|
|
|
ชื่อเรื่องไทย |
การศึกษาสำรวจการออกดอกติดผลและคุณภาพผลลำไยตามแหล่งปลูกต่างๆ
ของประเทศไทย |
|
ชื่อเรื่องอังกฤษ |
Survey on Flowering Setting and Fruit Quality of Longan
in Thailand |
|
ผู้แต่ง |
มนตรี ทศานนท์, นาตยา ดำอำไพ, วีระ วรปิติรังสี, บุญแถม
ถาคำฟู, กฤษณะ หาญพิพัฒน์,สุรศักดิ์ เหลืองสุวรรณ
|
|
สาขาวิจัย |
รายงานวิจัย |
|
สถาบัน |
ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
2542 |
|
ประเภท |
เขตกรรม |
|
บทคัดย่อ
|
จากการศึกษาสำรวจโดยการออกแบบสอบถามและออกสำรวจเพื่อหาข้อมูลพื้นที่ปลูกลำไย
พันธุ์ปลูกระยะเวลาออกดอกติดผลและระยะเวลาเก็บเกี่ยวตามจังหวัดต่างๆ
ที่มีการปลูกลำไยและจังหวัดที่คาดว่าจะมีการปลูกลำไยได้ข้อมูลทั้งหมด
50 จังหวัด แต่มี 47 จังหวัดในประเทศไทยที่มีการปลูกลำไยรวมพื้นที่ทั้งหมด
511,434 ไร่ พันธุ์ลำไยปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ดอ การออกดอกติดผลก็อยู่ในระยะที่ใกล้เคียงกันคือประมาณมกราคม-กุมภาพันธ์
และเก็บเกี่ยวช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม และเขตที่จะเหมาะสมสำหรับปลูกลำไย
คงจะแบ่งได้ 3 เขต ตามสภาพภูมิอากาศลำดับแรกคือ ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่
ตาก เลย และหนองคาย เขตที่สองได้แก่ ภาคเหนือตอนล่างและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง
ได้แก่ จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ ขอนแก่น
อุดรธานี หนองบัวลำภู นครพนม สกลนคร และมุกดาหาร ซึ่งไม่เหมาะสมนักแต่ปีใดอากาศเย็นจัดในฤดู
และเขตสุดท้ายคือภาคอื่นๆ ที่มีลักษณะอากาศหนาวเย็นเฉพาะที่หรือปลูกบนที่สูงที่มีอากาศเย็นก็สามารถปลูกลำไยได้ผลเช่นกัน
|