วิธีพิจารณาความอาญา

http:www.oocities.org/thailegal ศูนย์รวมความรู้ทางด้านกฎหมายไทย Update everyweek

 <Home> <Webboard> <Guestbook> <Condition> <About Me> <Education> <Legal Word> <Cooffee Break> <The Rule of Law>
 <
แพ่งและพาณิชย์> <วิธีพิจารณาความแพ่ง> <วิธีพิจารณาความอาญา>
<
อาญา> <คำคม>

 
ผู้เสียหายคดีเช็ค

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) วางหลักกฎหมายไว้ว่า คำว่า "ผู้เสียหาย" หมายถึงผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนได้ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4,5 และ 6           

หลักเกณฑ์ในการเป็นผู้เสียหาย ก็คือ
1. มีการกระทำความผิดทางอาญาฐานใดฐานหนึ่งเกิดขึ้น
2. บุคคลนั้นได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าว
3. บุคคลนั้นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย หมายถึงผู้เสียหายจะต้องไม่ได้ร่วม
หรือใช้ให้กระทำความผิดไม่มีส่วนในการกระทำความผิดหรือรู้เห็นสนับสนุนใน
การกระทำความผิดด้วย

เช็คที่รวมเอาดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือนเข้าไปด้วย ผู้ทรงเช็ค มีสิทธิดำเนินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ได้หรือไม่  ศาลฎีกาได้วินิจฉัยในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2543 ว่า

จำนวนเงินในเช็คพิพาทได้รวมดอกเบี้ยเงินกู้ยืมในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือนเข้า ไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3(1) ประกอบด้วย ป.พ.พ. ม.654 การที่ผู้เสียหายรับเช็คพิพาทจากจำเลย เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายคิดเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย ถือได้ว่าผู้เสียหายเป็นผู้กระทำผิดในส่วนของดอกเบี้ยที่ผู้เสียหายคิดเกินอัตราตาม กฎหมาย ดังนั้น แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาท ก็จะถือว่าผู้เสียหาย เป็นผู้ทรงโดยชอบและเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. ม.2(4) ไม่ได้ ผู้เสียหายจึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์ตาม ม.3(1) การสอบสวนของพนักงานสอบสวน จึงเป็นไปโดยไม่ชอบและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ม.120,121

(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ ปี 2543 เล่ม 2 หน้า 5)

Thailegal 16/11/43  


Webmaster : Thailegal
more information,contact : thailegal@yahoo.com
Copyright(c)2000,Thailegal,All Right Reserved