กฎหมายอาญาข้อ
9.
ในกรณีที่บริษัทไม่มั่นคง
จำกัด
นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานจะต้องระบุเหตุผลการเลิกจ้างไว้ในหนังสือ
บอกเลิกสัญญาจ้าง
หากมิได้ระบุเหตุผลไว้
บริษัทไม่มั่นคง
จำกัด
จะยกเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นอ้างภายหลังไม่ได้
ทั้งนี้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ศ.2541 ม.17 วรรคสาม
ดังนั้น
บริษัทไม่มั่นคง
จำกัด
จึงยกเหตุเรื่องละทิ้งหน้าที่เป็น
เวลาครึ่งวันโดยผู้บังคับบัญชาได้เคยตักเตือนด้วยวาจาไว้ครั้งหนึ่งแล้ว
ซึ่งระบุไว้ในหนังสือคำสั่งเลิกจ้างขึ้นอ้างในคำให้การ
ต่อสู้คดีที่นายสมคิดฟ้องเรียกค่าชดเชยได้
แต่จะยกเหตุเรื่องเล่นการพนันกับเพื่อนพนักงานในบริเวณบริษัทซึ่งมิใช่เหตุผล
ที่ได้ระบุไว้ในหนังสือคำสั่งเลิกจ้างและเป็นเหตุอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในหนังสือคำสั่งเลิกจ้างขึ้นอ้างเป็นข้อต่อสู้ใน
คำให้การไม่ได้ (ฎ.2599-2606/2541)
กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยด้วยเหตุที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างตาม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
ม.119(4) นั้น
หากมิใช่กรณีที่ร้ายแรง
นายจ้างต้องตักเตือนเป็นหนังสือแก่ลูกจ้างนั้นก่อน
แม้นายสมคิดจะละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาครึ่งวัน
และบริษัทไม่มั่นคง
จำกัด
จะได้ตักเตือนไว้ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อเดือนก่อน
แต่เป็นการตักเตือนด้วยวาจา
มิใช่การตักเตือนเป็นหนังสือ
จึงไม่เป็นกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม
บทกฎหมายข้างต้น
บริษัทไม่มันคง จำกัด
ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่นายสมคิด
Thailegal
27/01/44
|