ความยาวของประโยค

ความยาวของประโยค
ประโยคอาจจะแตกต่างกันที่สั้น ยาว ประโยคยาวออกไปได้เมื่อผู้พูดเพิ่มรายละเอียดมากขึ้น บางประโยคมีข้อความซ้ำกับประโยคที่มาก่อน ผู้พูดอาจจะละหรือหาคำอื่นมาแทน ประโยคจะสั้นลง
    ตังอย่างประโยคยาวออกไป
1.คุณสมศักดิ์ได้รับเลือกเป็นประธาน

2.คุณสมศักดิ์ได้รับเลือกเป็นประธานและคณะกรรมการชมรมวิทยาศาสตร์  3.คุณสมศักดิ์ที่เป็นพี่ชายคุณน้อยไดัรับเลือกเป็นประธานกรรมการชมรมวิทยาศาสตร์คนล่าสุด
    ตัวอย่างประโยคที่สั้นลง 
1.ตักแกงให้พี่หน่อย พี่ชอบปลาอย่างเดียว พี่ไม่ผัก 
2.ตักแกงให้พี่หน่อย เอาแต่ปลานะ (แสดงว่านอกจากปลาอย่างอื่นไม่ต้องการ)
    ความรู้เรื่องประโยคมีประโยชน์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ 
1.ช่วยให้เราวิเคราะห์ประโยคที่ซ้ำซ้อนได้เข้าใจง่ายขึ้น
2.ช่วยให้เราสร้างหรือสังเคราะห์ประโยคได้ถูกต้องตามระเบียบของภาษา
3.ช่วยให้เราสามารถแสดงความคิดอย่างงเดียวกับเป็นประโยคต่างๆ กันไม่ซ้ำซาก
คำนิยาม

   คำนิยาม คือ การสังเขปความที่กำหนดให้อย่างกว้างๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน โดยใช้คำน้อยที่สุด ให้มีความหมายกว้างขวางที่สุดและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด
   หลักการเขียนคำนิยาม
1.บอกชื่อที่เป็นสามานยนามของสิ่งนั้นๆ ก่อนเพื่อกำจัดความเข้าใจให้แคบลง เช่น ปีก คำสามานยนามคือ อวัยวะ
2.หาคำขยายสามายนามให้บ่งเฉพาะยิ่งขึ้น
3.บอกลักษณะเด่นตามความจริงที่ปรากฏ เช่น รูปร่าง สี ขนาด ประโยชน์ เช่น ปีก ลักษณะเด่น ใช้สำหรับบิน
4.อาจกล่าวถึงประวัติ หรือเกร็ดย่อย

5.อาจนำเอาสิ่งอื่นๆ ที่คล้ายคลึงมาเปรียบเทียบ
สรุป คำนิยามของปีก คือ อวัยวะที่ใช้สำหรับบิน
   ข้อบกพร่องในการเขียนคำนิยาม
 1.กว้างเกินไป เช่น นก สัตว์ชนิดหนึ่ง

 2.ทับซ้อนกับสิ่งอื่นที่คล้ายกัน เช่น ดินสอ เครื่องเขียน 
3.ให้คำนิยามปฏิเสธคำเดิม เช่น ความเย็น คือ ความไม่ร้อน