จากการศึกษาอิทธิพลของ Paclobutrazol และ Ethephon ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตทางกิ่งใบ
และการออกดอกของลำไยพันธุ์ดอ ทำการทดลองที่สถานีการวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะและห้องปฏิบัติการ
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วางแผนการทดลองแบบ factorial
(3 x 2) +1 in CRD 5 ซ้ำ ปัจจัยที่ 1 คือ ความเข้มข้นของ Paclobutrazol
3 ระดับคือ 100, 500 , 1,000 สตล. และปัจจัยที่ 2 คือ ความเข้มข้นของEthephon
2 ระดับ คือ 250 และ 500 สตล. โดยการพ่น Paclobutrazol ทางใบ เมื่อวันที่
3 ธันวาคม 2540 และ Ethephon เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2540 ผลการทดลองพบว่า
อิทธิพลของ Paclobutrazol และ Ethephon ที่ระดับควาวมเข้มข้น 100:
2500 (Paclobutrazol : Ethephon) , 100 : 500 , 500 : 500 และ 1,000
: 500 สตล. มีความยาวยอดยาวกว่า control ส่วนน้ำหนักสดของใบ , น้ำหนักแห้งของใบ
, ความยาวใบประกอบ , ควายาวก้านใบประกอบ , ความยาวใบย่อย และ ความกว้างใบย่อย
ไม่มีความแตกต่างกันในทางกรรมวิธีของการทดลอง
นอกจากนี้ยังพบว่า กรรมวิธีที่ไม่ได้พ่นสารมีแนวโน้มให้จำนวนต้นที่ออกดอกมากที่สุด
คือ 80 % และมีจำนวนช่อดอกเฉลี่ยต่อต้น 39 ช่อ และพบว่าผลของ Paclobutrazol
และ Ethephon ในการทดลองนี้ ไม่มี interaction กันในทุกลักษณะที่ทำการศึกษา
|