ชื่อเรื่องไทย การยับยั้งการเจริญเติบของราก่อโรคต่อผลลำไยโดยจุลินทรีย์ที่ผลิตไคติเนสและทนอุณหภูมิสูง  
ชื่อเรื่องอังกฤษ Growth Inhibition of Longan Fruit's Pathogenic Molds by Thermotolerant Chitinase Producing Microorganisms  
ผู้แต่ง ศิริลาภา สมานมิตร
 
สาขาวิจัย วิทยาศาสตร์(วิทยานิพนธ์)  
สถาบัน ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  
ปีที่พิมพ์ 2544  
ประเภท โรคและแมลง  
บทคัดย่อ

เชื้อรา 3 ชนิด คือ Fusarium sp. , Cladosporium sp. และ Lasiodiplodia sp. เป็นเชื้อราหลักๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหากับผลผลิตลำไย ทางภาคเหนือของไทย จากจุลินทรีย์จำนวน 242 ไอโซเลท ที่ผลิตไคติเนสซึ่งแยกจากตัวอย่างดิน ตัวอย่างอาหารและจากหน่วยเก็บเชื้อจุลินทรีย์ Microbiology Section, Chiang Mai University พบว่า มี 40 ไอโซเลท เป็นเชื้อราและแบคทีเรียทนอุณหภูมิสูง เมื่อนำมาทดสอบการเป็นเชื้อปฏิปักษ์ โดยวิธี dual culture method กับเชื้อราทั้ง 3 ชนิด พบว่าเชื้อรา 11 ไอโซเลท และแบคทีเรีย 5 ไอโซเลท เป็นเชื้อปฏิปักษ์กับ Cladosporium sp. เชื้อรา 4 ไอโซเลท และแบคทีเรีย 2 ไอโซเลท เป็นเชื้อปฏิปักษ์กับ Fusarium sp. และ 11 ไอโซเลทของเชื้อราและ 7 ไอโซเลทของแบคทีเรียเป็นปฏิปักษ์กับ Lasiodiplodia sp. เลือกเชื้อราไอโซเลท CT12 และแบคทีเรียไอโซเลท H11 ซึ่งแสดงการเป็นเชื้อปฏิปักษ์ต่อราก่อโรคทั้ง 3 ชนิด จากนั้นนำมาทดสอบด้วยวิธี cylinder plate method โดยเลี้ยงใน enzyme production medium ซึ่งมี colloidal chitin เป็นแหล่งคาร์บอน นำไปเขย่าที่อุณหภูมิห้อง(28?2 ๐C) เป็นเวลา 7 วัน และนำไปทดสอบการยับยั้งกับราก่อโรค โดยให้วงใสขนาด 12.0 มิลลิเมตร แบคทีเรียไอโซเลท H11 สามารถยับยั้ง Cladosporium sp. และ Fusarium sp. โดยวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของวงใสที่เกิดขึ้นได้ 19.3 และ 15.7 มิลลิเมตร ตามลำดับ เมื่อนำลำไยไปจุ่มในน้ำกรองเลี้ยงเชื้อแล้วนับจำนวนจุลินทรีย์โดยวิธี spread plate พบว่า น้ำกรองเลี้ยงเชื้อสามารถลดจำนวนของจุลินทรีย์ลงได้เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมคือ น้ำกลั่น โดย chitinase activity ของไอโซเลท CT12 เท่ากับ 138, 133 และ 135 mU/ml ค่า specific activity เท่ากับ 345, 443 และ 401 mU/mg protein และ chitinase activity ของไอโซเลท H11 เท่ากับ 50 , 51 และ 48 mU/ml ค่า specific activity เท่ากับ 187, 235 และ 167 mU/mg protein จากการทดลองในลำไยแต่ละครั้ง ทำการตกตะกอนโปรตีนด้วยแอมโมเนียซัลเฟต แล้วนำทั้งส่วนของ supernatant และตะกอนไปทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งราก่อโรค พบว่า น้ำกรองเชื้อราไอโซเลท CT12 ที่ความเข้มข้นของแอมโมเนียซัลเฟต 70% และน้ำกรองของแบคทีเรียไอโซเลท H11 ที่ความเข้มข้นของแอมโมเนียซัลเฟต 80% เมื่อให้ความร้อนที่ 100 ๐C เป็นเวลาต่างๆ กัน จะไม่ให้ผลกรยับยั้งต่อราก่อโรคเลย จากการตรวจสอบลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเชื้อราไอโซเลท CT12 พบว่า เป็น Aspergillus fumigatus และแบคทีเรียไอโซเลท H11 เป็น Bacillus cereus