เปลี่ยนหลอดไฟ LED มือถือ Nokia ทำได้ง่ายมาก
  มือถือยี่ห้อ Nokia ถึอว่าเป็นรุ่นที่นิยมกันมากโดยเฉพาะช่วงแรก รุ่น 3210 จนกระทั่งเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันนี้รุ่นที่นิยมกันมากก็คงจะต้องยกมือให้รุ่น 3310 และ3330
        ทั้งนี้ว่าการแข่งขันของผู้ให้บริการมีมากทำให้ราคาตัวเครื่องถูกลง ประกอบกับลูกเล่นของรุ่นดังกล่าวก็นับว่าเป็นที่ติดตาติดใจของบรรดาเซียนมือถือทั้งหลาย แต่ผมไม่เคยคิดอย่างนั้น เลยทั้งนี้เพราะว่า ผมไม่ได้สนใจลูกเล่นเหล่านั้นเลย ผมสนใจว่ามันมีการทำงานอย่างไร และจะดัดแปลงอะไรได้บ้าง ถ้าเสียจะซ่อมยังไง ทำนองนั้นมากกว่า ซึ่งลักษณะนิสัยแบบนี้ก็เป็น นิสัยของช่างซ่อมมือถือทั้งหลาย ซึ่งอาจจะซ่อมด้วยความชำนาญและใช้หลักวิชาการในการซ่อม แต่ก็มีหลายท่านเหมือนกันที่ซ่อมได้เพราะมั่วเอา บทความนี้ผมตั้งใจเขียนขึ้นมาเพราะต้อง การแบ่งปันความรู้ของตัวเองให้กับคนอื่นๆ ที่ต้องการจะศึกษาหรือคนที่รู้แล้วแต่รู้ไม่จริงได้กระจ่างขึ้นกว่าเดิม โดยเนื้อหาส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนหลอดไฟ LED ของมือถือให้เป็น สีตามใจชอบของเรา อาจจะเป็น สีแดง สีขาว สีฟ้า ก็แล้วแต่ชอบนะครับ ส่วนเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับการซ่อมมือถือแบบเจาะลึก ถึงค่าความต้านทาน ค่าความจุของตัวอุปกรณ์ต่าง ๆ และการซ่อมมือถืออาการต่าง ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากโปรแกรมเสีย แต่เสียที่อุปกรณ์ คงจะนำเสนอต่อไป เริ่มแรกเราก็มาดูกันก่อนนะครับว่าเราจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อะไรกันบ้าง

1. ไขควงหกเหลี่ยม ใช้สำหรับขันสกรูมีลักษณะดังรูปครับ

2.ปากคีบครับ ใช้สำหรับหยิบหรือจับ LED

3.หัวเป่าลมร้อนแบบปลายมีขนาดเล็ก กำลังประมาณ 11 วัตต์

3.ตะกั่วสำหรับบัดกรีครับ ใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์เล็กๆ นะครับจะได้ง่ายในการบัดกร

5.พอยด์เตอร์ ใช้สำหรับงัด LED ครับ

6.มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลหรือแบบเข็มก็ได้ครับ
                                                          
                                                              
                            3. ปกติแล้วไฟ LEDหน้าจอจะอยู่ภายใต้จอ ดังนั้นถ้าเราต้องการที่จะเปลี่ยนไฟ LED ที่หน้าจอเราจะต้องถอดจอออกมาก่อนโดยการถอดคลิปขาวๆก็จะถอดจอได้ง่ายดังรูป
                                                                     
                                     รูปข้างล่างเป็นตำแหน่งไฟ LED ของรุ่น 6150 และ 3210                                    
โนเกีย 6150
โนเกีย 3210
ข้อมูลเกี่ยวกับ LED
            LED ทุกตัวจะขั้ว 2 ขั้วคือ แอโนด (Anode) และแคโทด( Cathode) เหมือนกับไดโอดทั่วไป แต่จะแตกต่างกันที่ว่า LED เมื่อได้รับแรงดันไฟอัสแบบตรง   มันจะแสดงสีออกมา ถ้าทำในทางตรงกันข้ามคือให้แรงไฟไบอัสกลับ มันจะไม่มีแสงสีออกมาให้เราเห็น (มันไม่ทำงาน) เราสามารถทดสอบว่า LED นั้นเสียหรือไม่ ทำได้โดยการใช้มิเตอร์ตั้งย่าน RX1 แล้วใช้ปลายสีดำของมิเตอร์แตะที่ขั้วแอโนด และปลายสีแดงแตะที่ขั้วแคโทด ถ้าไฟติด แสดงว่า LED สามารถใช้งานได้ ถ้าไม่ติดแสดงว่าเสีย ดั้งนั้นในการเปลี่ยน LED เราจะต้องดูขั้วให้ถูกต้องก่อนที่จะบัดกรี และมีการทดสอบทุกครั้งที่บัดกรีแต่ละตัวเสร็จเพื่อให้แน่ใจว่า จุดบัดกรีนั้นติดกับแผ่นวงจร ขั้วของ LED เป็นดังรูปข้างล่าง


                                        

  
    





คำแนะนำ     ในการเปลี่ยน LED เราจะต้องเปลี่ยนทุกตัวให้เหมือนกัน จะเพียงตัวใดตัวหนึ่งชุดไม่ได้ คือ ถ้าเปลี่ยนชุดจอ เราก็ต้องเปลี่ยน LED ในชุดจอทุกตัวให้เป็นแบบเดียวกัน เพราะถ้าเปลี่ยนเพียงบางส่วน LED จะไม่ติด

         การถอด และการบัดกรี LEDมีขั้นตอนดังนี้
      1.เสียบปลั๊กหัวเป่าลมร้อน ให้มีความร้อนพอประมาณจากนั้นเป่าที่ LED แล้วใช้ปากคีบหรือพอยต์เตอร์งัดขึ้น
ดึง LEDออกจากแผ่น PCB
      2.ปรับลดระดับความร้อนของหัวเป่าลงร้อนลง จากนั้นให้นำ LED ตัวใหม่ไปวางที่ตำแหน่งที่จะบัดกรี โดยใช้ปากคีบ วางให้ถูกขั้วด้วย หลังจากนั้นใช้หัวเป่าลมร้อนไล่ความร้อนไปยัง LED ประมาณ 2-3วินาที ดูให้แน่ใจว่า LED ติดกับแผ่น PCB แล้วลองใช้มิเตอร์วัดดูว่า LED
ติดไหม ถ้ายังไม่ติดก็ให้ลองดูจุดบัดกรีก่อนว่าคิดแน่นไหม ถ้าดูแล้วยังไม่ติด แสดงว่า LED เสีย ซึ่งต้องเริ่มทำใหม่ อาการเสียที่เกิดขึ้นอาจจะเกิดจาก LED ได้รับความร้อนมากเกินไป