การทดลองอบลำไยแบบแกะเปลือกนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความเร็วลมและช่วงเวลาการสลับลมที่เหมาะสมต่อการอบ
โดยใช้เครื่องแห้งแบบสลับทิศทางลมร้อนซึ่งมีถาดบรรจุจำนวน 8 ถาด
(24 กิโลกรัม) วางแผนการทดลองแบบ spit plot design ทำการทดลอง 3
ซ้ำ ใช้ความเร็วลม 0.45 และ 0.88 m/s เป็น main plot และใช้การสลับลมที่
0 , 3 และ 6 ชั่วโมงเป็น sub plot อุณหภูมิที่ใช้ในการอบ คือ 70
๐ C ผลการทดลองพบว่าความเร็วลมมีผลกระทบต่อการลดความชื้นและเวลาที่ใช้อบ
แต่การไม่สลับลมหรือการสลับลมขาออกให้ไหลออกทางด้านบนกับด้านล่างทุก
ๆ 3 และ 6 ชั่วโมง ไม่มีผลต่อการลดความชื้นและระยะเวลาการอบเนื่องจากเครื่องอบแบบถาดนี้ลมร้อนเข้าสู่ห้องอบได้
3 ทิศทางทั้งทางด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวา ทำให้ลำไยสามารถได้รับความร้อนพร้อม
ๆ กัน ดังนั้นการอบลำไยแบบแกะเปลือกด้วยเครื่องอบแห้งแบบสลับทิศทางลมที่เหมาะสมที่สุดคือ
การใช้ความเร็วลม 0.88 m/s โดยที่ไม่ต้องสลับลม ซึ่งวิธีนี้ใช้เวลาในการอบ
14 ชั่วโมง ในการอบลำไยแบบแกะเปลือกจากความชื้นเริ่มต้น 82.84 %
(w.b) จนเหลือความชื้นสุดท้าย 12.04 % (w.b)
เมื่อเปรียบเทียบการอบลำไยจากเครื่องอบแห้งแบบถาดของเกษตรกรกับเครื่องแบบสลับทิศทางลมร้อน
พบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการอบเท่ากันคือ 14 ชั่วโมง แต่วิธีการอบจะแตกต่างกันในเรื่องอุณหภูมิที่ใช้อบคือ
เกษตรกรจะใช้การอบแบบลดอุณหภูมิคือใช้อุณหภูมิ 70 ๐ C ใน 6 ชั่วโมงแรกและหลังจากนั้นใช้อุณหภูมิ
60 ๐ C ไปจนเสร็จความชื้นที่ได้คือ 11.85 % (w.b) คุณภาพของลำไยที่ได้จากเครื่องมีสีเหลืองทอง
ส่วนลำไยที่ได้จากเครื่องแบบสลับทิศทางลมร้อนมีสีน้ำตาลทอง ทั้งนี้เชื่อว่าความแตกต่างของอุณหภูมิที่ใช้อบเป็นผลให้สีของลำไยหลังอบต่างกัน
อย่างไรก็ตามจากการประเมินคุณภาพลำไยอบแห้งแบบแกะเปลือกซึ่งอบโดยใช้เครื่องอบแบบสลับทิศทางลมร้อน
พบว่าคุณภาพเป็นที่ยอมรับของผู้ประเมินทั้งในด้านสีความแห้งและเนื้อสัมผัส
|