สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

Home แนะนำเรา Contents ค้นหา

Home
ข้อมูลทั่วไปอำเภอท่ายาง
สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
สถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอท่ายาง
ข้อมูล จปฐ.
ข้อมูลกชช.2 ค
โครงการ กข.คจ.
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จำนวนผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์Hit Counter

 

ข้อมูลทั่วไปอำเภอท่ายาง

ประวัติความเป็นมา

อาณาบริเวณอำเภอท่ายางในสมัยก่อน เมื่อปี พ.ศ.2435 ภูมิประเทศด้านตะวันตก 
โดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบและภูเขาสูงมีไม้ใหญ่ ๆ มากมาย เช่น ไม้ยาง ไม้มะค่า 
ไม้ตะเคียน ฯลฯ จนได้รับการเรียกขานว่า “ท่ายาง” สภาพท้องที่เป็นป่าใหญ่ มีไข้มาลาเรียชุกชุม 
ราษฎรที่อาศัยอยู่เป็นชาวกระเหรี่ยง และกระหร่าง ปัจจุบันยังมีเหลือตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่อำเภอ
แก่งกระจานภูมิประเทศด้านตะวันออกจรดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มและดินปนทราย
เหมาะแก่การเกษตรกรรม มีราษฎรจากจังหวัดอื่นมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินเป็นจำนวนมาก 
และมีผู้อพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นทุกปีในปี พ.ศ. 2436 ทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นที่หมู่บ้านวังไคร้ 
ริมแม่น้ำแม่ประจันต์ ตำบลวังไคร้ เรียกว่า “อำเภอแม่ประจันต์” ตั้งอยู่ได้ประมาณ 20 ปี ทางการ
เห็นว่าอยู่ไกลจากย่านชุมชนจึงได้ย้ายมาตั้งที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลยางหย่อง 
(ปัจจุบันเป็น หมู่ที่ 2 ตำบลท่าแลง) ตั้งอยู่ได้นานประมาณ 2 ปี จึงได้ย้ายมาตั้งที่ หมู่ที่ 1 บ้านท่ายาง 
ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรี เมื่อราวปี พ.ศ. 2460 แต่ยังเรียกอำเภอยางหย่องตามเดิม ต่อมาราวปี พ.ศ. 2480 
จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า “อำเภอท่ายาง” เพื่อให้ตรงกับหมู่บ้านที่เป็นที่ตั้งจนกระทั่งทุกวันนี้

สภาพภูมิศาสตร์

อำเภอท่ายาง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเพชรบุรี ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร 
ห่างจากกรุงเทพมหานคร ระยะทาง 134 กิโลเมตร มีทางหลวงแผ่นดิน (ถนนเพชรเกษม) ผ่านเขตอำเภอท่ายาง 
ประมาณ 10 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟตั้งอยู่ที่ตำบลหนองจอก แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านอำเภอ คือ แม่น้ำเพชรบุรี
อำเภอท่ายาง มีเนื้อที่ทั้งหมด ประมาณ 793.522 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 495,591.25 ไร่

อำเภอท่ายางมีอาณาเขตดังนี้

ทิศเหนือ ติดต่อ อำเภอบ้านลาด อำเภอเมืองฯ จังหวัดเพชรบุรี

ทิศใต้ ติดต่อ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

ทิศตะวันออก ติดต่อ ฝั่งทะเลอ่าวไทย

ทิศตะวันตก ติดต่อ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

ลักษณะภูมิประเทศ

เขตภูเขาและที่สูง อยู่ในเขตท้องที่ ตำบลกลัดหลวง และตำบลเขากระปุกเป็น บริเวณที่มี
ความแห้งแล้งมากกว่าพื้นที่บริเวณอื่นของอำเภอ
เขตที่ราบลุ่ม
จะเป็นพื้นที่ที่แม่น้ำเพชรบุรี และแม่น้ำแม่ประจันต์ไหลผ่านซึ่ง ได้แก่ 
ท้องที่ตำบลท่ายาง ตำบลท่าคอย ตำบลวังไคร้ ตำบลยางหย่อง เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญของอำเภอ
เขตที่ราบชายทะเล
มีระยะติดชายทะเลประมาณ 5 กิโลเมตร ในท้องที่ตำบลปึกเตียนเป็นแหล่งพักผ่อน
ตากอากาศของอำเภอท่ายาง

ภูมิอากาศ

ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนกุมภาพันธ์ - เดือนพฤษภาคม

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนมิถุนายน - เดือนกันยายน

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนตุลาคม - เดือนมกราคม

การปกครอง

แบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ. ลักษณะการปกครองพื้นที่ พ.ศ. 2457 มีทั้งหมด 12 ตำบล 118 หมู่บ้าน ดังนี้

ตำบลท่ายาง มี 10 หมู่บ้าน

ตำบลท่าคอย มี 11 หมู่บ้าน

ตำบลหนองจอก มี 14 หมู่บ้าน

ตำบลกลัดหลวง มี 11 หมู่บ้าน

ตำบลยางหย่อง มี 5 หมู่บ้าน

ตำบลมาบปลาเค้า มี 11 หมู่บ้าน

ตำบลวังไคร้ มี 10 หมู่บ้าน

ตำบลท่าไม้รวก มี 13 หมู่บ้าน

ตำบลเขากระปุก มี 14 หมู่บ้าน

ตำบลปึกเตียน มี 4 หมู่บ้าน

ตำบลท่าแลง มี 9 หมู่บ้าน

ตำบลบ้านในดง มี 6 หมู่บ้าน

มีเทศบาลตำบล 2 แห่ง คือ

เทศบาลตำบลท่ายาง

เทศบาลหนองจอก (หมู่ที่ 5 , 6 , 7 , 9)

- เทศบาลหนองจอกมีทั้งหมด 715 ครัวเรือน

- มีประชากรทั้งสิ้น 2,702 คน ชาย 1,281 คน หญิง 1,421 คน

มีสภาตำบล 1 แห่ง คือสภาตำบลท่าคอย (หมู่ที่ 5,7,10,11)

มีองค์การบริหารส่วนตำบล 10 แห่ง คือ

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจอก

องค์การบริหารส่วนตำบลกลัดหลวง

องค์การบริหารส่วนตำบลยางหย่อง

องค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า

องค์การบริหารส่วนตำบลวังไคร้

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าไม้รวก

องค์การบริหารส่วนตำบลเขากระปุก

องค์การบริหารส่วนตำบลปึกเตียน

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าแลง

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดง

ประชากร

มีประชากรในเขตพัฒนารวมทั้งสิ้น 69,901 คน แยกเป็นชาย 23,708 คน หญิง 36,193 คน 
ครัวเรือนทั้งสิ้น 17,138 ครัวเรือน รายได้เฉลี่ย 18,000 บาท/คน/ปี

สภาพทางเศรษฐกิจ

อำเภอมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิ้น 260,669 ไร่ ครอบครัวเกษตร จำนวน 31,982 ครัวเรือน

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ข้าว, กล้วย , มะนาว ,มะม่วง, สับปะรด , ชมพู่ ,อ้อย

ทางด้านปศุสัตว์ที่เลี้ยงกันมาก คือ โคเนื้อ , สุกร , โคนม

มีโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับอนุญาตดำเนินการและประกอบการ จำนวน 111 แห่ง

มีสถานีบริการเชื้อเพลิงขนาดใหญ่จำนวน 23 แห่ง

มีธนาคาร 8 แห่ง

ธนาคารกรุงไทย

ธนาคารกสิกรไทย

ธนาคารออมสิน

ธนาคารศรีนคร

ธนาคารทหารไทย

ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

สหกรณ์ 8 แห่ง

การเกษตรท่ายาง

เครดิตยูเนี่ยน

เครดิตยูเนี่ยนรวมน้ำใจท่ายาง

เครดิตยูเนี่ยนเขื่อนเพชร

เครดิตยูเนี่ยนหนองจอก

เครดิตยูเนี่ยนหนองขนาง

เครดิตยูเนี่ยนบ้านหนองเตียน

กลุ่มผู้ใช้น้ำแม่ประจันต์

การท่องเที่ยว

มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่

หาดปึกเตียน หมู่ที่ 3 ตำบลปึกเตียน

หาดเพชรรีสอร์ท หมู่ที่ 3 ตำบลปึกเตียน

วัดพระพุทธบาทเขาลูกช้าง หมู่ที่ 6 ตำบลท่าไม้รวก

ถ้ำเขาตอหม้อ หมู่ที่ 2 ตำบลกลัดหลวง

เพชรริมธารรีสอร์ท หมู่ที่ 4 ตำบลกลัดหลวง

พี.เฮาส์รีสอร์ท หมู่ที่ 4 ตำบลท่าไม้รวก

สวนเพชรรีสอร์ท หมู่ที่ 7 ตำบลท่าไม้รวก

การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม

การศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธประมาณ 97.36 % ศาสนาอื่นๆ ประมาณ 2.61 %

มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา

1. วัด , ที่พักสงฆ์ จำนวน 26 แห่ง

2. มัสยิด จำนวน 1 แห่ง

3. ศาลเจ้า จำนวน 4 แห่ง

ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น การแข่งขันเห่เรือบก , ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ , ประเพณีวันสงกรานต์ , ประเพณีการแห่เทียนเข้าพรรษา

การสาธารณสุข

มีการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ ดังนี้

- โรงพยาบาลขนาด 60 เตียง จำนวน 1 แห่ง

- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง

- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 18 แห่ง

- หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง จำนวน 1 แห่ง

- สถานพยาบาลของเอกชน จำนวน 7 แห่ง

- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 6 แห่ง

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ/ตำบล จำนวน 3 แห่ง ดังนี้

สถานีตำรวจภูธรอำเภอท่ายาง

- รับผิดชอบพื้นที่ ตำบลท่ายาง ท่าคอย บ้านในดง มาบปลาเค้า ท่าแลง

วังไคร้ ยางหย่อง

สถานีตำรวจภูธรตำบลท่าไม้รวก

- รับผิดชอบพื้นที่ ตำบลท่าไม้รวก กลัดหลวง เขากระปุก

สถานีตำรวจภูธรตำบลหนองจอก

- รับผิดชอบพื้นที่ ตำบลหนองจอก ปึกเตียน

การสาธารณูปโภค

มีการประปาระดับอำเภอและตำบล หมู่บ้าน ดังนี้

- การประปาส่วนภูมิภาค จำนวน - แห่ง

- การประปาหมู่บ้าน จำนวน 52 แห่ง

2. แหล่งน้ำกิน - น้ำใช้ ประเภทอื่น

- บ่อน้ำบาดาล จำนวน 1,720 บ่อ

- บ่อน้ำตื้น จำนวน 1,189 บ่อ

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรดิน อำเภอท่ายางมีแร่ธาตุที่สำคัญ คือ

- แร่ฟลูออไรท์ ที่ตำบลท่าไม้รวก

- แร่หินอ่อน ที่ตำบลเขากระปุก

- หิน กรวด ทราย ที่ตำบลวังไคร้ ตำบลท่าคอย ตำบลยางหย่อง

ทรัพยากรน้ำ อำเภอท่ายางมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่าน 2 สาย คือ

- แม่น้ำเพชรบุรี ไหลจากเทือกเขาพะเนินทุ่ง ชายแดนไทย - พม่า ในท้องที่ อำเภอแก่งกระจาน ไหลผ่านเขตอำเภอท่ายางไปสู่อ่าวไทยในเขตอำเภอบ้านแหลม

- แม่น้ำแม่ประจันต์ ต้นน้ำจากอำเภอหนองหญ้าปล้อง ไหลไปบรรจบแม่น้ำเพชรบุรี บริเวณโครงการชลประทานเขื่อนเพชร

ทรัพยากรป่าไม้ อำเภอท่ายางมีป่าไม้ที่สำคัญ ดังนี้

- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่ายางหัก – เขาปุ้ม ตำบลท่าแลง มีเนื้อที่ประมาณ 81,815 ไร่

- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชะอำ – บ้านโรง มีพื้นที่ครอบคลุมอำเภอชะอำและอำเภอท่าประมาณ 81,211 ไร่

- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาถ้ำเสือและป่าเขาโป่งแย้ มีพื้นที่ประมาณ 13,426 ไร่

- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่ายางน้ำกลัดเหนือ – ป่ายางน้ำกลัดใต้ มีพื้นที่ประมาณ 273,125 ไร่

- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่ายางท่าไม้รวก มีพื้นที่ประมาณ 3,777 ไร่

- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าห้วยโป่งงาม มีพื้นที่ประมาณ 1,366 ไร่

- ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าชุมชนเขาสน มีพื้นที่ประมาณ 318.75 ไร่

ศักยภาพและโอกาสของอำเภอ

อำเภอท่ายาง หากมองศักยภาพในภาพรวมพอที่จะสรุปศักยภาพและปัจจัยที่เกื้อหนุนต่อการพัฒนาอำเภอในอนาคต ได้ดังนี้

1. การท่องเที่ยว พื้นที่ส่วนหนึ่งของอำเภอท่ายางที่เป็นพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล มีหาดทรายขาวยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ในเขตตำบลปึกเตียน 
ประกอบกับมีระยะทางที่ห่างจากกรุงเทพมหานครไม่มากนัก จึงมีศักยภาพและเหมาะกับการประกอบอาชีพด้านการบริการการท่องเที่ยว 
ในลักษณะบ้านพักตากอากาศ ซึ่งในวันเสาร์ – อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวมาก

2. แหล่งน้ำ อำเภอท่ายางมีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำเพชรบุรีซึ่งไหลผ่านในเขตตำบลกลัดหลวง ตำบลท่าแลง ตำบลยางหย่อง ตำบลท่ายาง 
ตำบลท่าคอย และตำบลท่าไม้รวก มีความยาวประมาณ 62.5 กิโลเมตร และแม่น้ำแม่ประจันต์ ซึ่งไหลผ่านตำบลวังไคร้ มีความยาวประมาณ 8 
กิโลเมตร และมีระบบชลประทานทั้งของโครงการชลประทานเขื่อนเพชร และสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ครอบคลุมพื้นที่ 9 ตำบล จึงมีศักยภาพ
ต่อการเกษตรกรรมและพาณิชยกรรมอย่างยิ่ง

ปัญหาและข้อจำกัดในการพัฒนาอำเภอ

1. ปัญหาด้านคุณภาพชีวิต

ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของประชาชนไม่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน

ปัญหาสถานบริการสาธารณสุขไม่เพียงพอ ขาดศักยภาพในการพัฒนาวัสดุการแพทย์ไม่เพียงพอ

ปัญหาการเจ็บป่วยที่เกิดจากอุบัติเหตุ และภาวะการขยายตัวของชุมชน

ปัญหายาเสพติดในชุมชน

ปัญหาความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ

ปัญหาผู้ด้อยโอกาสไม่ได้รับการเลี้ยงดูด้วยคุณภาพชีวิต

2. ปัญหาด้านทรัพยากรมนุษย์

นักเรียนจบชั้นประถมศึกษาเรียนต่อ ม.1 ไม่ครบ 100 %

ผู้จบการศึกษาไม่มีทักษะในการประกอบอาชีพ และไม่สามารถวิเคราะห์หรือแก้ไขปัญหาได้

เยาวชนไม่ได้รับการเรียนรู้และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่เป็นวิทยาการสมัยใหม่ ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่รู้จักพัฒนาและนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้

ประชาชนไม่เข้าใจหลักธรรมทางศาสนาที่แท้จริง ไม่สามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำรงชีวิต บุคคลากรทางศาสนาไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร

ศาสนาไม่ได้รับการอนุรักษ์ ทำนุบำรุง ฟื้นฟู พัฒนาเพื่อประกอบศาสนกิจ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน

ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นถูกทอดทิ้ง ประชาชนไม่เห็นคุณค่า ไม่มีความรักความหวงแหนในศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม

 

 

 

Send mail to yangchum_c@hotmail.com with questions or comments about this web site.
Last modified: พฤษภาคม 28, 2546