- เครื่องปรับอากาศ
- ขับรถตอนกลางคืน
การบอกข่าวร้ายแก่คนไข้จากแพทย์

ถ้าคุณป่วยหนัก ไม่สบายมาก คุณต้องการให้แพทย์บอก ความจริงกับคุณแค่ไหน?

จากผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา พบว่าคุณหมอทั้งหลายมีความยากลำบากในการบอกข่าว ร้ายแก่คนไข้ทั้งหลาย โดยเฉพาะเมื่อต้องรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง

นักวิจัยได้ระบุผลการศึกษาครั้งนี้ในที่ประชุม May 2000 Meeting of The American Society for Clinical Oncology (สมาคมการรักษาโรควิทยาเนื้องอก) ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับคำตอบที่ตรงไปตรงมาจากแพทย์ จากคำถามที่มีอยู่ในใจตลอดเวลาว่า "จะมีชีวิตอยู่ได้นานอีกแค่ไหน?" - มีแพทย์เพียง 1 ใน 3 คนเท่านั้นที่ตอบตามความเป็นจริงตาม ที่ประมาณการ (ที่ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่ตนจะประมาณการได้)

นักวิจัยระบุอีกว่า แพทย์เองก็รายงานว่ามีความไม่สบายใจ ในการตอบคำถามเหล่านี้และลำบากใจที่จะบอกข่าวร้ายแก่คนไข้ โดยเกรงว่าการบอกข่าวร้ายจะไม่เป็นผลดีและอาจทำให้คน ไข้มีสภาพแย่ลง ซึ่งแสดงว่าการบอกข่าวร้ายนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และยิ่งยากขึ้นไปอีกเมื่อต้องคำนวณวันเวลาที่เหลืออยู่ของคน ไข้ให้ฟัง โดยเฉพาะเมื่อต้องแจ้งแก่ญาติพี่น้องและสมาชิก ในครอบครัวของคนไข้ว่าคนไข้เสียชีวิตแล้วก็ยิ่งยากขึ้นไปอีก ทั้งนี้เพราะแพทย์ได้รับการฝึกในเรื่องการบอกข่าวร้ายจาก โรงเรียนแพทย์เพียงเล็กน้อยเท่านั้นว่าจะทำอย่างไรให้ละ มุนละม่อม อ่อนโยนมากที่สุด จากการวิจัยครั้งนี้พบว่า การแจ้งข่าวร้ายแก่ผู้ป่วยนั้นมีความสำคัญมาก เพราะมีผล กระทบที่ยาวนานและอย่างรุนแรงต่อความทรงจำและ ประสบการณ์ของครอบครัวนั้นๆ ไปตลอดชีวิต

นักวิจัยจาก Harbourview Medical Centre ใน Seattle สัมภาษณ์ครอบครัว 50 รายถึงประสบการณ์ที่ได้รับข่าว ร้ายแบบนี้จากแพทย์พบว่า สิ่งที่พวกเขาคิดว่าสำคัญ ที่สุดในการรับฟังข่าวร้ายจากแพทย์ก็คือ "การแสดงออก ถึงความเอาใจใส่และอ่อนโยน" จากแพทย์ - เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่สุดในการบอกข่าวร้ายแก่คนไข้ อันดับต่อมาคือ: ความรู้จริงในสภาพของผู้ป่วย, การเตรียมพร้อมที่จะ ตอบคำถามของแพทย์, การแสดงออกถึงความเห็นอกเห็นใจ, การมีวิธีพูดจาที่กระจ่าง ชัดเจน และมีความเคารพใน สิทธิส่วนตัวของครอบครัวของผู้ป่วย

อันดับสุดท้ายที่ครอบครัวผู้ป่วยได้ให้ความสำคัญน้อย ที่สุดในการแจ้งข่าวร้ายแก่คนไข้คือ การแต่งกายของ แพทย์และความอาวุโสของแพทย์ ครอบครัวผู้ป่วยจะโกรธ ไม่พอใจหากได้รับข้อมูลที่หวานหูจากแพทย์ หรือแพทย์ที่ไม่ เต็มใจจะแจ้งข้อมูลแก่คนไข้ ทำให้ต้องไปหาข้อมูลเอาเอง

Prof. Dr.Gabor Kelen ผู้อำนวยการหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน แห่ง John Hopkins Hospital กล่าวว่าการแจ้งข่าวร้ายแก่คน ไข้เป็นเรื่องที่ลำบากใจแก่แพทย์ส่วนใหญ่เพราะไม่มีการ สอนอย่างจริงจังในเรื่องนี้ นอกจากใช้ประสบการณ์ของ ตนเองเข้าช่วย เป็นสิ่งที่ยากพอๆ กันทั้งสมาชิกในครอบ ครัวผู้ป่วยและตัวแพทย์เอง เมื่อมีความตายมาเกี่ยวข้อง อย่างกระทันหันและไม่คาดคิด แต่ถ้าเป็นแพทย์ทางเนื้อ งอกวิทยา แพทย์สามารถสร้างความสัมพันธ์กับคนไข้ได้เป็น เดือนๆ ซึ่งอาจมีเรื่องของอารมณ์เข้ามาเกี่ยวพัน แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ นั่นคือ ความตาย

ในพื้นที่ของแพทย์หน่วยฉุกเฉิน หมอจะต้องรวบรวมสถาน การณ์โดยเร็วที่สุด ยกตัวอย่างเช่น ในหน่วยฉุกเฉิน มีหลายบุคคลที่อ้างว่าใกล้ชิดคนไข้หนักมากที่สุด และ เราเองก็ไม่มีหน้าที่ซักถามถึงความสัมพันธ์และประวัติได้ละเอียด แต่แพทย์จะต้องพยายามพูดกับคนที่ใกล้ชิดกับคนไข้จริงๆ เช่นพ่อแม่หรือภรรยาสามี

Dr. Kelen ได้แนะนำสิ่งที่จะช่วยให้คนไข้หรือสมาชิกในครอบ ครัวมีความเจ็บปวดน้อยลงในการรับฟังข่าวร้ายจากแพทย์ โดยระบุว่า: - อย่าให้ความคาดหวังแก่ญาติคนไข้ ให้ส่ง "ผู้ที่เผชิญหน้า" ไปพบญาติคนไข้เป็นวิธีที่จะเตรียมตัวให้เขาเผชิญหน้ากับข่าวร้าย และสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกอย่างคือ แจ้งกับคนไข้หรือญาติตลอดเวลาว่า กำลังเกิดอะไรขึ้น ถ้าเหตุการณ์ทำท่าจะเลวร้าย ให้ส่งคนมาบอก กล่าวญาติเขาให้รับทราบ ในขณะที่แพทย์กำลังทำการรักษาหรือ ช่วยชีวิตคนไข้อย่างสุดความสามารถ ใช้ถ้อยคำเช่น "เรากำลัง ทำทุกอย่างที่เราสามารถทำได้" และ "เราพยายามอย่างเต็มที่ แต่ดูท่าจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร" จะเป็นการช่วยให้ครอบครัว เข้าใจว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้น

นอกจากนั้นควรให้ญาติคนไข้นั่งลง เพราะส่วนมากญาติคนไข้เมื่อ รับฟังข่าวร้าย มักจะเป็นลมหรืออ่อนเพลีย หน้ามืด และไม่ควรตก แต่งคำพูด ใช้ถ้อยคำฟุ่มเฟือย แม้ว่าจะเป็นครอบครัวที่ได้รับการ ศึกษาอย่างดีเพียงไร ก็เป็นเรื่องยากที่จะรับฟังข่าวร้ายได้ ฉะนั้น ไม่จำเป็นต้องอธิบายมากมาย ยุ่งยาก เพียงแต่บอกในสิ่งที่เกิดขึ้น ตรงๆ ง่ายๆ ในภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ

ประการต่อมา แพทย์ควรหลีกเลี่ยงถ้อยคำประเภท "เพียงแต่..." เช่น ถ้าเพียงแต่มาเร็วกว่านี้หน่อย หรือ ถ้าคุณขับรถมาส่งเมื่อวานนี้ - - เพราะจะเป็นการสร้างความผิดในใจให้ผู้ฟังไปจนตลอดชีวิต แพทย์ไม่ควรไปตัดสินการกระทำของคนขับรถพยาบาลหรือผู้เป็น ที่รักของเขา จะทำบุคคลเหล่านี้หัวใจแตกสลายไปตลอดชีวิต

ควรเสนอความช่วยเหลือแก่คนไข้หรือญาติคนไข้ โดยมีแพทย์, นักจิตวิทยา หรือบุคคลที่สามารถให้คำปรึกษา ตอบคำถามได้ตลอด เวลา แม้กระทั่งเสนอที่จะโทรศัพท์หรือให้จัดการเรื่องบางเรื่องให้ เป็นการกระทำที่มีความหมายต่อคนไข้และญาติอย่างมากมาย


Last Updated: 3 June 2000




visit our sponsor
visit our sponsor


Home | ข่าวสุขภาพ | การตั้งครรภ์-การคลอด | การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ | ทารกแรกเกิด - ๑ ขวบ
เด็กวัย ๑-๕ ขวบ | Working Mom | การเงินในครอบครัว | สาระน่ารู้ภายในบ้าน | Dad's Corner


maeaom@hotmail.com
Thaiparents.com 2000
All rights reserved