ชื่อเรื่องไทย การรวบรวมผลของการใช้สารประกอบคลอเรตกับลำไย  
ชื่อเรื่องอังกฤษ Review on Effects of Chlorate Copound on Growth and Yield of Longan (Euphoria longana Lamk.)  
ผู้แต่ง พิริยาพันธ์ ศรีปินตา
 
สาขาวิจัย เกษตรศาสตร์(ปัญหาพิเศษ)  
สถาบัน ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
ปีที่พิมพ์ 2545  
ประเภท เขตกรรม  
บทคัดย่อ

จากการศึกษาค้นคว้า พบว่า สารประกอบคลอเรต ได้แก่ โพแทสเซียมคลอเรต(KClO3) โซเดียมคลอเรต (NaClO3) รวมทั้ง โซเดียมไฮโปคลอไรด์ (NaClO) และแคลเซียมไฮโปคลอไรด์(Ca(ClO)2) สามารถกระตุ้นการออกดอกของลำไยได้ไม่จำกัดฤดู แต่การใช้ที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดผลกระทบ หรือผลตกค้างต่อต้นลำไย และสิ่งแวดล้อม ให้น้อยที่สุดนั้น ควรคำนึงถึง ปริมาณสารที่ใช้ วิธีการให้สาร ความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพความพร้อมของต้นพันธุ์ลำไย อายุของต้นลำไย ฤดูกาลหรือช่วงเดือนที่ให้สาร ปริมาณและความเข้มแสง และสภาพภูมิอากาศ หากมีการผสมสารโพแทสเซียมคลอเรต ร่วมกับ ธาตุอาหารเสริม , สารถ่วงชนิดต่างๆ ในสัดส่วนที่เหมาะสม ก็สามารถชักนำให้ลำไยออกดอกได้เช่นกัน และยังสามารถลดอันตรายที่อาจเกิดจากการระเบิดได้ อย่างไรก็ตาม งานการศึกษาวิจัยของสารนี้ยังมีไม่มากนัก ผลกระทบที่เกิดตามมาในระยะยาว ยังไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่ก็ได้มีการศึกษาถึงผลกระทบที่อาจมีต่อดิน สิ่งมีชีวิตในดิน แหล่งน้ำ ผลลำไย ต้นลำไย รวมทั้งต่อมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารนี้ซึ่งมีรายงานออกมาเป็นระยะๆ และยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ