ผู้เสียหาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 2(4)
วางหลักกฎหมาย
ไว้ว่า
คำว่า "ผู้เสียหาย"
หมายถึงผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐาน
ใดฐานหนึ่ง
รวมทั้งผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนได้ดังบัญญัติไว้ในมาตรา
4,5 และ 6
หลักเกณฑ์ในการเป็นผู้เสียหาย
ก็คือ
1.
มีการกระทำความผิดทางอาญาฐานใดฐานหนึ่งเกิดขึ้น
2.
บุคคลนั้นได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาดังกล่าว
3.
บุคคลนั้นต้องเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
หมายถึงผู้เสียหายจะต้องไม่ได้ร่วม
หรือใช้ให้กระทำความผิด
ไม่มีส่วนในการกระทำความผิดหรือรู้เห็นสนับสนุนในการ
กระทำความผิดด้วย
ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเกี่ยวกับผู้เสียหายในความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงาน
จดข้อความเท็จ
ตาม ป.อ.
มาตรา 267 ใน คำพิพากษาศาลฎีกาที่
7957/2542
ว่า
การที่จำเลยที่
1
แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวนว่า
โฉนดที่ดินของ
ม. ซึ่ง
อยู่ในความครอบครองของจำเลยที่
1
ได้สูญหายไป
แล้วนำสำเนารายงานประจำวัน
เกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอออกใบแทน
โฉนดที่ดิน
ทำให้เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่
1
แม้ข้อความที่จำเลยที่
1
แจ้งจะเป็นความเท็จ
เพราะความจริงโฉนดที่ดินอยู่ที่โจทก์
แต่จำเลยที่
1
กระทำต่อเจ้าพนักงาน
มิได้พาดพิงไปถึงโจทก์อันจะถือว่าโจทก์ได้รับ
ความเสียหายโดยตรง
หลักฐานใบแทนโฉนดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินออกให้แก่
จำเลยที่
1
คงมีรายการสาระสำคัญเช่นเดียวกับโฉนดที่ดินที่ถูกยกเลิกไป
สิทธิของ
โจทก์หากจะพึงมีพึงเป็นอย่างไรในฐานะทายาทหรือเจ้าหนี้กองมรดกก็คงมีอยู่ตาม
เดิม
มิได้ถูกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่
1
เพราะโจทก์ยังคง
มีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินในฐานะทายาทของ
ม.
และมีสิทธิว่ากล่าว
เอาแก่กองมรดกในฐานะเจ้าหนี้ได้เช่นเดิม
โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย
ไม่มีอำนาจฟ้อง
(คำพิพากษาศาลฎีกาของสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ
เล่มที่ 12
หน้า 101)
|