ในการศึกษาการปรับปรุงสีเปลือกของลำไยอบแห้ง แบ่งการทดลองออกเป็น
2 การทดลอง คือ การทดลองที่ 1 ใช้ลำไยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า
1.25 นิ้ว และการทดลองที่ 2 สูงกว่า 1.25 นิ้ว ในแต่ละการทดลองมี
4 กรรมวิธี ได้แก่ กรรมวิธีที่ 1 control (ไม่กระทำการใดๆ) กรรมวิธีที่
2 แช่ SO2 เข้มข้น 5% by volume นาน 15 นาที กรรมวิธีที่ 3 แช่ใน
SO2 เข้มข้น 5% by volume นาน 15 นาที แล้วนำไปแช่ในน้ำร้อน 93?2
องศาเซลเซียส อีกนาน 3 วินาที จากนั้นไปแช่ต่อในน้ำเย็นอุณหภูมิ
3?3 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที กรรมวิธีที่ 4 ทำเช่นเดียวกับกรรมวิธีที่
3 แต่ในน้ำเย็นมีสารละลายวิตามินซี เข้มข้น 2.5 กรัม/ลิตร อยู่ จากนั้นนำทุกกรรมวิธีเข้าตู้อบที่
อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส นาน 48 ชั่วโมง พบว่า ผลลำไยในทุกกรรมวิธีที่ผ่านการแช่ในสารละลาย
SO2 สีเปลือกของลำไยเปลี่ยนจากสีน้ำตาลอ่อนเป็นสีเหลืองอมเขียว เมื่อทำการอบแห้งแล้ว
พบว่า ลำไยทั้ง 2 ขนาดให้ผลการทดลองเหมือนกัน คือ กรรมวิธีที่ 1
และ 2 มีสีของเปลือกลำไยเป็นสีน้ำตาลเข้ม และเนื้อลำไยมีสีน้ำตาลเข้มและกลิ่นไหม้
ส่วนกรรมวิธีที่ 3 และ 4 มีสีเปลือกของลำไยเป็นสีเหลืองอมเขียว และเนื้อลำไยมีสีน้ำตาลเข้มและกลิ่นไหม้เช่นเดียวกับกรรมวิธีที่
1 และ 2 แต่ในกรรมวิธีที่ 4 มีแนวโน้มที่ให้สีเปลือกที่ดีกว่าเพราะเปลือกมีสีเหลืองอมเขียวมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีอื่นๆ
|