NO MORE DICTATORSHIP IN THAILAND

ขบวนประชาชน,นักศึกษาเรียกร้องประชาธิปไตย


เหตุการณ์สังหารหมู่
14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (ตุลามหาวิปโยค)
 

 

บันทึกประวัติศาสตร์ไทยหน้าสำคัญ ยุคสมัยรัฐบาลเผด็จการปกครองประเทศด้วยอำนาจปฏิวัติรัฐประหาร

ไม่ให้มีรัฐธรรมนูญ ไม่ให้มีเลือกตั้ง
ห้ามชุมนุมทางการเมือง ควบคุมสื่อทุกชนิดห้ามวิจารณ์รัฐบาล

    การก่อการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ.2490 ก่อเกิดการสืบอำนาจเผด็จการทหารมายาวนาน

    จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายครั้งหลายสมัยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อวันที่1มกราคม พ.ศ.2501ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครั้งที่สองบทอดอำนาจเผด็จการจากจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ 8 ธันวาคม พ.ศ.2506

    จอมพลถนอมเดินรอยเผด็จการตามจอมพลสฤษดิ์ใช้อำนาจเผด็จการเรื่อยมาปฏิวัติตนเองก็ทำสืบทอดอำนาจในวงศาคณาญาติอย่างเป็นปึกแผ่นมายาวนานเป็นนายกรัฐมนตรีถึง 5 ครั้ง

   ปกครองด้วยอำนาจคำสั่งปฏิวัติหน่วงการร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ให้มีเลือกตั้ง ห้ามชุมนุมทางการเมือง ควบคุมสื่อทุกชนิดห้ามวิจารณ์รัฐบาล ประชาชนถูกกดขี่ไม่มีสิทธิ์มีเสียง

    คลื่นมหาชนนับแสนคนเรียกร้องให้รัฐบาลเผด็จการทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียรและพลเอกณรงค์ กิตติขจรปล่อยตัวผู้เรียกร้องรัฐธรรมนูญที่ถูกรัฐบาลจับกุมทั้งหมด เสียงเรียกร้องให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยดังกระหึ่มไปทั่วทุกสถาบันการศึกษาและทุกองค์กรประชาชนที่ต้องการให้นำประเทศเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย

   จนกระทั่งรัฐบาลเผด็จการถูกนักศึกษาและประชาชนขับออกจากตำแหน่งเมื่อ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ซึ่งนิสิต นักศึกษาจากหลายสถาบันและประชาชนต้องสังเวยชีวิตล้มตายเป็นจำนวนมาก บ้างก็บาดเจ็บพิการ บ้างก็เสียสติด้วยความหวาดกลัวสุดขีดกับภาพการฆ่าแกงที่กระทำเพียงฝ่ายเดียวของผู้ถืออาวุธ ในเหตุการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยครั้งนี้

   การใช้กำลังและอาวุธสงครามเข้าปราบปรามประชาชน นิสิตนักศึกษาอย่างโหดเหี้ยมทารุณในเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย นับเป็นประวัติศาสตร์การเมืองหน้าสำคัญของประเทศไทย

   ต่อมาวันที่ 14 ตุลาคมได้รับการสถาปนาจากรัฐบาลให้เป็นวันประชาธิปไตยเพื่อรำลึกถึงคุณูปการของวีรชนที่สละชีพจนได้มาซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจนถึงทุกวันนี้

     หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ผ่านไปได้เกิดเหตุการณ์นองเลือดครั้งใหญ่อีกครั้งคือเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
 


เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519  "ตุลามหาโหด"
 

             
         เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ นายกฯสัญญาว่าจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่แห่งราชอาณาจักรไทยคาดว่าไม่เกิน 6 เดือนให้ชาวไทยได้ใช้กันมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยเร็ว

ต่อมา ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี

        ประเทศไทยก็เกิดเหตุการณ์นองเลือดอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจอมพลถนอมเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ 19 กันยายน พ.ศ. 2519 นักศึกษาประชาชนและญาติผู้เสียชีวิตมากมายจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 เรียกร้องให้รัฐบาลสมัยนั้นแก้ปัญหาโดยการให้จอมพลถนอมออกจากประเทศไทยหรือจัดการกับจอมพลถนอมตามกฎหมายเกี่ยวกับการฆาตกรรมหมู่บนถนนราชดำเนิน ในหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และบนท้องถนนสนามหลวง

          ประชาชนและญาติผู้เสียชีวิตได้มีการประชุมกันเป็นครั้งคราวจนกระทั่งวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2519 นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปิดประกาศต่อต้านจอมพลถนอมถูกทำร้ายบางคนถึงสาหัส

          ส่วนที่นครปฐม พนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 2 คน ปิดประกาศต้านจอมพลถนอมกลับมาได้ถูกคนร้ายฆ่าตายและนำไปแขวนคอในที่สาธารณะต่อมารัฐบาลยอมรับว่าคนร้ายนั้นก็คือตำรวจนครปฐมนั่นเอง

             นักศึกษาและประชาชนนำผู้พิการซึ่งได้รับบาดแผลจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มาประท้วงจอมพลถนอมและรัฐบาลให้จัดการกับฆาตกรที่ฆ่าพนักงานการไฟฟ้า นักศึกษาบ้างอดอาหาร จนกระทั่งเกิดการแสดงการแขวนคอพนักงานไฟฟ้าภูมิภาคขึ้น สื่อมวลชนกลุ่มขวาจัดเช่น กลุ่มนวพล ฯลฯได้บิดเบือนว่าเป็นการแสดงที่นักศึกษาต้องการทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ มีการยั่วยุให้ทำร้ายนักศึกษาโดย น.ส.พ.ขวาจัดดาวสยามประโคมข่าวทุกวันและวิทยุเครือข่ายยานเกราะของทหารบกปลุกระดมอยู่ตลอดเวลาว่า นักศึกษาประชาชนผู้ประท้วงเป็นพวกคอมมิวนิสต์ ให้จับตัวมาลงโทษ

          วันพุทธที่ 16  ตุลาคม พ.ศ. 2519 ขณะที่ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาประชาชนประท้วงการกลับมาของจอมพลถนอมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เวลา 7.30 น. ตำรวจไทยโดยคำสั่งของรัฐบาลเสนีย์ ปราโมช ได้ใช้อาวุธสงครามบุกเข้าไปในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการยิงไม่เลือกหน้า คำสั่งของนายกรัฐมนตรี เป็นการกระทำของรัฐบาลโดยเอกเทศมิได้หารือกับอธิการบดีเลย ซึ่งในช่วงวันดึกของคืนวันที่ 5 ตุลาคม อธิการบดีได้พูดโทรศัพท์กับ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีแล้วก็ตาม

   หากรัฐบาลต้องการเรียกตัวหัวหน้านิสิตนักศึกษามาสอบสวน ก็มีวิธีการที่จะเรียกตัวมาได้ ไม่ต้องใช้กำลังรุนแรงจนควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ มีกำลังของนวพล ของกลุ่มนายทุน นายทหารขวาจัด กระทิงแดง ลูกเสือชาวบ้านเข้ามาเสริม จากแรงยั่วยุของสถานีวิทยุทหารบกขวาจัดกระตุ้นให้มือที่ 3 ทำลายซ้ำเติมผู้ประท้วงอย่างโหดร้ายทารุณ

 


เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ รสช. ฆาตกรโหด "พฤษภาทมิฬ"
 

ประวัติศาสตร์การเมืองไทยมีศูนย์รวมอำนาจไว้ที่คนเพียงกลุ่มเดียวหรือไม่กี่กลุ่มกับระบบราชการขนาดมหึมา ต่างร่วมกันเป็นตัวแทนแห่งการครอบงำสังคมอันกว้างใหญ่ไพศาลตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของ "คณะราษฎร์" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จากระบอบเผด็จการสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย

    เหตุการณ์นองเลือดเมื่อ 6 ตุลาคม 2516 และ 14 ตุลาคม 2519 ก็เป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์การต่อสู้ของนิสิตนักศึกษาและประชาชนที่ต้องการให้พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายหลุดพ้นจากการปกครองแบบกดขี่ของเผด็จการทรราช

    เหตุกาพฤษภาทมิฬ เกิดจากการหลงอำนาจผิดยุคผิดสมัยของ นายทหารกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งประกอบด้วย

พล.อ.สุจินดา คราประยูร
พล.อ.สุนทร์ คงสมพงษ์
พล.อ.อ.เกษตร โรจนนิล
พล.อ.อิสระพงศ์ หนุนภักดี
ฯลฯ

ได้ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2534โค่นอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งแล้วตรารัฐธรรมนูญการปกครอง(ชั่วคราว)ขึ้นโดยเสนอตั้ง นาย อนันท์ ปันยารชุน เป็นนายรัฐมนตรี ขัดตาทัพ รสช.ตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้นมาด้วยอำนาจเผด็จการ ทำการคลอดรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 "ฉบับหมกเม็ด" เตรียมสืบทอดอำนาจให้ตนเอง เพาะเชื้อเผด็จการขึ้นมาเต็มรูปแบบอีกครั้ง โดยกำหนดว่า
 

  • โดยกำหนดว่านายกรัฐมนตรีไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง (ไม่ต้องเป็น ส.ส.)
  • ให้ข้าราชการดำรงตำแหน่งได้ (ควบตำแหน่งได้)
  • แต่งตั้งนายทหารในกลุ่มเครือญาติคนสนิทขึ้นมาคุมกองทัพ
  • การผนึกอำนาจทางการเมืองและการทหารเป็นศูนย์อำนาจ

    เมื่อกระแสประชาชนคัดค้าน "สุจินดา" ก็ยอมรับปากจะไม่รับตำแหน่งผู้นำ แต่ในที่สุด "สุจินดา" ก็ยอมเสียสัตย์แก่ตนเองและสาธารณะชนยอม "เสียสัตย์" เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 19 โดยไม่ผ่านการเลือกตั้ง จนนำไปสู่การประท้วงคัดค้านของประชาชนนับแสนคนบนถนนราชดำเนิน และหัวเมืองใหญ่ๆทั่วประเทศและถูก 3 หัวโจ๊กเผด็จการดังกล่าว ใช้กำลังปราบปรามประชาชนและนิสิตนักศึกษาอย่างนองเลือดโหดร้ายทารุณ สร้างรอยด่างพร้อยให้กับประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยอีกตำนานหนึ่ง


    "พฤษภาทมิฬ" มีการยิง สังหาร ทำร้ายผู้บริสุทธิ์เรียกร้องประชาธิปไตยดั่งใบไม้ร่วง ระหว่างวันที่ 17,18 พฤษภาคม  2535 ดั่งโฮมเพจนี้ได้นำ "ภาพเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ" ดังกล่าวมาเสนอ ให้รำลึกถึง "วีรชน" และผู้ที่ได้รับบาดเจ็บทุพลภาพและผู้สูญหายไปเป็นจำนวนมาก ที่ได้ต่อสู้บนแนวหน้ากับเผด็จการนำประชาธิปไตยสู่ปวงชนอีกครั้งหนึ่ง.

     


  • ทุ่งสังหารทั้ง 3 เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไทย บันทึกการ ยิง ตี ทุบ เผา ฆ่าหมู่ฝ่ายเดียว ดั่งภาพที่นำมาเสนอให้ท่านได้ชม ณ ที่นี้ ขอขอบคุณหนังสือดังกล่าวนี้
     

    ขอขอบคุณ

    1. หนังสือสมุดภาพเดือนตุลา "ตำนานวีรชนคนกล้า" โดยสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
    2. หนังสือบันทึกประวัติศาสตร์ 14 ต.ค. พ.ศ. 2516 และ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 โดย อรุณ เวชสุวรรณ รวบรวม
    3. หนังสือราชดำเนินถนน 1,000 ศพ โดยคุณ วัชระ เพชรทอง
    4. หนังสือเอกสารอ้างอิงประวัติศาสตร์ คำให้การสัมภาษณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 เราคือผู้บริสุทธิ์ กลุ่มผดุงธรรม สารมวลชน
    5. หนังสือพฤษภาประชาธรรม การชำระประวัติศาสตร์ของประชาชน คณะกรรมการญาติวีรชน พฤษภา' 2535
    6. "ได้โปรดอย่าฆ่าประชาชน" สำนักพิมพ์ไทยไฟแนนเชี่ยล
    7. หนังสือ NO MORE DICTATORSHIP IN THAILAND
    8. หนังสือพิมพ์ เดลินิวส์,ไทยรัฐ,มติชน
       

    แนะนำเว็บไซท์ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย

     

    สามัญชนบนถนนประชาธิปไตย

    3 เหตุการณ์สำคัญประวัติศาสตร์ไทย by Wikipedia

    รวมภาพ 14 ตุลา 2516 จาก Google

    ลำดับเหตุการณ์มหาวิปโยค
    http://www.2519.net/

    รวมภาพ 6 ตุลา 2519 จาก Google

    14 ตุลา วันประชาธิปไตย
    http://www.14tula.in.th

      คนร่วมสมัยเดือนตุลา บรรณาธิการ