คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

หน้าวัว

คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่
ชื่อสามัญ           Tailflower
ชื่อวิทยาศาสตร์   Anthurium andreanum
หน้าวัวเป็นไม้ตัดดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง แม้ว่าในปัจจุบันจะมีราคาค่อนข้างแพง แต่หน้าวัวก็ยังเป็นไม้ตัดดอกที่อยู่ในความต้องการของตลากทั้งในและนอกประเทศ จึงเชื่อได้ว่าการเลี้ยงหน้าวัวจะมีอนาคตที่สดใส โดยธรรมชาติหน้าวัวเป็นไม้ดอกที่เจริญออกดอกได้ตลอดทั้งปี ดอกจะติดอยู่กับต้นมีความคงทนเป็นยอดนับแรมเดือน ซึ่งต่างกับไม้ตัดดอกประเภทอื่นที่มีการเจริญออกดอกเป็นครั้งคราว

ลักษณะทั่วไป
หน้าวัวจัดเป็นไม้ตัดดอกประเภทเนื้ออ่อน ลำต้นมีข้อสั้นๆ การเจริญเติบโตค่อนไปทางไม้เลื่อยเมื่อต้นสูงขึ้นเรื่อยๆ จะทิ้งใบล่าง ทำให้ลำต้นสูงพ้นเครื่องปลูก โตเต็นที่สูงประมาณ 80-100 ซม. รัศมีใบแผ่กว้าง 60-90 ซม. ใบหน้าวัวมีลักษณะรูปร่างยาวรี คล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลมยาวสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวเรียวเกือบกลม ดอกหน้าวัวเกิดจากตาที่อยู่เหนือก้านใบประกอบด้วยปลี (ช่อดอก) และจานรองดอก จานรองดอกมีรูปร่างลักษณะคล้ายใบติดที่โคนปลี มีสีสันสวยงามมากมายและมีขนาดที่แตกต่างกัน เช่น สีแดง สีขาวสีชมพู และสีส้ม ปลีหรือช่อดอกคือส่วนที่แท้จริงของดอกประกอบด้วยก้านช่อ ช่อดอกส่วนโคนใหญ่ มีขนาดรอบวงประมาณ 2.5-3.5 ซม. ปลายเรียวยาว 5-10 ซม. มีดอกย่อยเล็กๆ สีเหลือง เป็นดอกสมบูรณืเพศ ระบบรากของหน้าวัวเป็นระบบรากพิเศษแตกตามบริเวณข้อลำต้น มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 มม. สีเขียวอมน้ำตาล แข็งและเหนียว

พันธุ์
ที่ปลูกกันมักเกิดจากพันธุ์ลูกผสมหลากหลายสายพันธุ์แปลกๆ ใหม่ๆ ออกสู่ตลาดมากมาย สำหรับ
พันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ดั้งเดิมของไทยแบ่งได้ดังนี้
  • พันธุ์จานรองดอกสีแดง ได้แก่ พันธุ์ดวงสมร พันธุ์จักรพรรดิ พันธุ์แดงนุกูล พันธุ์กษัตริญ์ศึก พันธุ์นครธน พันธุ์กรุงธน พันธุ์ศรีสำราญ
  • พันธุ์จานรองดอกสีส้ม ได้แก่ พันธุ์ผกาวลี พันธุ์ดาราทอง พันธุ์โพธิ์ทอง พันธุ์สุหรานากง พันธุ์ประไหมสุหรีพันธุ์ผกามาศ พันธุ์ผกาทอง
  • พันธุ์จานรองดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์ศรียาตรา พันธุ์ศรีสง่า พันธุ์จักรเพชร พันธุ์ศรีเงินยวง
  • พันธุ์จานรองดอกสีขาว ได้แก่ พันธุขาวคุณหนู พันธุ์ขาวเศวต พันธุ์ขาวพระสังข์ศาสตร์

    การปลูก
    ในสัยก่อนการปลูกหน้าวัวโดยมากนิยมใช้อิฐมอญทุบให้ละเอียดเป็นก้อนเล็ดๆ เพียงอย่างเดียว หรือใส่ปุ๋ยเสริมอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของหน้าวัว ต่อมาได้มีการทดลองไช้วัสดุอื่นๆ มาแทนเครื่องปลูกให้กับต้นหน้าวัว เช่น อิฐมอญทุบ + ใบก้ามปู + มูลเป็ด (1:2:1) ใบก้ามปูแห้ง + มูลเป็ด (5:1) เปลือกถั่ว + ปุ๋ยคอก (5:1) ขี้กบ + มูลเป็ด (5:1) หรืออิฐมอญอย่างเดียว การปลูกลงแปลงนั้นก่อนปลูกควรขุดดินให้ลึกประมาณ 1 ฟุต แล้วใส่ขี้เถ้าแกลบ 1/2 ฟุต จากนั้นให้ใส่เครื่องปลูก ถ้าปลูกในกระบะอาจก่อด้วยอิฐมอญหรือซีเมนต์บล็อกกว้าง 1.80 เมตร ยาวตามความต้องการ ปูพื้นด้วยขี้เถ้าแกลบหรือทราย แล้วใช้อิฐวางตามยาวในแนวตั้ง เพื่อเก็บความชื้นและระบายน้ำได้ดี การให้น้ำ หน้าวัวเป็นไม้ตัดดอกที่ต้องการความชื้นสูง ปกติจะรดน้ำวันละ 2 ครั้ง คือ เช้าและเย็น แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมด้วย ถ้าโรงเรือนพรางแสงได้มาก เครื่องปลูกเก็บความชื้นดี หรืออากาศไม่ร้อนอาจรดนำเพียงครั้งเดียวก็พอ แต่ถ้าวันใดมีอากาศร้อนจัควรให้นำเพิ่มอีกครั้งหนึ่งในตอนกลางวัน สำหรับการใส่ปุ๋ย นักเลี้ยงหน้าวัวไม่ค่อยเห็นความสำคัญมากนัก แต่การให้ปุ๋ยเสริมทำให้หน้าวัวมีการเจริญเติบโตดี และมีดอกขนาดใหญ่ ปุ๋ยที่ใส่คือปุ๋ยสูตร 16-21-27 ,13-13-20 ละลายน้ำให้ความเข้มข้นเจือจางอัตราส่วน 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วฉีดพ่นทางใบประมาณสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หรือใช้สูตร 13.5-27.27 ,16-21-27 แสงแดดก็นับว่าอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของหน้าวัว กล่าวคือถ้าหน้าวัวได้รับแสงแดดมากเกินไป และมีความชื้นลดลงจะแสดงจะแสดงอาการผิดปกติคือขอบใบแห้ง แผ่นใบเหลือง จานรองดอกเหี่ยวอ่อนเห็นได้ชัดฉะนั้นโรงเรือนควรตีไม้ระแนงห่างกัน 6 นิ้ว จะพรางแสงได้ประมาณ 70 % แต่ถ้าหน้าร้อนมีแสงแดดจัด ควรหาวัสดุพรางแสงเพื่อลดแสงแดดที่จัดให้น้อยลง

    การขยายพันธุ์
    หน้าวัวสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 ประเภท คือ การตัดยอดต่างๆ และการเพาะเมล็ด
  • การตัดยอด เป็นวิธีที่ง่ายและนิยมปฏิบัติกันมาก เมื่อลำต้นหน้าวัวสูงเหนือระดับเครื่องปลูกพอสมคสร และมีรากอย่างน้อย 2-3 ราก หรือมีอายุเกิน 1 ปี ซึ่งมีรากยาวพอที่จะยึดเกาะติดกับเครื่องปลูกและหาอาหารได้การตัดยอดควรให้มีใบเหลือทิ้งไว้กับต้นตอเดิมประทาณ 2-3 ใบ เพื่อช่วยสร้างอาหาร แผลบริเวณรอยตัดควรทาด้วยกำมะถันผง ยากันเชื้อรา หรือปูนแดง เพื่องป้องกันไม่ให้เชื้อราเข้าทำลาย จากนั้นให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้ง หน้าวัวจะเริ่มแตกใบอ่อนและดอกระยะนี้ควรเด็ดทิ้งแล้วปล่อยไว้จนกว่าต้นหน้าวัวสมบูรณ์แข็งแรงดีเสียก่อนจึงปล่อยให้มีดอกที่เกิดใหม่ได้
  • การเพาะเมล็ด โดยปาตินักเลี้ยงหน้าวัวต้องการปรับปรุงพันธุ์ให้ดีขึ้นและได้พันธุ์ที่แปลกใหม่ ภาชนะที่ใช้เพาะควรมีปากกว้างพอประมาณ ระบายน้ำได้ดี เมื่อเตรียมภาชนะที่ต้องการแล้วให้ใช้อิฐมอญละเอียดขนาด 1/8-1/4 นิ้วร่อนให้สะอาด แช่น้ำหรือรดน้ำให้ชุ่ม เติมใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ให้ต่ำกว่าขอบประมาณ 1 นิ้ว ภาชนะนั้นต้องมีจานรองก้นและหล่อน้ำไว้ให้เต็มเพื่อเก็บรัษาความชื้น แล้วนำเมล็ดที่สะอาดวางไว้บนอิฐมอญห่างกันประมาณ 1-3 ซม. แล้วรดน้ำอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นใช้แผ่นกระจกใสหรือผ้าพลาสติกใสคลุม เมล็ดหน้าวัวจะงอกหลังจากเพาะแล้วประมาณ 10-15 วัน

    โรคและแมลง
  • โรคใบแห้ง เกิดจากเชื้อรา Phytophthora sp. เชื้อราชนิดนี้ชอบความชื้นสูง โดยเฉพาะในฤดูฝน เราอาจพบเชื้อสปอร์ของเชื้อรามีลักษณะเป็นขุยสีขาวเกิดขึ้นตามบริเวณขอบรอยแผล ลักษณะอาการ ระยะเริ่มแรกเป็นจุดช้ำเล็กๆ สีเขียวหม่น รอยแผลจะขยายไปเรื่อยๆ จนเป็นแผลขนาดใหญ่และเน่าเป็นสีน้ำตาลและแห้งกรอบ ถ้าสภาพอากาศไม่ชื้นพอ ดอกหรือหน่อที่เกิดใหม่จะถูกเชื้อราชนิดนี้เข้าทำลายเหี่ยวแห้งจนกระทั่งเน่าตาย การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อราจะแพร่ไปตามน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำที่ใช้รดหรือน้ำฝน หรือปลิวไปตามกระแสลม การป้องกัน ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น สารเคมีไดโฟลาเทน 80 อยู่เสมอ โดยเฉพาะในฤดูที่มีฝนตกชุก เนื่องจากสารเคมีชนิดอื่นใช้ไม่ได้ผล นอกจากนี้ยังพบโรคแอนแทรกโนส โรคใบด่าง โรคใบจุด โรครากเน่า และโรคยอดเน่าอีกด้วย
  • หอยทาก เป็นศัตรูที่สำคัญ เนื่องจากหน้าวัวเป็นพืชที่ชอบอยู่ในที่ร่มและต้องการความชื้นสูง ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปลูกหรือสถานที่วาง การเข้าทำลายของหอยทากมักชอบกัดกินใบและดอกหน้าวัว ทำให้ส่วนนั้นแหว่งเว้าเสียรูปทรง ปกติแล้วหอยทากจะเข้าทำลายในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะหลบซ่อนตัวตามซอกอิฐ การป้องกัน เมื่อพบควรเก็บทิ้ง อย่าทุบภายในโรงเรือน เพราะตัวเต็มวัยอาจมีลูกตัวเล็กๆ อยู่ หรือใช้ปูนขาวโรยบริเวณก้นกระถางหรือรอบๆ รังเพื่อให้หอยทากออกจากรังแล้วเก็บไปทำลายหรือใช้แคลเซียมคลอไรด์ผสมกับน้ำอัตราส่วน 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณที่หลบซ่อน เพื่อให้ออกจากที่ซ่อนแล้วจับทำลายให้หมด

    ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่http://web.ku.ac.th/agri/rosecow คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่

    คลิ๊กเพื่อดูภาพใหญ่