ชื่อเรื่องไทย ชีวนิเวศวิทยาของไรอิริโอไฟอิดศัตรูลำไยและความเสียหายจากการเข้าทำลายของไร ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน  
ชื่อเรื่องอังกฤษ Bioecology of Eriophyid Mit and Damage on Longan in Chiang Mai and Lamphun Province  
ผู้แต่ง ประนอม ใจอ้าย
 
สาขาวิจัย วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต  
สถาบัน สาขาวิชากีฏวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
ปีที่พิมพ์ 2541  
ประเภท โรคและแมลง  
บทคัดย่อ

จากการส่งตัวอย่างไรสี่ขาศัตรูสำคัญของลำไยไปวิเคราะห์ชื่อวิทยาศาสตร์ ผลปรากฏว่ามีชื่อ Aceria dimocarpi (Kuang)ซึ่งไม่เคยพบมีรายงานชื่ไรชนิดนี้ในประเทศไทยมาก่อนการศึกษาวงจรชีวิตของไร A. dimocarpi บนต้นกล้าลำไยอายุ 12 วัน ในห้องปฏิบัติการที่มีอุณหภูมิเฉลี่ย 25.05 ?0.24 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมผัส 68.23?0.93 เปอร์เซ็นต์ พบว่าระยะการเจริญเติบโตของไร A. dimocarpi มี4 ระยะ คือ ระยะไข่ ตัวอ่อนระยะที่ 1 ตัวอ่อนระยะที่ 2 และตัวเต็มวัย ระยะไข่เฉลี่ย 2.88 ? 0.02 วัน ตัวอ่อนระยะที่ 1 เฉลี่ย 0.94 ? 0.02 วัน ตัวอ่อนระยะที่ 2 เฉลี่ย 0.76 ? 0.03 วัน โดยมีการพักตัวครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เฉลี่ย 0.69 ? 0.01 วัน และ 0.85 ? 0.04 วัน ตามลำดับ ระยะก่อนการวางไข่ 2.43 ? 0.17 วัน ตัวเมียวางไข่เฉลี่ยวันละ 0.91 ฟอง ตลอดอายุขัยตัวเมีย 1 ตัววางไข่ได้เฉลี่ย 2.71 ? 0.04 ฟอง อัตราการฟักไข่ประมาณ 68 เปอร์เซ็นต์ ตัวเต็มวัยมีอายุนาน 5.14 ? 0.33 วัน อัตราการอยู่รอดจากตัวอ่อนระยะที่ 1 จนกระทั่งเป็นตัวเต็มวัย 34 เปอร์เซ็นต์
การศึกษาจำนวนประชากรของไรสี่ขาในฤดูกาลต่างๆ ตลอดทั้งปีจากสวนลำไยของเกษตรกรจำนวน 4 สวน ในจังหวัดเชียงและลำพูน พบปริมาณไรสูงที่สุดในระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งเป็นระยะที่ดอกลำไยบานและเริ่มติดผล โดยที่จำนวนไรที่นับได้บนใบมีประมาณ 20-257 ตัวต่อใบ ในเดือนพฤษภาคมประชากรไรลดลง 0-14 ตัวต่อใบ ในระยะที่ลำไยแทงช่อใบในเดือนกรกฎาคมพบไรจำนวนประมาณ 14-147 ตัวต่อใบ และปริมาณไรเพิ่มขึ้นอีกครั้งช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ประมาณ 0-40 ตัวต่อใบ ซึ่งเป็นระยะที่ลำไยแทงช่อใบอ่อนอีกครั้งหนึ่ง และเมื่อนำจำนวนไรต่อใบมาหาความสัมพันธ์กับอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ และปริมาณน้ำฝน พบว่าอุณหภูมิไม่มีอิทธิพลต่อจำนวนประชากรของไรทุกสวนที่ทำการทดลอง สำหรับความชื้นสัมพัทธ์และปริมาณน้ำฝนมีอิทธิพลต่อจำนวนประชากรของไรเพียงเล็กน้อยและพบเฉพาะบางสวนเท่านั้น
จากการนำช่อใบและช่อดอกจากต้นลำไยพันธุ์ดอที่แสดวอาการม้วนหงิกจากสวน 4 แห่ง ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนไปตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ พบว่าสาเหตุอาการผิดปกติเกิดจากไรสี่ขา (A. dimocarpi) ซึ่งเข้าทำลายโดยดูดกินเนื้อเยื่อของใบอ่อนทำให้ใบมีขนาดเล็กใบบอดเป็นเกลียวขอบใบม้วนลงด้านล่างบางครั้งม้วนขึ้นด้านบน ใต้ใบและบนใบมีขนละเอียดสีเขียวอ่อน()ปกคลุม บริเวณก้านช่อใบแตกพุ่มเป็นกระจุก ในระยะแทงช่อดอกพบว่าก้านช่อดอกที่ถูกไรชนิดนี้เข้าทำลายมีอาการแตกกระจุกเป็นพุ่มไม้กวาดมีข้อปล้องสั้น
เมื่อทำการวัดความเสียหายบนช่อใบและช่อดอกในพื้นที่ 1 ตารางเมตรของทรงพุ่มทุกทิศ พบว่าช่อใบและช่อดอกถูกไรเข้าทำลายตั้งแต่ 1-27 เปอร์เซ็นต์ใน 4 พื้นที่ ของสวนลำไยที่สำรวจ ความเสียหายกระจายไม่แตกต่างกันทุกทิศ ยกเว้นที่สวนเหมืองง่าเฉพาะในเดือนตุลาคม ความเสียหายบนช่อใบพบมากทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของทรงพุ่ม และเมื่อนำจำนวนไรต่อใบมาหาความสัมพันธ์กับเปอร์เซ็นต์ความเสียหายของช่อใบและช่อดอกที่ถูกทำลายพบว่ไม่มีความสัมพันธ์กัน ในเดือนเมษยนทำการนับช่อดอกลำไยพันธ์ดอที่ถูกไรเข้าทำลายทุกช่อทั่วต้นทุกทิศ จากสวนลำไย 4 สวน พบไรเข้าทำลาย 9-42 ช่อต่อต้น
เมื่อทำการเปรียบเทียบผลผลิต ระหว่างช่อดอกที่ม้วนหงิกสาเหตุจากไรและช่อปกติ พบว่าช่อดอกที่ถูกไรเข้าทำลายไม่ติดผล หรือติดผลน้อย มีจำนวนเฉลี่ย 2-3 ผลต่อช่อขณะที่ช่อดอกปกติให้ผลประมาณ 16-22 ผลต่อช่อ
ไรศัตรูธรรมชาติที่พบจากช่อใบและช่อดอกลำไยใน Berlese funnel ของทั้ง 4 สวน พบไรตัวห้ำ จำนวนน้อยเพียง 2 ชนิด Amblyseius paraaerialis Muma และ Phytoseius hawaiiensis Prasad ซึ่งเป็นไรในวงศ์ Phytoseiidae และพบปริมาณไรตัวห้ำมีมากที่สุดในเดือนมีนาคมเฉลี่ย 805 ตัวจากช่อดอก 31 ช่อ