ชื่อเรื่องไทย การวิเคราะห์ปริมาณน้ำตาลและคลอไรด์ในผลลำไยที่เร่งด้วยโพแทสเซียมคลอเรต  
ชื่อเรื่องอังกฤษ Determination of Sugar and Chloride from Longan Doped with Potassium Chlorate  
ผู้แต่ง สกุลตลา อาจวิชัย
 
สาขาวิจัย วิทยาศาสตรบัณฑิต  
สถาบัน สาขาวิชาการสอนเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
ปีที่พิมพ์ 2543  
ประเภท เขตกรรม  
บทคัดย่อ

ปัจจุบันเกษตรกรใช้โพแทสเซียมคลอเรตในการเร่งผลผลิตลำไยซึ่งให้ผลดี แต่ยังไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับผลการตกค้างในเนื้อลำไยและในดิน ในการทดลองนี้ใช้วิธีการทางสเปกโทรโฟโตเมตรี(ความไว 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร) วิเคราะห์หาคลอเรตในเนื้อลำไย โดยทำปฏิกิริยากับน้ำแป้งที่มีโพแทสเซียมไอโอไดด์มากเกินพอ และกรดซัลฟูริก วัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 560 นาโนเมตร พบคลอเรต 1.99 X 10 -5 กรัมต่อกรัมของเนื้อลำไยสด การวิเคราะห์หาคลอไรด์ในเนื้อลำไยโดยทำปฏิกิริยาเฟอรริกแอมโมเนียซัลเฟตในกรดไนตริก และเมอร์คิวริกไธโอไซยาเนตอิ่มตัววัดค่าการดูดกลืนแสงที่ 460 นาโนเมตร พบคลอไรด์ 4.84 X 10 -4 กรัมต่อกรัมของเนื้อลำไย เมื่อเติมโพแทสเซียมคลอเรตลงในน้ำลำไย วิเคราะห์หาปริมาณคลอเรตได้ต่ำกว่าความจริงมากและเมื่อเติมโพแทสเซียมคลอเรตลงในน้ำลำไยแล้ววิเคราะห์หาคลอไรด์ พบว่ามีคลอไรด์เพิ่มขึ้นแสดงว่าคลอเรตสามารถทำปฏิกิริยากับน้ำลำไยได้คลอไรด์ไอออน เมื่อเติมโพแทสเซียมคลอเรตลงในดินใต้ต้นลำไย แล้วนำดินมาวิเคราะห์พบว่าคลอเรตมีแนวโน้มลดลงแต่น้อยมากในช่วง 2 เดือน แต่เมื่อนำดินมาใส่กระถางกันน้ำรั่วออกพบว่าคลอเรตมีแนวโน้มลดลงมากในช่วง 1 เดือน โพแทสเซียมคลอเรตที่ซื้อมาจากร้านค้าพบว่ามี คลอเรต 98.53 % เมื่อวิเคราะห์หาน้ำตาลรีดิวซิ่งในน้ำลำไยกับสารละลายเบเนดิกต์ พบว่ามีน้ำตาลรีดิวซิ่ง 16.62 มิลลิกรัมต่อกรัมของเนื้อลำไย