ชื่อเรื่องไทย การศึกษาหาพันธุ์ลำไยที่เหมาะสมในการทำลำไยอบแห้งทั้งเปลือก ู  
ชื่อเรื่องอังกฤษ Suitable Variety of Longan in Dehydration
 
ผู้แต่ง ภาคี อุตรเคียนต์
 
สาขาวิจัย วิทยาศาสตรบัณฑิต  
สถาบัน สาขาไม้ผล คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้  
ปีที่พิมพ์ 2533  
ประเภท วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว  
บทคัดย่อ

จากการศึกษาหาพันธุ์ลำไยที่เหมาะสมในการทำลำไยอบแห้งทั้งเปลือก โดยใช้พันธุ์ลำไย 3 พันธุ์ คือ พันธุ์เบี้ยวเขียว พันธุ์อีแห้ว และพันธุ์สีชมพู โดยทำการวางแผนแบบ Completely Randomized Design (CRD) ผลปรากฏว่า หลังจากอบพันธุ์สีชมพู มีน้ำหนักรวมมากที่สุด โดยมีน้ำหนัก 237.5 กกกรัม รองลงมาคือ พันธุ์เบี้ยวเขียว และพันธุ์อีแห้ว โดยมีน้ำหนัก 205 และ 177.5 กรัม ตามลำดับ จากการวิเคราะห์พบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เปอร์เซ็นต์ความหวานหลังการอบพบว่า พันธ์อีแห้วมีเปอร์เซ็นต์ความหวานมากที่สุดโดยมี 65.75 % รองลงมาคือ พันธุ์เบี้ยวเขี้ยว และพันธุ์สีชมพู โดยมีเปอร์เซ็นต์ความหวาน 665.25 และ 64.50 % ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ น้ำหนักเนื้อแท้พบว่า พันธุ์สีชมพูมีน้ำหนักแท้มากที่สุด โดยมีน้ำหนัก 120 กรัม รองลงมาคือ พันธุ์เบี้ยวเขียวและพันธุ์อีแห้ว โดยมีน้ำหนัก 100 และ 80 กรัม ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่ามีความแตกต่างทางสถิติออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความล่อนของเนื้อ พบว่าพันธุ์สีชมพูมีความล่อนของเนื้อดีที่สุด โดยมีคะแนน 3 คะแนน รองลงมาคือ พันธุ์เบี้ยวเขียวและพันธุ์อีแห้ว โดยมีคะแนน 2.5 และ 2 คะแนน ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รสชาติ และเนื้อสัมผัส พบว่า พันธุ์อีแห้ว มีรสชาติและเนื้อสัมผัสดีที่สุด โดยมีคะแนน 3 คะแนน รองลงมาคือพันธุ์เบี้ยวเขียว และพันธุ์สีชมพู โดยมีคะแนน 2 และ 1.5 คะแนน ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ ทางสถิติพบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ อย่างมีนัยสำคัญทางสำคัญทางสถิติ