วงจรชีวิตของเพลี้ยหอยลำไย Drepanococcus chiton (Green)
มีระยะการเจริญเติบโตจากไข่เป็นตัวอ่อน 3 ระยะ แล้วเจริญเป็นตัวเต็มวัย
เพศเมียใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 54 วัน ส่วนเพศผู้เฉลี่ย 36 วัน ตัวเต็มวัยเพลี้ยหอยเพศเมีย
ด้านหลังมีลักษณะโค้งนูนสีชมพูอมส้มคล้ายกระดองเต่า ขนาดลำตัวยาวประมาณ
5 มิลลิเมตร สามารถผลิตไข่ได้ประมาณ 800-2,000 ฟอง ซึ่งจะฟักออกมาจากลำตัวของเพลี้ยหอยเพศเมีย
ตัวเต็มวัยเพลี้ยหอยเพศผู้มีลำตัวสีชมพูเข้ม มีปีกบางใส 1 คู่ ขนาดลำตัวยาว
1-2 มิลลิเมตร ระยะนี้จะไม่กินอาหาร เพลี้ยหอยชนิดนี้มีการเจริญเติบโตประมาณ
8 รุ่นใน 1 ปี และในช่วงเวลาเดียวกันจะพบเพลี้ยหอยหลายระยะปะปนกัน
ผลการทดสอบสารเคมีฆ่าแมลงแต่ละชนิดกับเพลี้ยหอยระยะตัวอ่อนวัยที่
1 ในห้องปฏิบัติการพบว่า น้ำมันปิโตรเลียม 83.9% EC (200 มิลลิลิตรต่อน้ำ
20 ลิตร) ให้ประสิทธิภาพดีที่สุด โดยมีอัตราการตายที่ 6 ชั่วโมงหลังพ่นเท่ากับ
100% ส่วนการทดลองในสภาพสวนพบว่า คาร์บาริล 35% SC (50 มิลลิลิตรต่อน้ำ
20 ลิตร)ไดเมทโธเอท 40% EC (30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) ให้มีประสิทธิภาพดีที่สุด
โดยมีอัตราการอยู่รอดต่ำสุดที่ 18.44%, 21.03% และ 22.23% ตามลำดับ
ในระยะตัวอ่อนวัยที่ 2 และ3 เมื่อนำมาทดสอบกับสารเคมีฆ่าแมลง 7 ชนิด
พบว่า น้ำมันไวท์ออยล์ 67% EC (40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) , คาร์โบซัลแฟน
20% EC (30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) และ คาร์บาริล 35% SC (50 มิลลิลิตรต่อน้ำ
20 ลิตร) ให้ประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยหอยไม่แตกต่างกันโดยมีอัตราการตายหลังพ่น
48 ชั่วโมง เท่ากับ 100% ส่วนในระยะตัวเต็มวัยพบว่า น้ำมันปิโตรเลียม
83.9% EC (200 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) ไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด
เนื่องจากเพลี้ยหอยระยะนี้มีไขหนาปกคลุมลำตัว อย่างไรก็ตาม คาร์บาริล
35% SC (50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) และคาร์โบซัลแฟน 20 % EC (30
มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร) ก็ทำให้เพลี้ยหอยตัวเต็มวัยตายที่หลังพ่น
5 วันเท่ากับ 31.08% และ 38.41 % ตามลำดับ
|