|
|
|
ชื่อเรื่องไทย |
การผลิตและคัดเลือกต้นตอลำไย |
|
ชื่อเรื่องอังกฤษ |
Longan Rootstocks Production and Selection |
|
ผู้แต่ง |
ตระกูล ตันสุวรรณ, ธนะชัย พันธุ์เกษมสุข, โชคชัย ไชยมงคล,
เกียรติ เชี่ยวศิลป์ |
|
สาขาวิจัย |
รายงานวิจัย |
|
สถาบัน |
สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
|
ปีที่พิมพ์ |
2544 |
|
ประเภท |
พันธุ์ |
|
บทคัดย่อ
|
ในปีงบประมาณ 2543-2544 ได้ดำเนินงานทดลองที่ 1 โดยการรวบรวมลำไยเถาว์จากจังหวัดชลบุรี
และทำการเพาะเมล็ดไปแล้วที่ภาควิชาพืชสวน ขณะนี้ต้นลำไยจากการเพาะเมล็ดงอกแล้วประมาณ
50 เปอร์เซ็นต์หรือประมาณ 150 ต้น ส่วนที่เหลือกำลังทยอยงอกตามมาเรื่อยๆ
สำหรับกิ่งปักชำและกิ่งตอนยังไม่ออกราก คาดเดือนประมาณเดือนกรกฎาคมคงจะเริ่มออกราก
หลังจากนั้นจะดูแลต้นตอจากการขยายพันธุ์โดยวิธีต่างๆ จนมีความเจริญเติบโตพอเหมาะจึงจะทำการทาบและเสียบยอดต่อไป
สำหรับการทดลองที่ 2 เป็นการผลิตต้นตอตรงสายพันธุ์ โดยคัดเลือกต้นแม่พันธุ์อีดอ
ในแปลงวิจัยลำไยของสถานีวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ขณะนี้ลำไยต้นที่คัดเลือกและป้องกันแมลงผสมข้ามระหว่างต้นโดยใช้กรงตาข่ายได้ออกดอกและติดผลแล้ว
ในการผสมเกสรภายในต้นเดียวกันโดยอาศัยลมนั้น เปอร์เซ็นต์การติดผลจะต่ำกว่าต้นที่ไม่ได้ใช้กรงตาข่ายถึง
50 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากระยะปลูกและทรงพุ่มของต้นค่อนข้างจะชิดติดกัน
และแมลงไม่สามารถเล็ดลอดเข้าไปช่วยผสมได้ แต่อย่างไรก็ตามปริมาณผลที่จะได้ก็เพียงพอต่อการนำไปเพาะเพื่อเตรียมต้นตอ
ซึ่งผลแก่จะสามารถเก็บเกี่ยวได้กลางเดือนกรกฎาคม 2544 นี้ และขณะนี้ก็ดูแลรักษาโดยฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดศัตรูพืชซึ่งได้พบว่ามีปัญหามาก
ได้แก่ มวนลำไย และทำการใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น
เดือนละครั้ง หลังจากเก็บเกี่ยวจะนำเมล็ดไปเพาะในถุงพลาสติกเพื่อเตรียมเป็นต้นตอและทาบกิ่ง
เสียบยอด โดยใช้ยอดพันธุ์อีดอเช่นเดียวกัน
ในการทดลองปีที่ 2 จะทำการรวบรวมพันธุ์ต้นตอต่างๆ คัดเลือกพันธุ์ต้นตอคัดเลือกกิ่งพันธุ์ดี
และผลิตสายพันธุ์แท้ของต้นตออีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ได้ปริมาณมากขึ้นเพื่อเพื่อใช้ในการศึกษาความเข้ากันได้ของต้นตอและกิ่งพันธุ์ดี
|