|
|
|
ชื่อเรื่องไทย |
การดำเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลำไยอบแห้งในจังหวัดเชียงใหม่ |
|
ชื่อเรื่องอังกฤษ |
The Operation of Entrepreneurs on Dried Longan Industry
in Chiang Mai Province |
|
ผู้แต่ง |
พงศกร ทวีสุข |
|
สาขาวิจัย |
เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
|
สถาบัน |
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
|
ปีที่พิมพ์ |
2544 |
|
ประเภท |
การตลาด |
|
บทคัดย่อ
|
การค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงาน
และปัญหาการดำเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลำไยอบแห้ง ในจังหวัดเชียงใหม่
ที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนรายชื่อ ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดเชียงใหม่
ปี พ.ศ. 2542 จำนวน 27 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มประชากร
27 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่
ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
การประกอบการอุตสาหกรรมลำไยอบแห้ง ส่วนใหญ่เปิดดำเนินการมาแล้วประมาณ
1-3 ปี มีลักษณะการประกอบการแบบเจ้าของคนเดียว ส่วนใหญ่เป็นโรงงานที่มีพื้นที่ประมาณ
500 - 1,000 ตารางเมตร ในช่วงนอกฤดูกาลผลิต และในช่วงฤดูกาลผลิต มีจำนวนพนักงานประจำสำนักงานไม่เกิน
5 คน และลูกจ้างในโรงงานไม่เกิน 25 คน
การดำเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลำไยอบแห้ง มี 4 ด้าน ได้แก่ด้านการจัดการ
การผลิต การเงินและการบัญชี และการตลาด
ด้านการจัดการ ผู้ปรกอบการส่วนใหญ่มีการวางแผนการดำเนินธุรกิจ เป็นแผนระยะสั้น(1-3
ปี) โดยการกำหนดนโยบาย เป้าหมายของกิจการในอนาคต รวมทั้งมีการกำหนดการใช้วัตถุดิบ(ลำไย)
และอุปกรณ์เครื่องจักร ปัจจัยภายในที่ใช้กำหนดแผนงาน ได้แก่ เงินทุน
และกำลังการผลิต ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปริมาณวัตถุดิบตามฤดูกาล และความต้องการของตลาด
โดยมีการทบทวนปรับปรุงแผนงานเป็นระยะ ๆ ทุกสัปดาห์
ด้ารการผลิต พบว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีอัตราการผลิตสูงสุดต่อปีน้อยกว่า
250,000 กิโลกรัม และส่วนมากผลิตลำไยอบแห้งแบบอบทั้งเปลือกโดยใช้วัตถุดิบลำไยสดที่รับซื้อมาจากแหล่งปลูกทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน
ส่วนมากรับซื้อในขนาด AA และขนาด A และกว่าครึ่งหนึ่งรับซื้อลำไยอบแห้งเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตด้วย
โดยซื้อในขนาด AA และขนาด A ในระหว่างการผลิตส่วนใหญ่มีการสุ่มตรวจคุณภาพสิ้นค้าลำไยอบแห้งเป็นประจำตลอดระยะเวลาการผลิต
ด้านการเงินและการบัญชี พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังใช้สมุดบันทึกข้อมูลด้านบัญชีและการเงิน
ผู้จัดทำบัญชีคือ เจ้าของกิจการหรือพนักงานบัญชีและการเงิน เงินทุนและแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่เป็นของเจ้าของกิจการ
ส่นการชำระค่าวัตถุดิบพบว่า ส่วนใหญ่ชำระด้วยเงินสด หรือเช็ค กิจการไม่มีหนี้สูญทางการค้ามีปริมาณเงินสดหมุนเวียนเป็นวัตถุดิบวันละ
100,000 - 300,000 บาท นอกจากนี้พบว่าส่วนใหญ่มีภาระหนี้สิน เป็นหนี้เงินกู้ระยะสั้น
และหนี้เบิกเกินบัญชี
ด้านการตลาด พบว่า ผู้ประกอบการทุกราย มีการคัดเลือกเกรดผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งที่จำหน่าย
เป็นเกรด AA , A , B และ C มีการจำหน่ายลำไยอบแห้งทั้งแบบอบทั้งเปลือก
และแบบแกะเปลือก ในการตั้งราคาส่วนใหญ่ ตั้งราคาตามผู้นำตลาด ใช้วิธีการจำหน่ายสินค้าโดยใช้ช่องทางจากผู้ผลิตไปยังผู้ค้าส่ง
ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค ส่วนใหญ่มีการประชาสัมพันธ์ให้ข่าวเกี่ยวกับสิ้นค้า
เพื่อเป็นการส่งเสริมการตลาด มีตลาดรับซื้อต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่
ส่วนที่จำหน่ายในประเทศพบว่า มีพ่อค้าส่งและพ่อค้าปลีกมารับซื้อไปจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง
ปัญหาการดำเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลำไยอบแห้ง โดยรวมพบว่ามีปัญหาในระดับน้อย
ทั้งด้านการจัดการ การผลิต และการตลาด ส่วนปัญหาด้านการเงินและการบัญชีมีปัญหาในระดับที่น้อยที่สุด
แต่ในรายละเอียดพบว่า ปัญหาด้านการจัดการมีปัญหาระดับมาก ในเรื่องการวางแผน
เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจไม่แน่นอนทำให้คาดการณ์ล่วงหน้าได้ลำบาก และปัญหาการจัดบุคลากรเข้าทำงาน
ในเรื่องพนักงาน/ลูกจ้าง ไม่มีประสบการณ์หรือความชำนาญทำให้เสียเวลาในการฝึกหัด
และปัญหาด้านการตลาดมีปัญหาระดับมากในเรื่องคู่แข่งมีจำนวนมาก
|
|