ประวัติความเป็นมา
      เดิมพื้นที่ตั้งอำเภอทับปุดเป็นป่ารกร้างและเป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่  ต่อมาประมาณปี  พ.ศ.2328  ตอนต้นรัชการที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์พม่ายกทัพเข้าล้อมเมืองถลางไว้ราษฎรจากเมืองตะกั่วทุ่งและเมืองถลางได้อพยพครอบครัวหลบหนี พม่าไปอยู่ตามป่าตามเขาในท้องที่ อำเภอเมืองพังงาในปัจจุบัน   บางพวกอพยพเข้ามาอยู่ในท้องที่อำเภอทับปุดซึ่งขณะนั้นเป็นทุ่งหญ้า           และป่าเขา   มีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์  ลักษณะพื้นที่เหมาะแก่การอยู่อาศัยและการเพาะปลูก ผู้อพยพได้สร้างที่พักขึ้นในทุ่งหญ้าแห่งหนึ่งเป็นแบบกระท่อมชั่วคราวหลังเล็กๆ  ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "ทับ"    ทับที่ปลูกนี้ใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่ายในพื้นที  เช่นไม้ไผ่และไม้เบญจพรรณต่างๆ เป็นโครงสร้าง  หลังคาใช้ใบไม้มุง  ใบไม้ชนิดนี้มีลักษณะคล้ายต้นข่าขนาดใหญ่ ชาวพื้นเมืองเรียกว่า "ปุด"  เมื่อสร้างที่พักเสร็จแล้ว        ผู้อพยพก็เลยเรียกชุมชนของตนว่า "บ้านทับปุด" ซึ่งหมายถึง กระท่อมที่สร้างขึ้นโดยใช้ใบปุดมุงหรือกั้น  และชื่อนี้ใช้เรียกกัน

ต่อมา

            ครั้นต่อมา  ชุมชนหนาแน่นขึ้น   ทางราชการจึงยกฐานะบ้านทับปุดเป็นอำเภอขึ้นกับจังหวัดพังงา  ในปี พ.ศ. 2440   ใช้ชื่ออำเภอตามชุมชนที่เรียกขาน  "อำเภอทับปุด"   สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน

สภาพทั่วไป

ที่ตั้ง
            อำเภอทับปุดตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของจังหวัดระหว่างเส้นรุ้ง 40 องศา  3 สัปดาห์เหนือ  และเส้นแวง 62 องศา 6 ลิปดาตะวันออก  อยู่ห่างจากตัวจังหวัดพังงา ประมาณ 24 กิโลเมตร  โดยมีเทือกเขาทอยและเขานางหงส์กั้นกลาง  มีเนื้อที่ประมาณ 272.429 ตารางกิโลเมตร  หรือ 170,268.12 ไร่  คิดเป็นร้อยละ 6.53 ของพื้นที่จังหวัดพังงา   โดยใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของจังหวัดพังงา

อาณาเขต
            ทิศเหนือ            จด        อำเภอพนม            จังหวัดสุราษฎร์ธานี
            ทิศใต้                จด        อำเภอเมืองพังงา    จังหวัดพังงา
            ทิศตะวันออก     จด        อำเภออ่าวลึกและอำเภอปลายพระยา    จังหวัดกระบี่
            ทิศตะวันตก       จด        อำเภอเมืองพังงา    จังหวัดพังงา

สภาพภูมิประเทศ
            อำเภอทับปุด  มีลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าและภูเขา  ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด   มีที่ราบทั่วไปตามหุบเขาและริมแม่น้ำ  ที่ราบเหล่านี้อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำนาและเลี้ยงสัตว์   ทำสวนยางพารา  และสวนผลไม้   ส่วนที่ราบชายฝั่งทะเล   ที่เกิดจากการยุบตัวของแผ่นดิน  ชายฝั่งทะเลมีลักษณะแถบยาวและเว้าแหว่งที่เรียกว่า "ชะวากทะเล"   ส่วนใหญ่จึงเป็นป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์มีความสำคัญต่อการเพาะเลี้ยงชายฝั่ง

สภาพภูมิอากาศ
            โดยที่พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ติดทะเลบริเวณชายฝั่งอันดามัน   จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  กับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ     จากการที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุมในเขตร้อนเป็นเหตุให้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี  อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 21 - 31 องศาเซลเซียส  ความชื้นสัมพัทธ์อยู๋ระหว่าง 51 - 99%  ฤดูกาล 2 ฤดูกาล  คือ
            - ฤดูร้อน  เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม  ไปจนถึงเดือนเมษายน
            - ฤดูฝน   เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม  ไปจนถึงเดือนธันวาคม
            สถิติปริมาณน้ำฝนในปี 2543  วัดได้  2,211.9   มิลลิเมตรและในปี 2544 ตั้งแต่เดือนมกราคม  ถึงเดือน ตุลาคม 2544  วัดได้  2,022   มิลลิเมตร

การปกครองและประชากร

1. การปกครอง
            - การปกครองท้องที่  แบ่งเป็น 6 ตำบล  38 หมู่บ้าน
            - การปกครองท้องถิ่น  มีเทศบาลตำบล 1 แห่ง  ได้แก่เทศบาลตำบลทับปุด  และมีองค์การบริหารส่วนตำบล  จำนวน 6 แห่ง  ได้แก่ อบต.ทับปุด  อบต.บ่อแสน  อบต.โคกเจริญ  อบต.มะรุ่ย  อบต.บางเหรียง  และ อบต.ถ้ำทองหลาง

2. ประชากร
            อำเภอทับปุดมีประชากร  ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2546  ทั้งสิ้น จำนวน 22,632 คน แยกเป็น ชาย 11,533 คน และหญิง 11,099 คน โดยสามารถแยกเป็นรายตำบลได้  ดังนี้

ลำดับ ตำบล จำนวน
ครัวเรือน
รวม
(คน)
ศาสนา
1 ทับปุด 829 3,926 พุทธ
2 โคกเจริญ 693 3,219 พุทธ/อิสลาม
3 บางเหรียง 444 1,989 พุทธ
4 มะรุ่ย 1,070 5,447 พุทธ/อิสลาม
5 บ่อแสน 1,207 6,486 อิสลาม/พุทธ
6 ถ้ำทองหลาง 372 1,565 พุทธ

สภาพทางเศรษฐกิจ

1. การเกษตรกรรม
  
                 อำเภอทับปุดมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 54,415 ไร่  ครอบครัวเกษตรกร จำนวน 5,301 ครัวเรือน    สภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญๆ แยกได้ดังนี้

ที่ พืชเศรษฐกิจ พื้นที่ปลูก
(ไร่)
ผลผลิตเฉลี่ย
(กก./ไร่/ปี)
จำนวน
(ราย
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
ยางพารา
ปาล์มน้ำมัน
ข้าว
พืชผัก
ทุเรียน
สะตอ
มะพร้าว
เงาะ
ลองกอง
มังคุด
หมาก
มะนาว

33,314
14,806
2,541
1,780
382
127
647
337
348
362
71
9

300
2,000
360
2,000
800
400
1,100
3,100
800
900
915
825

1,845
487
474
352
156
125
906
241
236
265
200
12

2. การปศุสัตว์
  
ข้อมูลสัตว์เลี้ยง

สัตว์ที่เลี้ยง จำนวน (ตัว)
ไก่
สุกร
เป็ด
โค
กระบือ
แพะ
ม้า
ช้าง
40,755
4,513
4,192
2,011
953
314
12
7
รวม 52,757

3. การประมง
  
             - เลี้ยงปลาในกระชัง  ปลากระพงและปลาเก๋า  จำนวน 120 ราย
                - เลี้ยงหอยนางรม  จำนวน 150 ราย                 - เลี้ยงกุ้งกุลาดำ  จำนวน 90 ราย
                - เลี้ยงปลาน้ำจืด  จำนวน 250 ราย

4. การพาณิชย์
  
             - ร้านค้า จำนวน 76  แห่ง
                - ตลาดสด  จำนวน 1 แห่ง
                - ตลาดนัด  จำนวน  5 แห่ง
>                 - ธนาคาร  จำนวน 3 แห่ง  ได้แก่  ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด (มหาชน)  ธนาคารออมสิน  และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                - สถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่  จำนวน  3  แห่ง
                - สหกรณ์การเกษตร  จำนวน 1 แห่ง

การคมนาคม

1.  การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอกับจังหวัด  รวมทั้งการคมนาคมภายในตำบลและหมู่บ้าน  มีรายละเอียด  ดังนี้

                1) ทางหลวงแผ่นดิน  หมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม)
               2) ทางหลวงจังหวัด หมายเลข 4152  เส้นทางสายพังงา-ทับปุด
               3) ทางหลวงชนบท  สาย 4118  เส้นทางทับปุด - บางเหรียง
               4) ทางหลวงชนบท สายทับปุด - อ่าวลึก
               5) ทางหลวงชนบท สายทับปุด - โคกไคร
               6) ทางหลวงจังหวัด สายบ่อแสน - ท่าไทร

2. การโทรคมนาคมติดต่อสื่อสาร
               1) มีที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
               2) มีการให้บริการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์  โดยมีจำนวนคู่สายทั้งหมด จำนวน 610 คู่สาย
               3) โทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้าน  จำนวน 42 เลขหมาย

สภาพทางสังคม

1. การศึกษา
            - โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา  ได้แก่โรงเรียนทับปุดวิทยา  
            - โรงเรียนเอกชน  จำนวน 2 แห่ง
            - โรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 16 แห่ง

2. การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
            - นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 67
            - นับถือศาสนาอิสลาม ประมาณร้อยละ 33
            - มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา
                1) วัดจำนวน 9 แห่ง  ที่พักสงฆ์ 2 แห่ง
                2) มัสยิด  จำนวน 11 แห่ง

3. การสาธารณสุข
          - โรงพยาบาล ขนาด 30 เตียง  จำนวน 1 แห่ง
          - สถานีอนามัยประจำตำบล  จำนวน 6 แห่ง