ชื่อเรื่องไทย ผลของสารประกอบคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตต่อคุณภาพและการควบคุมเชื้อรา Lasiodiplodia sp. และ Pestalotiopsis sp. บนผลลำไยหลังการเก็บเกี่ยว  
ชื่อเรื่องอังกฤษ Effect of Carbonate and Bicarbonate Compounds on Fruit Quaality and the Control of Lasiodiplodia sp. And Pestalotiopsis sp. At Posharvest on Longan (Dimocarpus longan Lour.) Spp. Longan var. longan Fruit.  
ผู้แต่ง กัลยา วิธี
 
สาขาวิจัย วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  
สถาบัน สาขาวิชาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว คณะบัณฑิตวิทยาลัย์์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
ปีที่พิมพ์ 2540  
ประเภท โรคและแมลง  
บทคัดย่อ

ผลของสารประกอบคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนตของโพแทสเซี่ยม โซเดียม และแอมโมเนียมต่อการเจริญของเส้นใยของเชื้อรา Lasiodiplodia sp. และ Pestalotiopsis sp. ที่ผสมลงในอาหาร PD/4Aโดยใช้ความเข้มข้น 50 100 และ 200 mM(มิลลิโมล) การใช้สารโพแทสเซี่ยมคาร์บอเนต โซเดียมคาร์บอเนต และแอมโมเนียมคาร์บอเนต ทั้งสามความเข้มข้น มีผลทำให้เส้นใยของเชื้อราทั้งสองชนิดหยุดการเจริญ(ตาย) และสารโพแทสเซี่ยมคาร์บอเนต และโซเดียมคาร์บอเนต มีผลลดการเจริญของเส้นใยของเชื้อราทั้งสองชนิด โดยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อใช้สารความเข้มข้นสูง
การศึกษาผลของสารสารโพแทสเซี่ยมคาร์บอเนต โซเดียมคาร์บอเนต แอมโมเนียมคาร์บอเนต และแอมโมเนียมไบคาร์บอเนต ความเข้มข้น 50 100 200 400 และ 800 mM ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลลำไยพันธุ์ดอ การจุ่มสารทำให้ผลลำไยเกิดการเปลี่ยนแปลงสีผิวเปลือกด้านนอกเป็นสีน้ำตาลเร็วขึ้น คุณภาพการบริโภคลดลงอยู่ในระดับไม่ยอมรับเมื่อเก็บรักษาที่ 10 0ซ เป็นเวลา 8 วัน ถึงแม้ว่า มีผลต่อคุณภาพทางเคมีไม่เด่นชัด แต่มีผลในการลดปริมาณเชื้อบริเวณผิวเปลือกด้านนอก และชะลอการเกิดโรคบนผลลำไยทั้งที่ปลูกเชื้อและไม่ปลูกเชื้อ Lasiodiplodia sp. และ Pestalotiopsis sp ในระยะเวลาสั้น ๆ ได้ และเมื่อเก็บรักษานานขึ้นมีการเจริญของเชื้อราบนผลลำไยมากขึ้น