- เครื่องปรับอากาศ
- ขับรถตอนกลางคืน
รู้จักทารกน้อยแรกคลอด

ลักษณะของทารกแรกคลอด

การตรวจทารกเมื่อแรกเกิด

ทารกแรกเกิดทำอะไรได้บ้าง

ทารกที่ต้องดูแลพิเศษ
  • สาเหตุ
  • เรียนรู้ทารกที่ต้องดูแลพิเศษ





  • ลักษณะของทารกแรกคลอด

    หลังจากที่คุณแม่คลอดลูกน้อยออกมาแล้ว คุณจะได้มองดูลูกอย่างเต็มตาล่ะที่นี้ ให้สมกับที่รอคอยมาเป็นเวลานาน เฝ้าสังเกตทุกอิริยาบถและทุกส่วนของร่างกายลูก ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของเส้นผม, สีผม, ขนาดของมือและเท้า, ลักษณะสีหน้าของลูก ถ้าคุณมีข้อวิตกกังวลเกี่ยวกับลูกของคุณ ไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด เป็นโอกาสดีที่จะสอบถามจากพยาบาลหรือคุณหมอทันที และคุณหมอเองก็จะต้องตรวจเช็คร่างกายของลูกด้วยเพื่อให้แน่ใจว่าทุกอย่างเป็นปรกติดี

    ทารกแรกคลอดส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักระหว่าง 2.5 - 4.5 กก. และมีความยาวตั้งแต่ 48 - 51 ซม.

    ลักษณะของทารกแรกคลอดมีดังนี้
    1. ศีรษะ
      ทารกแรกคลอดจะมีศีรษะใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว ดูผิดรูป ทั้งนี้เพราะขณะที่ลูกค่อยๆ เคลื่อนมาตามช่องคลอด หัวจะค่อยๆ ถูกบีบไปตามลักษณะช่องคลอด บางครั้งหัวด้านข้างของลูกอาจดูบวม เพราะถูกกด อาการเหล่านี้ไม่มีอันตรายใดๆ ต่อสมอง และจะยุบหายไปเองในเวลา 2 สัปดาห์

      ส่วนบนของศีรษะลูกที่คลำดูนิ่มๆ เรียกว่ากระหม่อมหน้า (Anterior fontanelle) เป็นส่วนที่กะโหลกยังประสานกันไม่หมด จะค่อยๆ ปิดสนิทเมื่อลูกอายุ 18 เดือน บางทีคุณอาจสังเกตเห็นส่วนนี้เต้นตุบๆ เมื่อลูกหายใจ

    2. ผิวหนัง
      ทารกแรกคลอดส่วนใหญ่จะมีไขเคลือบผิว เพื่อช่วยหล่อลื่นเวลาไหลเคลื่อนผ่านช่องคลอด และช่วยป้องกันการติดเชื้อทางผิวหนังได้ ไขนี้จะหลุดลอกออกไปเองตามธรรมชาติในเวลา 1 - 2 วัน

      จุดและผื่นต่างๆ จะพบได้ตามปรกติ และจะค่อยๆ จางหายไปจนกลืนไปกับผิวส่วนอื่น

      หนังลอก หนังบริเวณมือและเท้าจะลอกออกไปใน 2 - 3 วัน

      ขนอ่อนตามตัว (Lanugo) ซึ่งปกคลุมร่างกายลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง พบมากเป็นพิเศษในทารกคลอดก่อนกำหนด จะค่อยๆ หลุดลอก ออกไปเองภายในเวลา 2 สัปดาห์ และขนที่แท้จริงจะงอกขึ้นมาแทนที่

      ปาน เมื่อคุณแม่พินิจพิจารณาดูลูกอย่างใกล้ชิด คุณจะเห็นปาน ตามตัวของลูกมีลักษณะต่างๆ ซึ่งส่วนมากเกิดจากกลุ่มเลือด ฝอยใต้ผิวหนัง ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด เพราะปรกติ แล้วจะหายไปเอง

      ปาน, ปานแดง: เป็นรอยปื้นสีชมพูจางๆ หรือแดง พบบ่อยที่บริเวณจมูก, เปลือกตา และต้นคอด้านหลัง จะจางหายไปในราว 1 ปี

      ปานสตรอเบอรี่ (Strawberry marks): จะมีสีแดงคล้ำ บางครั้งปรากฏขึ้น 2 - 3 วันหลังคลอด จะค่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ จนถึงขวบปีแรก แล้วจะจางหายไปเมื่ออายุราว 5 ขวบ

      ปานพอร์ตไวน์สเตน (Port wine stain): เป็นปานแดงชนิดถาวร มีลักษณะเป็นปื้นขนาดใหญ่ มักพบบริเวณหน้าและลำคอของทารก หากมีข้อสงสัย, กังวลเกี่ยวกับปานชนิดนี้ ควรปรึกษาแพทย์

      ปานมองโกเลีย (Mongolian spot): มักจะพบในทารกที่มีสีผิวคล้ำ เช่นททารกผิวดำ, ทารกเอเชีย มักเป็นบริเวณก้น หรือบริเวณหลัง ส่วนล่างของทารก อาจดูเหมือนรอยเขียวช้ำ ไม่มีอันตรายใดๆ และจะจางหายไปในที่สุด

    3. เต้านม
      บ่อยทีเดียวที่พบทารกมีเต้านมไม่ว่าหญิงหรือชายดูโตกว่าปรกติ และอาจมีน้ำนมไหลออกมาด้วย เนื่องจากฮอร์โมนจากแม่ผ่าน ไปสู่ลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และยังมีผลต่อลูกอยู่ในช่วงหลังคลอดนี้ อย่าบีบน้ำนมจากเต้านมของลูกเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอาการ อักเสบจนเป็นฝีได้ เต้านมจะยุบไปเองในไม่ช้า

    4. สายสะดือ
      สายสะดือจะเหี่ยว, แห้งและหลุดออกไปเอง ประมาณ 10 วัน หลังคลอด ควรเปิดสะดือให้แห้ง จะสะอาดและหลุดง่าย

    5. อวัยวะเพศ
      ทารกชาย หากคลอดครบกำหนด ลูกอัณฑะมักจะลงมา ในถุงอัณฑะตั้งแต่แรกคลอดอยู่แล้ว ถ้าสงสัยควรปรึกษาแพทย์ ทารกหญิง อาจมีสีคล้ำ บวมเล็กน้อย บางคนมีมูกคล้ายตกขาว บางคนมีเลือดออกทางช่องคลอดคล้ายๆ ประจำเดือนเมื่ออายุ 2 - 3 วัน เป็นเพราะฮอร์โมนจากคุณแม่ที่ผ่านสายรก (พร้อมฮอร์โมนที่ทำให้เต้านมโต) และจะหายไปเองในเวลา 1 - 2 สัปดาห์

    6. มือและเท้า
      ปลายมือปลายเท้าของทารกแรกเกิดอาจมีสีเขียวคล้ำ เนื่องจากเลือดยังไหลเวียนไม่ดี และมักมีเล็บยาว ทำให้ขีดข่วนหน้า ควรเล็มออกเล็กน้อย ยามลูกนอนหลับ หากจะสวมถุงมือถุงเท้าให้ลูก ต้องสำรวจดูด้านในของถุงมือ ถุงเท้าเสียก่อนว่า ไม่มีเส้นด้ายรุ่งริ่ง เพราะอาจไปรัดนิ้วของลูกได้ ผิวบางส่วนอาจดูแห้งและหลุดลอก ซึ่งจะหายไปเองในเวลาไม่กี่วัน

    7. การหายใจ
      ทารกแรกเกิดมักจะหายใจไม่สม่ำเสมอเหมือนผู้ใหญ่ คือจะหายใจเป็นพักๆ และหยุดเป็นพักๆ ได้ อัตราการหายใจของเด็กแรกเกิด จะเท่ากับ 20 - 60 ครั้งต่อนาที ซึ่งเร็วกว่าผู้ใหญ่ปรกติ

    8. อุจจาระ
      ทารกแรกเกิดส่วนมากจะถ่ายภายใน 24 ชั่วโมง เรียกว่า "ขี้เทา" (Meconium) มีลักษณะเหนียวๆ สีเขียวดำ วันต่อมาจะมีสีจางลง วันที่ 3 - 4 จะมีสีเหลือง ดูเหลว เด็กที่กินนมแม่จะมีอุจจาระสีเหลืองทอง ถ้าทานนมขวดจะเป็นก้อน อาจถ่ายยากสักนิดเมื่อเทียบ กับเด็กที่กินนมแม่ ปรกติทารกแรกเกิดจะถ่ายบ่อย วันละ 3 - 5 ครั้ง ซึ่งไม่ถือว่าท้องเสีย หรือท้องเดิน

    9. ตัวเหลือง (Jaundice)
      อาการตัวเหลืองจะปรากฏขึ้นในวันที่ 3 หลังคลอด ที่นัยน์ตาขาวก็อาจมีสีเหลืองด้วย แต่เหลืองไม่มาก และจะค่อยๆ จางหายไปในเวลา 6 - 7 วัน จนหายไป เมื่อเด็กอายุได้ 1 - 3 สัปดาห์ ถ้าเหลืองจัดหรือมีอาการ ตัวเหลืองนาน ควรรีบปรึกษาแพทย์






    visit our sponsor
    visit our sponsor


    Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
    เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


    maeaom@hotmail.com
    Thaiparents.com 2000
    All rights reserved