Home

มุมปืนลม
มุมปืนลม 2
มุมปืนลม 3
มุมปืนลม 4
Diana M52
Beeman R9
เป้าปืนลม
Diana M52

ประเทศที่ผลิตปืนลมชนิดเป็นล่ำเป็นสันนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประเทศ อเมริกานั้นถึงแม้จะผลิตปืนลม
ออกมามากแต่ก็มักจะเป็นปืนระดับยิงกระป๋องซะเป็นส่วนมาก จีนเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ผลิตปืนลมส่ง
ออกมากแต่ก็เป็นปืนที่เน้นราคาถูกมากกว่าจะเน้นคุณภาพ ในบรรดาผู้ผลิตปืนลมทั้งหมด อังกฤษและ
เยอรมัน ดูเหมือนจะเป็นสองประเทศที่ผลิตปืนลมชั้นดีออกมาแข่งกันอย่างไม่ขาดสาย

สาเหตุที่สองประเทศนี้ชำนาญในการผลิตปืนลม ส่วนหนึ่งก็เพราะว่ากฎหมายของทั้งสองประเทศนี้
ค่อนข้างจะจำกัดสิทธิที่จะเป็นเจ้าของปืนที่ใช้ดินขับ (Fire arm) แต่กลับเปิดกว้างสำหรับปืนลมโดย
ถือว่าเป็นอาวุธทุกคนสามารถซื้อได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

เยอรมันนั้นมีบริษัทผู้ผลิตปืนลมชั้นนำอยู่หลายบริษัทแต่ยี่ห้อที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดในบ้านเรายี่ห้อ
หนึ่งก็คงเป็น Diana

Diana นั้น ผลิตปืนลมหลายระดับตั้งแต่ปืนยิงเล่นไปจนถึงปืนแข่งขันระดับสากล แต่ความถนัดของ
 Diana นั้นอยู่ที่เป็นปืนลมสปริงระดับใช้งานทั้งปืนสั้นและปืนยาว

Model 52 นี้นับว่าเป็นรุ่นสุดยอดของปืนลมใช้งานจากสายการผลิตของ Diana ในปัจจุบัน ที่เล่ามายืด
ยาวนี้ก็เพื่อจะให้ท่านผู้อ่านทราบว่าในฉบับนี้เราจะทำการทดสอบปืนลมสปริงระดับสุดยอดของผู้ผลิต
ชั้นนำของประเทศที่เป็นเจ้าปืนลมกันไม่ใช่ยอ่ยเลยทีเดียวใช่มั๊ยครับปืนกระบอกนี้

นักเลงปืนลมทั้งหลายมักจะใช้คำว่า แม็กนั่ม กับปืนลมที่มีระดับความแรงตั้งแต่ 12-15 ฟุต-ปอนด์ขึ้น
ไป Diana M 52 กระบอกนี้สามารถจัดอยู่ในระดับปืนลมแม็กนั่มได้อย่างไม่ขัดเขินแต่อย่างใด เพราะ
ความเร็วปากลำกล้องของ M 52 เบอร์ 2 อยู่ที่ระดับ 900 ฟุต/วินาที ซึ่งคำนวณเป้นพลังงานได้ถึงกว่า
 20 ฟุต-ปอนด์เลยทีเดียว

ในปัจจุบัน Diana ผลิต Model 52 ในสามขนาดคือ .177 (เบอร์ 1) .22 (เบอร์ 2) และขนาด .25 ในบ้าน
เรา ดูเหมือนจะมีแต่เบอร์ 2 เข้ามาขาย

นอกจาก M 52 แล้ว Diana ยังมีปืนลมที่ใช้โครงสร้างเดียวกันนี้อีกหลายรุ่น เช่น M 48 ซึ่งใช้กลไก
เหมือน M 52 ทุกอย่างเว้นแต่การตกแต่งของพานท้าย ซึ่งก็ทำให้ราคาย่อมเยาลงไป M 48 B เป็น่รุ่น
ที่ใช้พานท้ายโพลิเมอร์สีดำ เพื่อลดน้ำหนัก และเพิ่มความทนทานต่อสภาพอากาศ M 52 Deluxe เป็น
รุ่นที่ใช้ไม้วอลนัทคัดพิเศษที่ให้ลายไม้สวยงามมาก แต่ราคาก็สูงเป็น 2 เท่าของรุ่นธรรมดา รุ่นที่สุด
ยอดจริงๆ เห็นจะเป็น M 54 ซึ่งก็เป็นระบบเดียวกับปืน FWB 300 S ซึ่งเป็นปืนลมยาวแข่งขันของ
 Feinwerkbau ซึ่งครองสนามแข่งขันอยู่นานหลายปี
 

 Diana M 48  ลูกพี่ลูกน้องของ M 52 กลไกเหมือนกันทุกอย่าง แต่เรียบง่ายและย่อมเยากว่า

 Diana M 48 ดูดุดันและไฮเทคตามสมัยนิยมด้วยพานท้ายโพลิเมอร์สีดำสนิท

 Diana M 52 Deluxe พานท้ายไว้วอลนัทคัดลายพิเศษแต่กลไกก็ไม่ต่างจาก M 52  ธรรมดาครับ

 Diana M 54 Air King กระบอกนี้น่าสนใจ แรงระดับแม็กนั่มและไม่มีแรงรีคอยล์ติอย่างเดียวคือน้ำหนักมากไปซักนิด

M 52 จัดเป็นปืนลมสำหรับผู้ใหญ่อย่างแท้จริง โครงสร้างแข็งแรงบึกบึน พานท้ายทำด้วยไม้เนื้อแข็ง
เต็มไม้เต็มมือ น้ำหนักปืนปาเข้าไปถึง 8.5 ปอนด์ (3.8 กิโลกรัม) หนักกว่าปืนไรเฟิลขนาดใหญ่บาง
กระบอกซะอีก ฝีมือในการทำถือว่าอยู่ในระดับสุดยอดกระโจมมือและคอปืนมีการอัดลายเช็คเกอร์
เรียบร้อยสันพานท้ายมียางรองราวกับไรเฟิล .375 เอชแอนด์เอช แม็กนั่ม

ศูนย์หน้าตั้งอยู่บนฐานอย่างแข็งแรง สามารถเลื่อนปรับสูงต่ำได้ศูนย์หลังแบบไมโครมิเตอร์แบบมี
คลิกสามารถปรับสูงต่ำและซ้ายขวาได้อย่างละเอียด

 ศูนย์หน้าอยู่บนฐานที่แข็งแรง (มาก) สามารถปรับสูงต่ำได้โดยคลายน๊อตที่ตัวศูนย์แล้วเลื่อนขึ้นลง

 ศูนย์หลังแบบไมโครมิเตอร์ปรับได้ทั้งซ้ายขวาและขึ้นลง

คันง้างสปริงทำงานโดยการง้างมาทางด้านหลัง คานง้างทำได้แข็งแรงดีมาก การง้างต้องใช้แรงค่อน
ข้างมากทีเดียวตามคู่มือบอกว่าต้องใช้แรงง้าง 39 ปอนด์ ผู้เขียนไม่รู้จะเอาอะไรมาวัดก็คงต้องเชื่อ
ไปตามที่ฝรั่งเขาว่า บอกเพิ่มเติมได้แต่ว่ายิงสัก 100 นัด ติดต่อกันคงแขนห้อยแน่ๆ ก็ดีเหมือนกันครับ
ถือว่าได้ออกกำลังไปในตัว

Diana รุ่นนี้มีระบบป้องกันการตีกลับของคันง้าง ถ้าผู้ยิงหมดแรงซะก่อน ฝรั่งเขาเรียกตัวนี้ว่า Bear
 Trap เพราะมีลักษณะเป็นฟันปลาคล้ายกับดักสัตว์ เมื่อง้างสุดแล้วต้องใช้มือกดเพื่อกดกระเดื่องให้
เจ้าฟันปลานี้จมลงจึงสามารถดันคันง้างกลับเข้าที่ได้

เมื่อง้างสุดแล้วสามารถใส่กระสุนเข้าไปที่ท้ายลำกล้องโดยตรง วิธีใส่กระสุนแบบนี้ว่ากันว่าให้ความ
แม่นยำกว่าแบบอื่น ที่มีรอยต่อระหว่างช่องบรรจุกระสุน และลำกล้องคิดดูแล้วก็มีเหตุผลน่าเชื่อถือ
อยู่บ้าง

เมื่อง้างคันง้างจนสุดเซฟจะเข้าเองโดยอัตโนมัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากปืนลั่นขณะกำลังบรรจุ
กระสุนอยู่ซึ่งจะทำให้คานง้างตีกลับและกระบอกสูบหนีบมือผู้ยิง(ขาดแน่) ได้ก่อนยิงต้องปลดเซฟ
ก่อนทุกครั้ง

ก่อนดันคันง้างเข้าที่ต้องกดปุ่มล็อคฟันปลาซึ่งอยู่ด้านซ้ายลงเสียก่อน

เซฟจะเข้าเองทุกครั้งที่ขึ้นลำ ก่อนยิงต้องปลดโดยการดันขึ้นข้างบน

หลังจากขึ้นคันง้างแล้วก็จะสามารถใส่กระสุนเข้าที่ท้ายลำกล้องโดยตรงในภาพจะเห็น ฟันปลา หรือ Bear  Trap ป้องกันคันง้างตีกลับ โปรดสังเกตอีกอย่างว่าใบศูนย์หลังสามารถเปลี่ยนได้เพื่อเลือกความกว้างและรูปทรงได้

 ไกปรับได้ทั้งน้ำหนักและระยะลากโดยการไขสกรูที่อยู่ภายในโกร่งไก

การทดสอบ

พอดีว่าเพื่อนๆ ของผู้เขียนได้มีการนัดกันไปยิงปืนลมเล่นที่บ้างของเพื่อนในกลุ่ม ประกอบกับว่าคน
หนึ่งในกลุ่มนี้คือคุณไกรสรมี Diana M 52 ขนาด .22 อยู่ในครอบครอง ผู้เขียนจึงได้ขอยืมปืนมาทำ
การทดสอบเสียเลยไม่ต้องไปยืมปืนจากร้านค้า

เรานัดกันเพื่อไปยิงเป้าเหล็กรูปสัตว์ (Silhouette) กันในตอนบ่ายๆ วันอาทิตย์ อากาศวันนั้นเป็นใจ
มาก เพราะแดดร่มลมเย็นสบาย การยิงก็เป็นแบบเพื่อนฝูงไม่มีกฎเกณฑ์อะไรตายตัว ปืนที่ใช้ยิงก็
แบ่งเป็นปืนสั้นและยาวมีขนาดตั้งแต่ FWB 300 S ติดกล้อง Anschutz หักลำกล้อง และ Diana
M 52 พระเอกของเราในตอนนี้

Diana M 52 เหมาะมากสำหรับการยิง Silhouette เพราะการยิง Silhouette นี้นอกจากจะต้องการ
ความแม่นยำแล้ว ยังต้องการปืนที่มีความแรงปะทะพอที่จะผลักให้เป้าเหล็กล้มได้ที่ระยะไกลสุดถึง
 50 หลา

เพื่อที่จะได้ทดสอบความแม่นยำที่แท้จริงของ M 52 ผมจึงทำการติดตั้งกล้อง Bushnell Trophy
6-18 เท่า ซึ่งเป็นกล้องที่ทำมาสำหรับปืนลมเข้ากับเจ้า Diana M 52 ผมใช้ฐานกล้องของ B-Square
 สำหรับปืนลมที่มีสมอล็อค เพื่อป้องกันฐานเคลื่อนมาให้ด้วย จากนั้นก็ใช้แหวนรัดกล้องแบบวีฟเวอร์
แค่นี้ก็ป้องกันกล้องเคลื่อนได้อย่างแน่ใจ

บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องพิถีพิถันนักกับแค่กล้องปืนลม ต้องขอเรียนให้ท่านทั้งหลายทราบกัน
ซะก่อนครับว่า แรงรีคอยล์ ของปืนลมสปริงนั้นถึงแม้จะไม่รุนแรงเหมือนปืนแม็กนั่มใหญ่ๆ แต่ก็มี
ลักษณะพิเศษที่จะทำให้กล้องเคลื่อนหรือกล้องพังง่ายๆ เจ้าของ M 52  กระบอกนี้ยังยืนยันว่าเคยลอง
ใช้ขากล้องธรรมดากับปืนกระบอกนี้มาแล้ว ปรากฎว่า 3 นัด หลุด! เอาไว้ผมจะเขียนเรื่องการติด
กล้องกับปืนลมกันสักครั้ง ตอนนี้กลับกันมาว่ากันถึงการทดสอบปืนกันต่อดีกว่า

 โครงปืนมีฐานกล้องอย่างดีติดมาให้พร้อมรูสำหรับลงสมอกันฐานกล้องเลื่อน

ขันฐานกล้องให้แน่นด้วยประแจหกเหลี่ยม

แหวนรัดกล้องแบบวีฟเวอร์ที่มีแกนขวางกันกล้องเดินหน้าถอยหลัง

ฐานกล้อง B-Square ทำมาสำหรับใส่ปืนลมโดยเฉพาะ มีสมอล็อคกับฐานกล้องป้องกันกล้องเคลื่อน

 ใช้ประแจหกเหลี่ยมขันสมอให้ล็อคกับรูฐานน๊อตตัวนี้สามารถใช้ปรับกล้องสูงต่ำได้ด้วย

การยิง Silhouette สำหรับปืนลมยาวจริงๆ นั้นจะต้องยิงกันตั้งแต่ไก่ที่ระยะ 20 หลาไปจนถึงแพะภูเขา
ที่ 50 หลา แต่เนื่องจากพื้นที่จำกัดเราจึงจัดการย่อส่วนลงมายิงที่ระยะไก่ 10 หลา หมู 12 หลา ไก่งวง 16
หลา และแพะที่ 20 หลา ผมจัดการปักเสาติดเป้ากระดาษเพื่อทดสอบศูนย์ไว้ด้วยในทุกระยะ

หลังจากที่ได้ประกอบกล้องเรียบร้อย ผมก็เริ่มยิงปรับศูนย์ที่ระยะ 10 หลา ไกที่ตั้งมาจากโรงงานค่อน
ข้างหนักไปนิด สำหรับยิงเป้าละเอียด แต่ก็สามารถปรับตั้งได้ง่ายๆ ทั้งน้ำหนักไกและระยะลาก โดย
การไขสกรูข้างหน้าไกหลังจากที่ยิงนัดแรก ผมบอกได้เลยว่านี่เป็นครั้งแรกที่ผมโดนปืนลม "ถีบ"
 ขนาดนี้ แต่ก็ไม่ได้หนักหนาสาหัสจนรับไม่ได้แต่อย่างใด ออกจะให้ความรู้สึกสะใจเสียด้วยซ้ำไป

หลังจากปรับกล้องได้ที่ผมจึงได้ทดสอบความแม่นยำกับเป้ากระดาษอีกครั้ง โดยการพาดหมอนยิง
อย่างง่ายๆ ไม่ผิดหวังเลยครับ ทุกคนค่อนข้างทึ่งที่เจ้า Diana M 52 สามารถส่งกระสุนเข้ารูเดียวกัน
ที่ระยะ 10 เมตรได้อย่างง่ายดาย ถ้าไกเบากว่านี้สักนิดคงจะสามารถยิงกลุ่มได้เล็กกว่านี้

เมื่อเลื่อนระยะยิงเป็น 16 และ 20 เมตร กลุ่มกระสุนก็ไม่โตมากนัก แต่กลับสูงขึ้น 1/4 นิ้วที่ระยะ 16
เมตร และ 3/4 นิ้วที่ระยะ 20 เมตร ซึ่งก็แปลว่ากระสุนยังไม่เริ่มโค้งลงที่ระยะ 20 เมตร นอกจากนี้
กลุ่มกระสุนจึงออกไปทางด้ายซ้ายมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็น่าจะเกิดจากการที่ติดตั้งกล้องไม่ได้เป็นแนว
เดียวกันกับลำกล้องปืน

3 นัดรูเดียว (แต่โตหน่อย) ที่ระยะ 10 เมตร

3 นัดที่ระยะ 15 เมตร กินสูงขึ้น 1/4 นิ้ว

3 นัดที่ระยะ 20 เมตร กินสูงขึ้นไปอีก

เมื่อรู้วิถีกระสุนแล้วพวกเราจึงได้ผลัดกันยิงเจ้า Diana กระบอกนี้กับเป้าเหล็ก กล้องถูกตั้งไว้ที่ 8 เท่า
แต่นี้ก็เพียงพอสำหรับการยิงระยะ 20 เมตร น้ำหนักปืน 4 กิโลกรัม ช่วยทำให้ถือปืนในท่ายืนได้นิ่งดี
มาก

แรงปะทะของกระสุนจาก Model 52 มีมากมายเหลือเฟือสำหรับการยิง Silhouette เราเห็นเป้า
กระเด็นหวือทุกครั้งที่กระสุนกระทบเป้า เมื่อเดินไปดูจึงพบว่าเป้าไก่กระเด็นไปไกลร่วม 3 เมตร
หัวกระสุนก็บานออกจนเต็มที่

เป้าเหล็กรูปสัตว์หรือ Silhouette ตั้งที่ระยะต่างๆ กันแต่เนื่องจากพื้นที่จำกัดจึงตั้งไก่ที่ 10 เมตร  หมู(ป่า)ที่ 12 เมตร ไก่งวงที่ 15 เมตร และแพะภูเขาที่ 20 เมตร อยู่ในเงามืดข้างหลังโน่นเป้ากระดาษที่ปักไว้ข้างๆ เอาไว้ทดสอบวิถีกระสุนก่อนยิงจริง

คุณยุทธดนัย เจ้าของบ้านขอลองบ้าง

ของเล่นอีกอย่างของนักเลงปืนลมที่น่าหาไว้ยิงเล่น เป้าเหล็กรูปสัตว์สำหรับระยะ 10 เมตร พอยิงล้มหมดแล้วมีเชือกดึงให้กลับขึ้นมาตั้งโดยไม่ต้องเดิน

 คุณไกรสร เจ้าของปืนกำลังทดสอบกับเป้า Silhouette

บรรยากาศการยิง Silhouette กันในระหว่างเพื่อนฝูง

หลังจากที่ยิงเป้าเหล็กกันอยู่นานร่วม 3 ชั่วโมงแล้ว ผมจึงกลับมาทดสอบ Diana M 52 กันอีกครั้ง
เพราะเหตุที่ว่าท่านที่ซื้อปืนรุ่นนี้ไปอาจนำมันไปใช้กำจัดสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น หนูได้เป็นอย่าง
ดี ผมจึงได้เอาเป้าหนูไปติดที่ระยะ 20 เมตรแล้วทดลองยิงจากท่านั่งใน 2 เป้าแรก ผมสามารถส่ง
กระสุนเข้าจุดตายของหนูได้เป้าละ 3 นัดอย่างไม่ยากเย็น แต่พอมาถึงเป้าสุดท้าย แรงชักจะเริ่มหมด
เพราะไหนจะต้องขึ้นลำ ไหนจะคอนน้ำหนัก 4 กิโลกว่าของเจ้า M 52 จึงทำให้กลุ่มกระสุน กระจาย
ออกจากกันและมีนัดหนึ่งหลุดออกไปจากตัวหนู ความผิดของคนยิงครับไม่ใช่ปืน

 ยืนยิงเป้าละ 3 นัด เข้าจุดตายเกือบหมดยกเว้นนัดสุดท้ายที่คนยิงหมดแรงยกปืน

บทสรุป

Diana Model 52 เป็นปืนลมสปริงระดับแม็กนั่มที่มีความแม่นยำเกือบจะเท่าปืนลมแข่งขัน ฝีมือการ
ทำอยู่ในขั้นดีมาก ข้อเสียถ้าจะมีอยู่บ้างก็คงจะเป็นเรื่องน้ำหนัก 4 กิโลกรัมของมันที่จะทำให้ท่านไม่
อยากจะแบกมันไปยิงเล่นที่ไหนไกลๆ

ปืนรุ่นนี้และลูกพี่ลูกน้องของมันคือ Model 48 นั้นเหมาะมากสำหรับการยิงเป้า Silhouette หรือการ
ยิงเป้าระยะไกลอื่นๆ รวมทั้งการกำจัดสัตว์พาหนะนำโรคทั้งหลาย ระยะหวังผลถึง 50 เมตร

ผมไปเดินย่านหลังวังเมื่อไม่นานมานี้พบทั้ง Model 48 B, 52 และ 54 ซึ่งเป็นรุ่น Recoiless วางโชว์
อยู่หลายร้านราคาก็ไม่แพงเกินไปนักเทียบกับคุณภาพของปืนตามที่ได้ทดสอบมาน่าสนใจมากครับ
โดยเฉพาะ Model 54 ซึ่งน่าจะให้ความแม่นยำที่ดีขึ้นไปอีก ไม่แน่ว่ากว่าหนังสือฉบับนี้จะวางแผง
ผมอาจจะไปเอาเจ้า M 54 มายิงเล่นแล้วก็เป็นได้

ธัชรวี หาริกุล

ตีพิมพ์ในนิตยสาร กันส์เวิลด์ ไทยแลนด์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ 2542

ติดตามอ่านบทความล่าสุดได้ที่นิตยสาร กันส์เวิลด์ วางตลาดทุกสิ้นเดือน

คุยกันรอบกองไฟ

เซ็นสมุดเยี่ยม

 

สมัครสมาชิก Thailand Outdoor ฟรี

กรุณาใส่ email และคลิ๊ก submit
Powered by YourMailinglistProvider.com