นายไกรศร
 
 
 
ประวัตินายไกรศรี นิมมานเหมินท์

                  นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ที่บ้านถนนวิชยานนท์ ตำบลช้าง อำเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เชื้อชาติไทย สัญชาติไทย เป็นบุตรคนแรกของนายกีและนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์
                  นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ มีบุตร ๒ คน คือ นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ กับนายศิรินทร์ มิมมานเหมินท์

การศึกษา
                  นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ ปริญญาตรี B.s.in Econ. จาก University of Pensylvania พ.ศ. ๒๔๗๙ และปริญญาโท M.B.A. จาก Havard University, U.S.A.

หน้าที่การสอน
                  นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ มีส่วนช่วยงานราชการทั่วไปและงานส่งเสริมวิชาการและมีตำแหน่งต่างๆ ดังนี้
๑. สมาชิกสภาจังหวัดเชียงใหม่ (พ.ศ. ๒๕๐๑ - ๒๕๐๔)
๒. วุฒิสมาชิก (พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๑๙)
๓. กรรมาธิการฝ่ายเศรษฐกิจ ขนส่ง และการต่างประเทศ
๔. กรรมการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีส่วนร่างโครงการจัดตั้งคณะสังคมศาสตร์และรักษาการคณบดี
๕. กรรมการในคณะกรรมการประวัติศาสตร์ไทย สำนักนายกรัฐมนตรี
๖. กรรมการสืบค้นประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับเอกสารภาษาจีน สำนักนายกรัฐมนตรี
๗. ได้รับคัดเลือกเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมของภาคเหนือ ประจำปี ๒๕๒๔
๘. ได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิตทางด้านมนุษยศาสตร์จากสภากวีโลก ปี พ.ศ. ๒๕๓๑

ผลงานสำคัญ
๑. ค้นพบเตาสังคโลกโบราณ ที่อำเภอสันกำแพง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง และอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
๒. ค้นพบเอกสารใบลานที่สำคัญชั้นหนึ่ง คือ กฏหมายมังรายศาสตร์ ที่วัดเสาไห้ จังหวัดสระบุรี มอบให้ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ปริวรรต และจัดพิมพ์เผยแพร่
๓. พ.ศ. ๒๕๐๕ สยามสมาคมแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะนักวิชาการไปสำรวจศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับความเป็นอยู่ ภาษา วัฒนธรรม ฯลฯ ของชนเผ่ามระบรีหรือผีตองเหลือง จังหวัดน่าน
๔. บันทึกเสียง เพลงไทยเดิมของคนเชื้อชาติไทยในพม่า มอบให้ นายธนิต อยู่โพธิ์ อธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น และนายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร
๕. นำเครื่องเขิน "โยนเถ่" จากพม่า ซึ่งผลิตโดยชาวเชียงใหม่ที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปอยู่พม่าเมื่อ ๔๐๐ ปีเศษมาแล้ว มอบให้ นางเป็ง วิชัยกุล เป็นต้นแบบการผลิตเครื่องเขินที่แพร่หลายในปัจจุบัน
๖. เป็นผู้เริ่มพิมพ์ป้ายวงกลมแจกจ่ายแก่ประชาชน เพื่อปิดประกาศตามสถานที่ต่างๆ ในการเรียกร้องให้รัฐบาลสร้าง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๗. นำไม้แกะสลักจากไม้ก้ามปูจากฟิลิปปินส์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นต้นแบบให้ชาวเหนือผลิตเป็นอาชีพแกะสลักไม้
๘. เป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดเลี้ยงรับรองแบบขันโตกเป็นครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๙๖ เป็นแบบอย่างและสัญลักษณ์งานเลี้ยงรับรอง แบบขันโตกของชาวเหนือในปัจจุบัน
๙. ริเริ่มให้หนังสือพิมพ์ "คนเมือง" ประกาศเชิญชวนให้ประชาชนชาวเหนือแต่งกายแบบพื้นเมืองในวันประเพณีต่างๆ
๑๐. ริเริ่มจัดทำป้ายบอกประวัติโบราณสถานที่สำคัญๆ ในจังหวัดเชียงใหม่เป็นภาษาพื้นเมือง
๑๑. ขนย้ายคัมภีร์ใบลานที่มีคุณค่าออกจากถ้ำสองฝั่งแม่น้ำปิง ให้พ้นจากการถูกน้ำท่วมจาการสร้างเขื่อนภูมิพล นำไปเก็บไว้ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
๑๒. พ.ศ. ๒๔๙๙ นำชายไทย เผ่าไทยลาว ไทยลื้อ ไทยเขิน ไทยใหญ่ ไทยยอง ไทยหย่า ฯลฯ ร่วมประชุมสัมมนาเกี่ยว กับภาษาไทยต่างๆ ที่สมาคมสตรีไทย กรุงเทพฯ
๑๓. เป็นประธานจัดประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ภาคเหนือเชียงใหม่ เมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๒๓
๑๔. เป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้งพุทธสถานเชียงใหม่ (พ.ศ.๒๕๐๑) และเป็นกรรมการบริหารมูลนิธิพุทธสถานเชียงใหม่
๑๕. มอบที่ดิน ๒๔ ไร่ ให้กระทรวงศึกษาธิการให้เป็นสถานกีฬาจังหวัดเชียงใหม่
๑๖. ผลงานเขียนหนังสือและบทความ อาทิ เครื่องถ้วยสันกำแพง นิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง The Romance of Virangha หนังสือกวีนิพนธ์ เรื่อง "กาพย์เจี้ยจามเทวีและวิรังคะ" ได้รับรางวัลดีเด่นประเภทกวีนิพนธ์ ประจำปี ๒๕๓๐ จากคณะกรรมการ พัฒนาหนังสือ นอกจากนี้มีบทความทางวิชาการอีก จำนวนมาก อาทิ "พระพุทธรูปเชียงใหม่จารึกเป็นภาษาไทยและพม่า" "หำยน - อัณฑะศักดิ์สิทธิ์" "เทพารักษ์นครเชียงใหม่ของชาวละว้า" เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง "กฏหมายว่าด้วยเหมืองฝายของพระเจ้า มังราย" "ผีตองเหลือง" เป็นต้น
                   
                    งานสำคัญที่นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ ได้ทำค้างไว้ร่วมกับญาติและมิตร ในฐานะประธานกรรมการห้างหุ้นส่วนสามัญ นิติบุคคลอนุสารสุนทรเชียงใหม่ คือ การสร้างเรือนอนุสารสุนทร บริจาคให้แก่สถาบันราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อจัดเป็นหอดนตรี และนาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนาและจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมล้านนาด้วย
 
ประวัติดินแดนล้านนา(เชียงใหม่), ครูบาศรีวิชัย, เจ้ากาวิละ, พระราชชายาดารารัศมี, พระศิริมังคลาจารย์, พระนางสามผิว, นายพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ, นายไกรศรี, พระบรมพระราชานุสรณ์สามกษัตริย์