ชื่อเรื่องไทย การศึกษาพัฒนาการของตาดอกจากการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรทในการกระตุ้นการออกดอกนอกฤดูของลำไย  
ชื่อเรื่องอังกฤษ Studies on floral ontogeny by potassium chlorate on the off-season Stimulation of Longan  
ผู้แต่ง พรรัตน์ ศิริคำ
 
สาขาวิจัย รายงานวิจัย  
สถาบัน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
ปีที่พิมพ์ 2543  
ประเภท เขตกรรม  
บทคัดย่อ

การศึกษาพัฒนาการของปลายยอดลำไยที่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างภายในภายหลังจากการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรท จำนวน 300 กรัม ด้วยวิธีการราดบริเวณโคนต้นลำไย พบว่า ปลายยอดเริ่มมีการพัฒนาเป็นตาดอกในระยะเวลา 10 วัน ภายหลังจากการการราดสารโพแทสเซียมคลอเรทและการพัฒนาของตาดอก ตั้งแต่เริ่มมีกาสร้างตาดอกไปจนกระทั่งออกดอกใช้เวลา 10-15 วัน สำหรับต้นลำไยที่ปล่อยให้ดอกตามธรรมชาติปลายยอดจะเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเป็นตาดอกในช่วงกลางเดือนธันวาคม (16 ธ.ค.) และมีการพัฒนาของตาดอกไปจนกระทั่งออกดอกใช้เวลา 24-26 วัน จะเห็นได้ว่า การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรทกับลำไยจะทำให้การพัฒนาของตาดอกเกิดขึ้นได้เร็วกว่าการพัฒนาที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ