|
|
|
ชื่อเรื่องไทย |
ผลของสภาพภูมิอากาศต่อผลผลิตของลำไยในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่ |
|
ชื่อเรื่องอังกฤษ |
Effect of Climatic Conditions on Longan Yield in
Lamphun and Chiang Mai Provinces |
|
ผู้แต่ง |
ทิวา ปาตีคำ |
|
สาขาวิจัย |
วิทยาศาสตรบัณฑิต |
|
สถาบัน |
สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ ์ ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
|
ปีที่พิมพ์ |
2543 |
|
ประเภท |
เขตกรรม |
|
บทคัดย่อ
|
จากการศึกษาสภาพภูมิอากาศที่มีผลต่อผลิตลำไย ในจังหวัดลำพูนและเชียงใหม่
ช่วงระยะเวลาปีการเพาะปลูก 2535-2541 พบว่า สภาพภูมิอากาศมีความสัมพันธ์ต่อผลผลิตลำไยสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมสำหรับการติดดอกออกผลของลำไยนั้น
คือ อุณหภูมิต่ำระหว่าง 4-30 องศาเซลเซียสก่อนการออกดอกในตุลาคมและต่ำสุดที่
10-15 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม เป็นเวลานาน 10-15 วัน เพื่อให้เกิดตาดอก
ปริมาณน้ำฝนอยู่ระหว่าง 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี การกระจายของน้ำฝน
100-150 วันขึ้นไป และความชื้นสัมพัทธ์ควรเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่ลำไยเริ่มติดผล
พบว่า ในปี 2540 ผลผลิตในจังหวัดเชียงใหม่มีปริมาณสูงที่สุด คือ 91,942
ตัน เนื่องจากมีอุณหภูมิในเดือนตุลาคม ปี 2539 เท่ากับ 25.5 องศาเซลเซียส
และลดต่ำลงไปเรื่อย ๆ จนต่ำสุดในเดือนมกราคม ปี 2540 คือ 19.8 องศาเซลเซียส
แล้วจึงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีปริมาณน้ำฝน 1313.4 มิลลิเมตร การกระจาย
127 วัน ความชื้นสัมพัทธ์จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เดือนมีนาคม ส่วนจังหวัดลำพูนมีปริมาณผลผลิตสูงที่สุด
ในปี 2539 คือ 75,088 ตัน มีอุณหภูมิในเดือนตุลาคม ปี 2538 คือ 20.4
องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคม ปี 2539 คือ 20.4 องศาเซลเซียส
ปริมาณน้ำฝน 1234.9 มิลลิเมตร การกระจาย 114 วัน และในปี 2541 เป็นปีที่ให้ผลผลิตต่ำที่สุด
ของจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน เนื่องจากเกิดปรากฏการณ์ เอลนิโญ ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไม่เป็นไปตามฤดูกาล
กล่าวคือ อุณหภูมิสูง รวมทั้งมีปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอ ซึ่งไม่เหมาะสมกับการเกิดดอก
|
|