การศึกษาผลของความเข้มข้นและอุณหภูมิของสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ที่ใช้แช่ผลลำไยพันธุ์ดอเพื่อควบคุมการเน่าเสียภายหลังการเก็บเกี่ยว
โดยนำผลลำไยมาแช่ในสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ความเข้มข้น 0, 5.0
, 7.5 และ 10.0 % (น้ำหนักต่อปริมาตร) ที่อุณหภูมิ 25 , 35 และ 45
องศาเซลเซียส ( ๐C) เป็นเวลา 5 นาที แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ
5 ๐C และอุณหภูมิห้อง (27 ? 2 ๐C) ผลการทดลอง พบว่า การแช่ผลลำไยในสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ความเข้มข้น
7.5 % ที่อุณหภูมิ 25 ๐C เป็นเวลา 5 นาที แล้วนำไปเก็บรักษาไว้ที่
อุณหภูมิ 5 ๐C สามารถชะลอการเน่าเสียได้ไม่เกิน 21 วัน โดยไม่มีสารซัลไฟต์ตกค้างในเนื้อลำไย
และนานกว่าชุดควบคุม 7 วัน ในระหว่างการเก็บรักษาผลลำไยที่อุณหภูมิ
5 ๐C เป็นเวลา 14 วัน ได้ประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า คุณภาพโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้
ส่วนผลลำไยทุกชุดการทดลองที่เก็บรักษาไว่ที่อุณหภูมิห้องให้ผลไม่แตกต่างกัน
การแช่ผลลำไยในสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ความเข้มข้น 10.0 % ที่ทุกอุณหภูมิภายหลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ
5 ๐C และอุณหภูมิห้องนาน 7 วัน และ 3 วัน ตามลำดับ พบว่า มีสารซัลไฟต์ตกค้างอยู่ในเนื้อลำไย
และเนื้อลำไยเปลี่ยนเป็นสีชมพู การแช่ผลลำไยในสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ความเข้มข้น
0.5 % ที่ทุกอุณหภูมิภายหลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 ๐C และอุณหภูมิห้องนาน
7 วัน และ 3 วัน ตามลำดับ มีผลทำให้เปลือกด้านในเกิดอาการผิดปกติเป็นวงสีน้ำตาล
มีกลิ่นและรสชาติผิดปกติเล็กน้อย
เมื่อใช้สาร allyl isothiocyanate ซึ่เป็นสารออกฤทธิ์ในน้ำมันหอมระเหยจากมัสตาร์ด
ที่ระดับความเข้มข้น 500 , 1000 และ 1500 ส่วนในล้านส่วน ร่วมกับสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ความเข้มข้น
7.5 % แช่ผลลำไยที่อุณหภูมิ 25 ๐C เป็นเวลา 5 นาที พบว่าสาร allyl
isothiocyanate ทุกระดับความเข้มข้น ไม่สามารถชะลอการเน่าเสีย และไม่มีผลช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ในการยับยั้งการเกิดโรคในผลลำไยที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ
5 ๐C และอุณหภูมิห้อง แต่มีผลทำให้ปริมาณสารซัลไฟต์ที่ตกค้างในเปลือกของผลลำไยลดลงเร็วกว่าการใช้สารละลายโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์เพียงอย่างเดียว
|