สมาคมวูซูแห่งประเทศไทย
WUSHU FEDRATION OF THAILAND
         
หน้าแรก
ทำเนียบผู้ยริหารสมาคม
วัตถุประสงค์ของสมาคม
ประเภทของกีฬาวูซู
ติดต่อสมาคม
ประวัติกีฬาวูซ
ประวัติกีฬาวูซูในประเทศไทย
กติกาแข่งขันกีฬาวูซูประเภทยุทธลีลา
กติกาแข่งขันกีฬาวูซูประเภทต่อสู้
สถาบันวูซู - กังฟู
สมาคมมังกร&สิงโตแห่งประเทศไทย
ประกาศ

กติกาการแข่งขันกีฬาวูซูประเภทต่อสู้(ประลองยุทธ)

         ลักษณะของการแข่งขัน
               การแข่งขันวูซูประเภทต่อสู้ หรือประลองยุทธ แบ่งออกได้ 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทบุคคล และประเภททีม
         การแบ่งรุ่นของน้ำหนัก
         1. รุ่นไม่เกิน 48  กิโลกรัม
         2. รุ่นไม่เกิน 52 กิโลกรัม (48 กิโลกรัม - 52 กิโลกรัม)
         3. รุ่นไม่เกิน 56 กิโลกรัม (52 กิโลกรัม - 56 กิโลกรัม)
         4. รุ่นไม่เกิน 60 กิโลกรัม (56 กิโลกรัม - 60 กิโลกรัม)
         5. รุ่นไม่เกิน 65 กิโลกรัม (60 กิโลกรัม - 65 กิโลกรัม)
         6. รุ่นไม่เกิน 70 กิโลกรัม (65 กิโลกรัม - 70 กิโลกรัม)
         7. รุ่นไม่เกิน 75 กิโลกรัม (70 กิโลกรัม - 75 กิโลกรัม)
         8. รุ่นไม่เกิน 80 กิโลกรัม (75 กิโลกรัม - 80 กิโลกรัม)
         9. รุ่นไม่เกิน 85 กิโลกรัม (80 กิโลกรัม - 85 กิโลกรัม)
        10. รุ่นไม่เกิน 90 กิโลกรัม (85 กิโลกรัม - 90 กิโลกรัม)
        11. รุ่น 90 กิโลกรัม ขึ้นไป
         การใช้เทคนิคการต่อสู้
          นักกีฬาสามารถใช้เทคนิคการต่สู้จากทุกสำนัก หรือเพลงยุทธสาขาวิชามวยจีน เพื่อทำการต่อสู้ ชิงชัย
         จุด ที่คู่ต่อสู้เข้ากระทำแล้วได้คะแนน       
           ศรีษะ  ลำตัว และช่วงล่าง (ตั้งแต่สะโพกลงไป)
         จุดที่ห้ามกระทำคู่ต่อสู้ 
          ท้ายทอย  คอหอย  อวัยวะเพศ
         ท่าที่ต้องห้ามใช้ในการต่อสู้ 
          1. ใช้ศรีษะ, ศอก, เข่า, ท่าหักข้อต่อในการจู่โจมคู่ต่อสู้
          2. จับทุ่มโดยหันเอาศรีษะลงพื้น, และจงใจล้มกระแทกคู่ต่อสู้
          3. ใช้ท่าเท้าที่ศรีษะขณะคู่ต่อสได้ล้มลงกับพื้นแล้ว 
          4. ใช้หมัดชกต่อเนื่องที่ศรีษะ
         มาตรฐานการได้คะแนน
          1. การได้ 3 คะแนน
              (1) ในขณะการแข่งขันในยกนั้นๆ หากฝ่ายใดตกจากเวที อีกฝ่ายจะได้รับ 3 คะแนน
              (2) การกระทำคู่ต่อสู้ให้ล้มลง โดยใช้ท่า "โฮ้วจ่วนเซินเส่าไป่ถุย" ท่าหมุนฟาดเท้ากลับหลัง) จู่โจมคู่ต่อสู้ และตนเองยังคงทรงตัวไว้ได้ ได้รับ 3 คะแนน
              (3) การกระทำคู่ต่อสู้ให้ล้มลง โดยใช้ท่า "เฉียนเสาถุ่ย" หรือ "โฮ่วเสาถุ่ย" (ท่าหมุนกวาดเท้า
หน้า และท่าหมุนกวาดเท้าหลัง) โดยที่ตนเองยังคงทรงตัวไว้ได้ ให้ได้ 3 คะแนน
              (4) การกระทำให้คู่ต่อสู้ล้มลง โดยใช้ท่า "โกวที่ถุ่ย"(ท่าเตะเกี่ยวตวัดเท้า) เข้าจู่โจมคู่ต่อสู้ใน ขณะที่ตนเองยังคงยืนทรงตัวไว้ได้ ให้ได้ 3 คะแนน
              (5) สามารถเข้าจู่โจมคู่ต่อสู้ ในขณะฉากหลบในเวลาเดียวกัน (รวมถึงการใช้ท่าทิ้งตัวจู่โจม)
และทำให้คู่ต่อสู้ล้มลง ให้ได้ 3 คะแนน
        2. การได้ 2 คะแนน
              (1) ฝ่ายใดล้มลง ให้ฝ่ายที่ยืนอยู่ได้ ได้รับ 2 คะแนน
              (2) ใช้เท้าเข้าจู่โจมลำตัวคู่ต่อสู้ ้ ได้รับ 2 คะแนน
              (3) ฝ่ายใดถูกคาดโทษ "จิ่งเก้า" อีกฝ่ายได้ 2 คะแนน
        3. การได้ 1 คะแนน
              (1) ใช้เทคนิคของท่ามือจู่โจมถูกคู่ต่อสู้ได้ครั้งละ 1 คะแนน
              (2) เข้าจู่โจมที่ศรีษะ หรือส่วนล่าง (ตั้งแต่ส่วนสะโพกลงไป ได้ครั้งละ 1 คะแนน
              (3) ขณะการแข่งขัน ทั้ง 2 ฝ่าย  เอาแต่จรดท่าต่อสู้กันจนถึง 8 วินาที  ผู้ตัดสินบนเวทีต้องให้ สัญญาณอีกฝ่ายเข้าจู่โจม แต่หากยังไม่จู่โจมภายใน 8 วินาที ให้อีกฝ่ายได้ 1 คะแนน
              (4) ฝ่ายใดถูกคาดโทษ "เชี่ยนเก้า" ให้อีกฝ่ายได้ 1 คะแนน
              (5) ใช้เทคนิคการทุ่ม แต่ทั้งสองฝ่ายล้มลงไปด้วยกัน ให้ฝ่ายที่ล้มทีหลังได้ 1 คะแนน
        4. การกระทำที่ไม่ได้คะแนน
              (1) ท่าทางไม่แจ่มแจ้ง   
              (2) สองฝ่ายต่างตกเวทีพร้อมกัน หรือล้มลงพื้นพร้อมกัน
              (3) สองฝ่ายตะลุมบอนชกต่อย หรือต่างเตะซึ่งกันและกัน
              (4) ผู้ใช้ท่าทิ้งตัวจู่โจม อีกฝ่ายไม่ได้คะแนน
              (5) เมื่อกระทำถูกอีกฝ่าย ขณะอยู่ในสภาพกอดรัดฟัดเหวี่ยง
         การทำผิดกติกา
         1. การทำผิดกติกาทางเทคนิค
              (1) กอดรัดคู่ต่อสู้ไว้เฉยๆ โดยไม่ได้กระทำอะไร
              (2) พยายามยกมือเพื่อให้กรรมการสั่งหยุด ขณะเมื่อตนเองตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบ
              (3) มีผู้ชี้นำ(สอนมวย)อยู่ข้างสนามแข่ง ขณะแข่งขันอยู่บนเวที
              (4) ขณะทำการแข่งขันอยู่  กระทำเสียมารยาทต่อผู้ตัดสินบนเวที  หรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่
่เชื่อฟังผู้ตัดสิน
              (5) ตะโกนเสียงดัง ขณะกำลังทำการแข่งขัน
              (6) จงใจถ่วงหรือหน่วงเหนี่ยวเวลา   
              (7) ขึ้นบนเวทีโดยไม่ใส่ฟันยาง หรือคายฟันยางออก, จงใจปลดเกาะอกให้หลวม
              (8) นักกีฬาไม่แสดงความเคารพ
        2. การทำผิดกติกาต่อบุคคล
              (1) เข้ากระทำคู่ต่อสู้ก่อนคำสั่ง "ไคสื่อ" หรือหลังจากคำสั่ง "ถิง"
              (2) จู่โจมคู่ต่อสู้เข้าที่จุดต้องห้าม
              (3) ใช้ท่าต้องห้ามจู่โจมคู่ต่อสู้
         การให้โทษ
           1. หากกระทำผิดกติกาทางเทคนิค 1 ครั้ง ต้องได้รับโทษเชี่ยนเก้า 1 ครั้ง
           2. หากกระทำผิดต่อบุคคล 1 ครั้ง ต้องได้รับโทษจิ่งเก้า 1 ครั้ง
           3. เมื่อจำนวนโทษรวมกันถึง 6 คะแนน ให้ตัดสินอีกฝ่ายเป็นผู้ชนะ
           4. มีเจตนาทำร้ายคู่ต่อสู้ให้ได้รับบาดเจ็บ ให้ยกเลิกผลการแข่งขันในยกนั้นๆ
           5. นักกีฬาใช้สารต้องห้าม หรือให้ออกซิเยนระหว่างพัก  ให้ยกเลิกการแข่งขันทั้งหมด
สนามแข่งขัน
            1. สนามมีระดับยกพื้นสูง 60 cm   มีขนาดกว้าง 8 เมตร  ยาว 8 เมตร   สร้างด้วยไม้ พื้นสนาม ปูด้วยฟองน้ำ หรือเบาะนิ่มๆ ที่ไม่ยวบยุบง่าย แล้วคลุมด้วยผ้าใบ พร้อมขึงตึง ตรงบริเวณกลางสนาม แข่งขัน มีภาพ หยิน -หยาง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100cm ด้านขอบบนของสนามจะมีเส้นสีแดงรอบ สนาม และต้องมีเส้นเตือนเป็นสีเหลือง  
           2. ด้านล่างของเวทีทั้ง 4 ด้าน ปูด้วยเบาะนิ่มที่มีความสูง 20 - 30 cm และกว้างจากตัวเวที 200 cm เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการตกเวที

ติดต่อสมาคม
ลิขสิทธิ์  2548  วรนาถ (บูล)    ดิษยบุตร
Click
สมาคมกีฬามังกร&สิงโตประเทศไทย

Click

 

สถาบันวูซู-กังฟู