสำเร็จของงาน ว่าหน่วยใดทำงานได้ผลเป็นรูปธรรม หรือละลายเงิน (ทำเสร็จถือว่าจบไม่ได้คิดถึงผล)
การบูรณาการปฏิบัติ ปี 2544 - 2545
1. แผนเชิงรุก ต้องการเอาชนะ
2. เป็นการแก้ไขปัญหายั่งยืน ยึดชุมชน ครอบครัว เป็นศูนย์กลางการแก้ไข
3. การแก้ จะมุ่งไปที่พื้นที่และชุมชนเป็นหลัก โดยสร้างทีมรวมดารา ระดับอำเภอไม่แยกส่วน ร่วมกันแก้ไขปัญหาเป็นองค์รวม
4. ทำอย่างไรจะทลายกำแพงของหน่วยงาน - มีการบูรณาการรูปแบบการปฏิบัติ เปิดกว้างการทำงานร่วมกัน
5. พัฒนาองค์กร ลงสู่ชุมชนให้เป็นที่พึ่งอย่างจริงจัง
6. ผลิตข่าว - วิเคราะห์ข่าว - รวบรวมข่าว ให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องกับหน่วยต่าง ๆ (บูรณาการด้านการข่าว) ระหว่างหน่วยอื่น ๆ
7. ทำงานโดยมีตัวชี้วัด เพื่อให้ทราบว่าทำแล้วได้ผล หรือไม่ได้ผล
8. พัฒนาความรู้เรื่องยาเสพติด ให้เกิดทักษะในเรื่องการปฏิบัติการและข้อกฎหมายแก่ผู้ปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ซึ่งแบบการปฏิบัติทั้งหมด จะมาจำแนกเป็นการปฏิบัติในระดับจังหวัดและระดับอำเภอให้ชัดเจน
ข้อพิจารณา
1. ขณะนี้แผนการปฏิบัติเพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด เป็นการปฏิบัติไปที่พื้นที่และชุมชนเป็นหลัก โดยแบ่งเป็นพื้นที่ความรุนแรง
เป็นระดับไว้ 3 ระดับ ต้องซักซ้อมทำความเข้าใจ
2. การทำงานขณะนี้ ยกเลิกการแบ่งฝ่ายบำบัด - ฝ่ายป้องกัน - ฝ่ายปราบปราม ตามคำสั่ง 119/2544 ให้ยึดถือการทำงานในรูปองค์รวม มีการบูรณาการร่วมกันในระดับอำเภอ โดยยึด 119/2544 ประกอบ 228/2544, แผนพัฒนาที่ 9
3. แผนการปฏิบัติของชาติ ขณะนี้ยึดหลักการป้องกันทำการปราบปราม ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจหลักการ
4. การทำงานยาเสพติดนั้น ฝ่ายปราบปรามเราทำมานานแล้ว การปฏิบัติจะมีการพัฒนาความเข้าใจความรู้ความสามารถโดยตลอด ในส่วนงานป้องกันเป็นงานซึ่งใหม่ ผู้ปฏิบัติก็เป็นคนใหม่ต่องานยาเสพติด ซึ่งอาจจะต้อง
ใช้ห้วงเวลาการดำเนินงาน มีการเสริมทักษะ และจัดหาองค์ความรู้ให้ ในส่วนนี้อาจจะเป็นตัวถ่วงงานแก้ไขยาเสพติดที่ต้องเตรียมการและแผนงานแก้ไขเฉพาะทางไว้ด้วย
5. เงินล่อซื้อ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดสรรมาไว้ที่ ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส มีปริมาณเพียงพอ แต่วิธีการทดรองยืมเงินไปล่อซื้อมีระเบียบและข้อจำกัดมากมาย เช่น
5.1 ระเบียบวิธีการยืม มีขั้นตอนธุรการผูกมัดผู้มายืมมาก
5.2 การยืมต้องขอยืมล่วงหน้า เนื่องจากเงินอยู่ในคลัง
5.3 กลางคืนไม่สามารถมายืมได้
สิ่งที่ต้องการให้ ผวจ. CEO แก้ไข
1. กระจายเงินล่อซื้อไปไว้ประจำระดับอำเภอ ให้ หัวหน้าสถานีในระดับอำเภอ สามารถอนุมัติวงเงินตามที่กำหนดได้ โดยไม่ต้องมาขอยืมเงินทดรองจากตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาสแต่อย่างใด
2. เงินซื้อทิ้ง ในระดับจังหวัดที่ฝ่ายปราบปรามจะนำมาใช้ไม่มี ควรจัดให้
3. เงินติดสำนวน ควรใช้เพียงสำเนาเอกสารที่ผ่านการรับรองก็เพียงพอ
บทสรุป รัฐบาลต้องการผลการปฏิบัติดังนี้
1. แก้ไขปัญหาประชาชนให้รวดเร็วในทุก ๆ ด้าน
2. เร่งรัดพัฒนาชาติให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
3. ยุติบทบาทราษฎรเดินขบวนประท้วงหน้าทำเนียบรัฐบาล
4. บีบให้ส่วนกลางกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นให้มากที่สุด
5. ทำงานภายใต้หลักการของรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 60 (การตัดสินใจ) มาตรา 76 (การมีส่วนร่วม) มาตรา78 (กระจายอำนาจและตรวจสอบการใช้อำนาจ)

http://narathiwat.police.go.th/ceo.htm