แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์
ฉบับสมบูรณ์ พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.๒๔๕๐

คณะกรรมการแพทย์หลวง
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


		"ฉันทศาสตร์" แต่งเป็นคำประพันธ์ประกอบด้วยร่ายและกาพย์ชนิดต่างๆ
	เริ่มต้นด้วยบทไหว้ครู ซึ่งหลังจากไหว้ "พระไตรรัตนนาถา" คือ พระรัตนตรัย อันเป็น
	ที่พี่งของพุทธศาสนิกชนทั้งหลายทั้งปวงแล้ว ก็ไหว้ "พระฤษีผู้ทรงญาณ"  ผู้รอบรู้ใน
	โรคาทั้ง ๘ องค์ ไหว้พระอิศวร พระพรหมทุกชั้นฟ้า แล้วก็ไหว้ "ครูกุมารภัจ" หรือหมอ
	ชีวกโกมารภัจ  บิดาแห่งแพทย์แผนตะวันออก  ผู้เจนจัดในเวชศาสตร์ ผู้ให้ทานทั่วแก่
	นรชน

		การชี้ทางเดินของแพทย์ ซึ่งเท่ากับเป็นการ "ส่องสัตว์ให้สว่าง กระจ่างแจ้ง
	ในมรรคา" ของคัมภีร์ฉันทศาสตร์ มี ๑๔ ข้อควรจำดังนี้

		       ฉันทศาสตร์ท่านกล่าวไข  สิบสี่ข้อจงควรจำ  เป็นแพทย์นี้ยากนัก จะ
		รู้จักซึ่งกองกรรม ตัดเสียซึ่งบาปธรรม สิบสี่ตัวจึงเที่ยงตรง เป็นแพทย์
		ไม่รู้ใน คัมภีร์ไสยท่านบรรจง รู้แต่ยามาอ่าองค์ รักษาไข้ไม่เข็ดขาม  บาง
		หมอก็กล่าวคำ มุสาซ้ำกระหน่ำความ ยกตนว่าตนงาม ประเสริฐยิ่งในการยา 
		บางหมอก็เกียดกัน ที่พวกอันแพทย์รักษา บางกล่าวเป็นมายา เขาเจ็บน้อย
		ว่ามากครัน บางกล่าวอุบายให้ แก่คนไข้นั้นหลายพัน หลังลาภจะเกิดพลัน 
		ด้วยเชื่อถ้อยอาตมา บางทีไปเยียนไข้ บมีใครจะเชิญหา  กล่าวยกคุณยา 
		อันตนรู้ให้เชื่อฟัง บางแพทย์ก็หลงเลห์ ด้วยกาเมเข้าปิดบังรักษาโรคด้วย
		กำลังกิเลสโลภะเจตนา บางพวกก็ถือตน ว่าคนไข้อนาถาให้ยาจะเสียยา 
		บ่ห่อนลาภจะพึงมี บางถือว่าตนเฒ่า เป็นหมอเก่าชำนาญดี รู้ยาไม่รู้ที รักษา
		ได้ก็ชื่นบาน แก่กายไม่แก่รู้ ประมาทผู้อุดมญาณ แม้เด็กเป็นเด็กชาญ ไม่
		ควรหมิ่นประมาทใช้เรียนรู้ให้เจนจัด จบจังหวัดคัมภีร์ไสย ตั้งตนปฐมไน 
		ฉันทศาสตร์ดังพรรณา

		"ฉันทศาสตร์" ในบริบทนี้น่าจะแปลว่า "ศาสตร์แห่งความรัก" โดยที่ "ความ
	รัก" ในที่นี้มิได้หมายความถึง "ความรักใคร่ฉันชู้สาวอันหญิงชายจะพึงมีต่อกัน" แต่หมาย
	ความถึง "ความรักมนุษย์ ซึ่งแพทย์จะพึงมีต่อคนไข้ทั่วไป"

		ในศาสตร์บัญญัติเรื่องว่าด้วยความรักมนุษย์นี้ ผู้แต่งใช้ฉันทลักษณ์รวมทั้ง
	สิ้น ๔ ชนิด คือ ร่าย กาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์  เนื้อหาอาจแยกแยะ
	เป็นตอนๆ ได้ ๒๐ ตอนคือ
	
		๑)   ตอนขึ้นต้น-ว่าด้วยจรรยาแพทย์ (กาพย์ยานี)
		๒)   ว่าด้วยลักษณะประทับ ๘ ประการ (ร่าย)
		๓)   ว่าด้วยพระคัมภีร์ตักสิลา (กาพย์สุรางคนางค์)
		๔)   ว่าด้วยสมมุติฐานกำเนิดไข้ (ร่าย)
		๕)   ว่าด้วยลักษณะอาการไข้ที่เข้าเพศเป็นโทษ ๔ อย่าง (กาพย์ยานี)
		๖)   ว่าด้วยลักษณะน้ำนมดีและชั่ว (ร่าย)
		๗)   ว่าด้วยชีพจร ให้ระวังในการระบายยา (กาพย์ยานี)
		๘)   ว่าด้วยลักษณะรัตนะธาตุทั้งห้า (กาพย์ยานี)
		๙)   ว่าด้วยลักษณะป่วง ๘ ประการ (ร่าย)
	               	๑๐)   ว่าด้วยตำรายาแก้สันนิบาตสองคลองและอหิวาตกโรค (ร่าย)
		๑๑)   ว่าด้วยลักษณะสมุฏฐาน (ร่าย)
		๑๒)   ว่าด้วยลักษณะอติสาร (กาพย์ยานี)
		๑๓)   ว่าด้วยลักษณะมรณะญาณสูตร (กาพย์ยานี)
		๑๔)   ว่าด้วยโรคภัยต่างๆ แห่งกุมาร-ลักษณะซางต่างๆ (ร่าย)
		๑๕)   ลักษณะกำหนดซาง (กาพย์ยานี)
		๑๖)   ลักษณะรูปทารก (กาพย์ยานี)
		๑๗)  ลักษณะซางตั้ง (กาพย์ฉบัง)
		๑๘)  ลักษณะตานโจร (กาพย์ฉบัง)
		๑๙)  ลักษณะธาตุทั้ง ๔ (กาพย์ยานีและฉบัง)
		๒๐)  ตอนลงท้าย (กาพย์ยานี)
	
		จะเห็นได้ว่า  ข้อบกพร่องของแพทย์มีทั้งในแง่ของความประมาท ความอวด
	ดี ความริษยา ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความหลงตนเอง ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่
	บรรดาแพทย์เล็งเห็นข้อบกพร่องต่างๆ เหล่านนี้ย่อมมีส่วนช่วยให้คนไข้หายไข้ได้เร็วขึ้น 
	ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และที่สำคัญก็คือคนจนก็ได้รับความสนใจใยดีจากแพทย์ ในส่วน
	แพทย์ด้วยกันเองนั้นเล่า ผู้แต่งก็เตือนสติมิให้แพทย์สูงอายุหลงตนเอง จนลืมไปว่าแพทย์
	หนุ่มที่มีความสามารถก็มีอยู่ ควรรับฟังแพทย์หนุ่มๆ บ้าง

		จากนั้น ก็กล่าวถึงจรรยาแพทย์โดยตรงว่าควรมีอย่างไร  ซึ่งส่วนใหญ่ ก็ยึด
	หลักคำสอนในพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางชี้นำจรรยาแพทย์ เช่น
		
		     ศีลแปดและศีลห้า           เร่งรักษาสมาทาน
		ทรงไว้เป็นเปนนิจกาล         ทั้งไตรรัตน์สรณา
		เห็นสาภอย่าโลภนัก             อย่าหาญหักด้วยมารยา
		ไข้น้อยว่าไข้หนา                   อุบายกล่าวให้พึงกลัว
		โทโสจงอดใจ                        สุขุมไว้อยู่ในตัว
		คนไข้ยิ่งคร้ามกลัว               มิควรขู่ให้อดใจ
		โมโหอย่าหลงเล่ห์                ด้วยกาเมมิจฉาใน
		พยาบาลแก่คนไข้                ทั้งผู้อื่นอันกล่าวกล
		
		แง่ของการรักษาโดยตรงนั้น มีบางส่วนน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะแสดงให้
	เห็นว่า  ผู้แต่งมิได้เชื่อเรื่อง "กรรม" อย่างงมงาย หากได้พยายามชี้ให้เห็นว่า  ถ้ารักษาไม่
	หาย อาจจะเป็นความบกพร่องหรือผิดพลาดของแพทย์เองก็ได้ ไม่ควรปัดความผิดไปให้
	คำว่า "กรรม" เช่น
		
		     บางทีมิรู้ทัน               ด้วยโรคนั้นใช้วิสัย
		คนบ่รู้ทิฏฐิใจ                  ถือว่ารู้ขืนกระทำ
		จบเรื่องที่ตนรู้                โรคนั้นสู้ว่าแรงกรรม
		ไม่สิ้นสงสัยทำ                สุดมือม้วยน่าเสียดาย
		รู้น้อยอย่าบังอาจ           หมิ่นประมาทในโรคา
		แรงโรคว่าแรงยา           มิควรถือว่าแรงกรรม
		
		เฉพาะในตอนจรรยาแพทย์นี้ มีบางบทที่ผู้แต่งพยายามใช้ความเปรียบ
	เทียบ ทำให้เนื้อหาค่อนข้างหนักเป็นปรัชญาหรือวิขาการ มีคุณค่าทางด้านวรรณศิลป์
	ด้วย เช่น
		
		     อนึ่งจะกล่าวสอน		กายนครมีมากหลาย
		ประเทียบเปรียบในกาย		ทุกชายหญิงในโลกา
		ดวงจิตต์คือกษัตริย์		ผ่านสมบัติอันโอฬาร
		ข้าศึกคือโรคา		เกิดเข่นฆ่าใรกายเรา
		เปรียบแพทย์คือทหาร		อันชำนาญรู้ลำเนา
		ข้าศึกมาอย่าใจเบา		ห้อมล้อมทุกทิศา
		ให้ดำรงกษัตริย์ไว้		คือดวงใจให้เร่งยา
		อนึ่งห้ามอย่าโกรธา		ข้าศึกมาจะอันตราย
		ปิตตังคือวังหน้า		เร่งรักษาเขม้นหมาย
		อาหารอยู่ในกาย		คือเสบียงเลี้ยงโยธา
		หาทางทั้งสามแห่ง		เร่งจัดแจงอยู่รักษา
		ห้ามอย่าให้ข้าศึกมา		ปิดทางได้จะเสียที ฯ
		
		ใน "ฉันทศาสตร์" นี้  มีเนื้อหาข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่างหลายประการ
	ที่สำคัญที่สุดซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธได้  คือคุณค่าทางด้านการแพทย์แผนโบราณ โดย
	ตรง เพราะเป็นแหล่งที่แพทย์จะสามารถนำไปวิเคราะห์ศึกษาว่า อาการเจ็บป่วยต่างๆ 
	นั้น คนโบราณเห็นว่ามีสาเหตุมาจากอะไร  และควรจะมีวิธีการรักษาอย่างไร  ใช้สมุน
	ไพรชนิดใดบ้าง สำหรับคนรุ่นใหม่ยังคงมีข้อมูลแปลกที่น่าสนใจไม่น้อย เช่น 
		
		         "หญิงหนึ่งนั้นมีกาย อกไหล่ผายเนตร์น้อย พักตร์แช่มช้อยชมชวน
		นิ่มเนื้อนวลเอวรัด นาสาทัดเล็บสิงห์ หลังราบยิ่งถันตรง เต้ากลมดังดอก
		บัว หัวนมเล็กขอบแดง กล้องแกล้งมือเท้าเรียว น้ำนมเขียวรสมันหวานฯ
		หญิงหนึ่งมีอาการ  ตาเหลือกลานไหล่ลู่  หน้าแข้งทู่ ด้นแขนใหญ่ยิ่งแม้น
		แม่ มือใหญ่ใจดื้อใจร้าย นมห่างปลายเบน เสียงเหมือนสำเนียงกา ผมหยัก
		โสก นมมีรสเปรี้ยว ปรากฏสำคัญฯ"
		
		ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ ในโลกทัศน์วิธีคิดของแพทย์แผนโบราณ ผู้หญิง
	จะมีความเท่าเทียมกันหมด คุณค่าของหญิงในเชิงชีววิทยามีลักษณะเป็นวิทยา
	ศาสตร์ คือขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์ มิใช่เผ่าพันธุ์หรือชั้นวรรณะ เป็นต้นว่าคุณค่าของ
	น้ำนม ก็ขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์ ดังที่ผู้แต่งเน้นว่า
		
		       อนึ่งยศศักดิ์ตระกูล ในประยูรสุริวงศ์ กษัตริย์พงศ์เศรษฐี ปุโรหิตมี
		เสนา เผ่าพันธุ์ค้าซื้อขาย ชาวนาหมายรูปร่าง สรรพสรรพางค์กล่าวมา หา
		โรคาบ่มิได้  เปนเอกในสัตรี  คุณนมมีกล่าวมา  มาดแม้นว่ากุมาร   เกิด
		บันดาลดวงแผน ซางร้ายแม้นได้กิน มลทินสิ้นเป็นดี...เลี้ยงลูกยากห่อนคง
		ถึงเผ่าพงศ์สมบูรณ์   ตามตระกูลเข็ญใจ  รูปนมในกล่าวมา  ทั้วมวลว่า
		เหมือนกันฯ
		
		ตอนลงท้ายของ "ฉันทศาสตร์" เป็นไปตามแนววรรณคดีแบบฉบับทั้ง
	หลาย คือมีการอธิษฐานขอให้ได้บรรลุนิพพานและระหว่างที่ยังไม่บรรลุ ผู้แต่งก็
	ได้อธิษฐานไว้อย่างน่าชื่นชมในอุดมคติอันสูงส่งของท่าน  กล่าวคือ ท่านขอว่า
		
		     ขอข้อกำลังยิ่ง		อายุยืนปัญญาไว
		ให้มีเมตตาไป		แก่สัตว์ทั่วทุกสรรพ์พรรค์
		เกิดไหนให้เป็นแพทย์		อย่ารู้มีผู้เทียมทัน
		โรคสิ้นทุกสิ่งสรรพ์		โห่รอบรู้กำเนิดมา
		
		นอกจากนี้ ก็ยังได้ใช้จินตนาการเชิงกวีของท่านคาดโทษทางใจแก่หมอ
	ผู้ไม่มีจรรยาว่า
		
		      หมอนั้นครั้นสินชนม์ 	จะไปทนกำเนิดใน
		นรกอันยิ่งไฟ		ทั้งหม้อน้ำทองแดงมี
		หมู่นายนิรยบาล		ประชุมเชิญด้วยยินดี
		เครื่องโทษบรรดามี		จะยกให้เปนรางวัล
		
		เนื้อหาที่น่าสนใจและคุณค่าบางประการที่ได้ยกมาแสดงเพียงคร่าวๆ นี้
	คงพอจะทำให้เห็นว่า แท้ที่จริง วรรณคดีเพื่อมวลชนนั้น ไทยเรามีมาแต่โบราณ

		แพทยศาสตร์สงเคราะห์ โดยองค์รวมจึงเป็นทั้งหนังสือแสดงองค์ความ
	รู้แห่งภูมิปัญญาไทย  อันมีค่าอเนกอนันต์ และเป็นทั้งหลักปักเขตประกาศ
	ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาตะวันออกด้สนการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย
	ที่ภูมิปัญญาตะวันตกมิอาจลบล้างและดูแคลน


กลับไปหน้าแรก