ชื่อเรื่องไทย การศึกษาสารให้กลิ่นของลำไยสดและไยกระป๋องพันธุ์อีแดง(Euphoria longana Lam. cv.Edaeng)  
ชื่อเรื่องอังกฤษ Studies on Ordered Compounds of Fresh and Caned Longan (Euphoria longana Lam. cv.Edaeng)
 
ผู้แต่ง จริยา ปิติพรณรงค์
 
สาขาวิจัย วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  
สถาบัน สาขาการสอนเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
ปีที่พิมพ์ 2531  
ประเภท วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว  
บทคัดย่อ

ได้ศึกษาสารที่ให้กลิ่นในลำไย โดยในการทดลองนี้ใช้ลำไยสดและลำไยกระป๋องพันธุ์อีแดงเป็นวัตถุดิบ สารระเหยให้กลิ่นจากลำไยได้ถูกสกัดออกมาโดยใช้วิธีการกลั่น 2 วิธี คือ วิธีแรกเป็นการกลั่นและสกัดพร้อมกันโดยใช้เครื่องกลั่นแบบ simultaneous steam distillation and extraction ซึ่งเป็นการสกัดอย่างต่อเนื่อง ออกแบบโดย Nickerson and likens และอีกวิธีหนึ่งคือ การกลั่นโดยใช้ความดันต่ำ และสกัดด้วย diethyl ether หลังจากทำการระเหยเอา diethyl ether ออกโดยแบบธรรมดา และเป่าด้วยก๊าซไนโตรเจน จะได้สารให้กลิ่นเข้มข้น (aroma concentrate) ที่มีลักษณะเป็นของเหลวใสไม่มีสี และมึกลิ่นรุนแรง เพื่อเป็นการบ่งบอกชนิดของสารระเหยให้กลิ่น ได้นำ aroma concentrate มาศึกษาโดยวิธีแก๊สโครมาโตกราฟีและใช้เวลารีเทนชันของสารระเหยอ้างอิงเป็นตัวเปรียบเทียบ และได้ทดสอบกลิ่นโดยวิธี senaory evaluation จากการศึกษาพบว่าสารที่ให้กลิ่นในลำไยแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ พวกแรกให้กลิ่นที่ไม่ดี ได้แก่สารที่พบในลำไยกระป๋อง คือ I-butanol , propanol , 2-methyl butanol และ 3-methyl butanol ethyl อีกพวกหนึ่งเป็นสารที่ให้กลิ่นที่ดีหรือกลิ่นหอมในลำไยสด เชื่อว่า คือ acetate ethyl และ hexanoate