ข้อมูลทั่วไป อำเภอทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี

สภาพทั่วไป

          ปัจจุบันที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิ ตั้งอยู่บ้านท่าขนุน หมู่ที่ 1 ตำบลท่าขนุน ริมฝั่งตะวันตก ของ  แม่น้ำแควน้อย  ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี ระยะทางห่างจากจังหวัดกาญจนบุรี
146 กิโลเมตร(ทางน้ำประมาณ 200 กิโลเมตร)

           ในปีงบประมาณ 2540 ได้มีการก่อสร้างที่ว่าการอำเภอหลังใหม่แทนอาคารเดิม ซึ่งก่อสร้างเมื่อปี  พ.ศ.2527     และอาคารที่ว่าการหลังใหม่นี้ได้ดำเนินการก่อสร้าง เสร็จเรียบร้อยแล้ว และทำพิธีเปิด
 ที่ทำการ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2542

เนื้อที่
           อำเภอทองผาภูมิมีเนื้อที่ประมาณ 3,655.171 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ  2 ล้าน 3 แสนไร่

อาณาเขตติดต่อ
          ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี อำเภออุ้มผาง  จังหวัดตาก  และอำเภอบ้านไร่
 ่จังหวัดอุทัยธานี
          ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
          ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี
           ทิศตะวันตก ติดต่อกับประเทศพม่า(อำเภอผิ่ง อำเภอต่อตุง จังหวัดทวาย)

ลักษณะภูมิประเทศ
            สภาพพื้นที่ เป็นป่าเขาสูงสลับซับซ้อนเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบบ้างตามริมแม่น้ำแควน้อย และ ที่ราบระหว่างภูเขา ซึ่งแปลงไม่ใหญ่มากนักราษฎรได้อาศัยพื้นที่เหล่านี้เป็นที่ประกอบ อาชีพกสิกรรม เลี้ยงสัตว์ และเป็นที่อยู่อาศัย ในส่วนของพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 330 เมตร สำหรับที่ว่าการอำเภอสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 110 เมตร            
         
 ภูเขา มีลักษณะเป็นภูเขาสลับซับซ้อนระหว่างชายแดนไทยกับพม่า คือทิวเขาตะนาวศรี ีีซึ่งเป็นพรหมแดน  ตามธรรมชาติที่สำคัญด้วย
           แม่น้ำ แม่น้ำสายสำคัญ คือ  แม่น้ำแควน้อย เกิดจากทิวเขาตะนาวศรี ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำ   เขื่อนวชิราลงกรณเขตอำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี แล้วไหลลงไปทางทิศเหนือจนไปถึงทิศใต้ผ่านลงไปอำเภอไทรโยค ไปประจบกับแม่น้ำแควใหญ่ ที่หน้าเมืองกาญจนบุรี รวมเป็นแม่น้ำแม่กลอง ไหลผ่านจังหวัดราชบุรี ไหลลงทะเลที่จังหวัดสมุทรสงคราม

ภูมิอากาศ
          ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู คือ
         - ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคม
         - ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม
         - ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ในฤดูหนาวอากาศหนาวเย็น
  กว่าทุกจังหวัด ในภาคกลาง ดินฟ้าอากาศคล้ายทางจังหวัดภาคเหนือ ของประเทศไทย

การปกครอง
           อำเภอทองผาภูมิแบ่งเขตการปกครองตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 เป็น 7 ตำบล
45 หมู่บ้าน ดังนี้

การเมืองการปกครอง
1. หน่วยงานสังกัดภูมิภาค มีจำนวน 8 แห่ง ได้แก่
1) ที่ทำการปกครองอำเภอ          2) สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอ
3) สำนักงานเกษตร                       4) สำนักงานสัสดีอำเภอ
5) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 6) สำนักงานสรรพากรอำเภอ
7) สำนักงานตำรวจภูธรอำเภอทองผาภูมิ
8) สำนักงานที่ดินจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนแยก อ.ทองผาภูมิ


2. หน่วยงานสังกัดส่วนกลางที่ตั้งในอำเภอ มีจำนวน 14 แห่ง ได้แก่
1) โรงพยาบาลทองผาภูมิ                  2) ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน
3) หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 11   4) หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 19
5) สถานีอุตุนิยมวิทยา                         6) หน่วยอนุรักษ์ทรัพยากรประมงน้ำจืดเขื่อนเขาแหลม
7) สำนักงานอัยการประจำศาลจังหวัดกาญจนบุรี
8) ศาลจังหวัดกาญจนบุรี(อำเภอทองผาภูมิ)
9) เรือนจำอำเภอทองผาภูมิ            10) หน่วยควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 7
11) กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 135      12) หมวดการทางอำเภอทองผาภูมิ
13) สำนักงานขนส่งจังหวัด สาขาทองผาภูมิ
14) ศูนย์สนับสนุนการฝึกอบรมองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก

3. หน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีจำนวน 8 แห่ง ได้แก่
1) เทศบาลตำบลทองผาภูมิ                                2) องค์การบริหารส่วนตำบลท่าขนุน
3) องค์การบริหารส่วนตำบลหินดาด            4) องค์การบริหารส่วนตำบลลิ่นถิ่น
5) องค์การบริหารส่วนตำบลสหกรณ์นิคม 6) องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเขย่ง
7) องค์การบริหารส่วนตำบลชะแล                 8) องค์การบริหารส่วนตำบลปิล๊อก

4. หน่วยงานสังกัดภูมิภาค มีจำนวน 7 แห่ง ได้แก่

1) ที่ทำการไปรษณีย์อำเภอทองผาภูมิ 2) สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
3) สำนักงานโทรศัพท์ทองผาภูมิ            4) การไฟฟ้าฝ่ายผลิต(เขื่อนวชิราลงกรณ)
5) ธนาคารกรุงไทย สาขาทองผาภูมิ    6) ธนาคารออมสิน สาขาทองผาภูมิ
7) สวนป่าทองผาภูมิ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตบ้านโป่ง

โครงสร้างพื้นฐาน
1. อำเภอทองผาภูมิมีหมู่บ้านที่มีไฟฟ้า จำนวน 39 หมู่บ้าน และไม่มีไฟฟ้า จำนวน 6 หมู้าน
2. การประปา
- ประปาหมู่บ้าน มีจำนวน 38 หมู่บ้าน
- การประปาในเขตเทศบาลตำบลทองผาภูมิ ใช้ระบบประปาของเทศบาลตำบลทองผาภูมิ
3. โทรศัพท์ มีจำนวนหมายเลขทั้งสิ้น 531 หมายเลข
4. การคมนาคม มีรายละเอียด ดังนี้
- มีทางหลวงแผ่นดินสาย 323
- เส้นทางเชื่อมต่อระหว่างตำบล หมู่บ้านเป็นสภาพถนนลูกรัง จำนวน 42 สาย
5. การสื่อสารและโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข จำนวน 1 แห่ง
- หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น จำนวน 1 ฉบับ
6. แหล่งน้ำกิน – น้ำใช้ มีดังนี้
- บ่อน้ำบาดาล จำนวน 43 บ่อ (บ่อส่วนตัว 27 บ่อ , บ่อสาธารณะ 16 บ่อ)
- บ่อน้ำตื้น จำนวน 232 บ่อ (บ่อส่วนตัว 25 บ่อ , บ่อสาธารณะ 207 บ่อ)
- ถังเก็บน้ำ จำนวน 4 แห่ง
- โอ่งน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 230 ใบ

เศรษฐกิจ
        1. โครงสร้างทางเศรษฐกิจ ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม โดยใช้แรงงานต่างด้าวเป็นหลัก
  ซึ่งจะทำให้ครอบครัวมีรายได้เฉลี่ยของราษฎร  ในอำเภอ 26,343 บาท/คน/ปี
ี       2. การเกษตร อำเภอทองผาภูมิมีพื้นที่การเกษตรทั้งสิน 118,500 ไร่ ครอบครัวเกษตร  
จำนวน 3,561 ครอบครัว

การพาณิชย์และบริการ
          - มีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ จำนวน 5 แห่ง
          - มีธนาคาร จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทย ธนาคารนครหลวง
          - มีสหกรณ์ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรห้วยเขย่ง จำกัด , สหกรณ์นิคมกุยมั่ง จำกัด , สหกรณ์บริการเดินรถทองผาภูมิ จำกัด สหกรณ์ยางพาราทองผาภูมิ , สหกรณ์นิคมทองผาภูมิ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนทองผาภูมิ จำกัด
          - โรงแรม

การท่องเที่ยว มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่
          1) แม่น้ำแควน้อย เหมาะแก่การล่งแก่งชมธรรมชาติ เพราะมีชะง่อนหินย้อยจากหน้าผาถึงแม่น้ำ
เป็นทิวสวยงาม
          2) บ่อน้ำพุร้อนหินดาด เป็นบ่อน้ำร้อนที่ผสมแร่ขึ้นมาจากใต้ดิน ตั้งอยู่หมู่ที่ 6   ตำบลหินดาด
อำเภอทองผาภูมิ ห่างจากทางหลวงสาย 323 ประมาณหลักกิโลเมตร ที่ 130 แยกเข้าไปประมาณ 100 เมตร ใช้อาบแช่ได้ครั้งละประมาณ 10 คน เชื่อกันว่ารักษา โรคภัยไข้เจ็บได้ดี ส่วนเรื่องการกำจัดของเสียนั้น บ่อมีลักษณะเป็นน้ำล้นและมีประตูเปิด น้ำทิ้งสำหรับล้างบ่อ
         3) น้ำตกผาตาด เกิดจากน้ำห้วยแม่คำมูล อยู่ที่หมู่ที่ 8 ตำบลหินดาด อำเภอทองผาภูมิเส้นทางเข้าน้ำตก
เริ่มจากสี่แยกหมู่ที่ 5 ตำบลหินดาด ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 127 ของทางหลวงหมายเลข 323 ที่ทางแยกจะมีป้ายขนาดใหญ่บอกทางเข้าและบริเวณใกล้เคียงมีเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดเล็ก  
ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากประเทศออสเตรเลีย สร้างมอบเป็นที่ระลึกในวาระรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี
เมื่อ พ.ศ.2525
         4) น้ำตกผาสวรรค์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ อยู่ใกล้กับเหมืองเนินสวรรค์ ซึ่งอยู่ติดต่อ
เขตบ้านสะพานลาว โดยเข้าเส้นทางหน่วยสหกรณ์นิคม น้ำตกนี้บางคนเรียกว่า “น้ำตกผาตาดใหญ่” หรือ “น้ำตกปูริติ๊กกรี้” เป็นน้ำตกที่สูงไม่ต่ำกว่า 100 เมตร
        5) น้ำตกคลิตี้ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ตำบลชะแล อำเภอทองผาภูมิ ใกล้กับเหมืองคลิตี้ เป็นน้ำตกที่รักษา
 ความเป็นธรรมชาติไว้อย่างมาก เพราะเส้นทางเข้าออกลำบากและอยู่ไกล จึงมีคนไปเที่ยวน้อยสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติจึงมีความสมบูรณ์อยู่มาก
         6) บึงเกริงกระเวีย ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลชะแล ห่างจากอำเภอทองผาภูมิไปตามเส้นทางราดยาง
อำเภอทองผาภูมิ – สังขละบุรี ประมาณ 35 กิโลเมตร เป็นบึงกว้าง อยู่ในเขต หวงห้ามล่าสัตว์ป่าเกริงกระเวีย กรมป่าไม้บรรยากาศเหมาะสำหรับการพักแรมเป็นหมู่คณะ
         7) เจดีย์โบอ่อง เป็นโบราณสถานที่สำคัญมากและขึ้นชื่อของอำเภอทองผาภูมิ อยู่ในบริเวณ
อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ ห่างจากอำเภอประมาณ 30 กิโลมเตร เป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นบนยอดเขาเล็ก ๆ มีบึงใหญ่ล้อมรอบ ในบึงมีดอกบัวขึ้นอยู่ทั่วไป เจดีย์เป็นทรงพม่า มีภูเขาเป็นฐานรองรับจะมีการจัดงาน เทศกาลนมัสการ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี
         8) ตลาดชายแดนบ้านอีต่อง เป็นหมู่บ้านชายแดนของไทย มีอาณาเขตติดต่อกับสหภาพพม่า
อยู่หมู่ที่ 1 ตำบลปิล๊อก ห่างจากตัวอำเภอทองผาภูมิประมาณ 75 กิโลเมตร มีสินค้าที่ระลึกของพม่า และสามารถมองเห็นทัศนียภาพฝั่งพม่าได้ เพราะเส้นเขตแดน อยู่บนสันเขา
         9) เขื่อนวชิราลงกรณ ตั้งอยู่เหนืออำเภอทองผาภูมิ ประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นเขื่อนแห่งแรก
ในประเทศไทย มีลักษณะตัวเขื่อนฉาบด้วยหินล้วน ลาดด้วยหน้าคอนกรีต เสริมเหล็ก ความยาวของตัวเขื่อน 1,020 เมตร ฐานกว้าง 270 เมตร สูง 92 เมตร คิดเป็นปริมาตรหินที่ใช้ถม 8 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเขื่อนที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ปีละ 775 ล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโงต่อปี
         10) อ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ มีพื้นที่ 30 ตารางกิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยว ล่องแพ  ตกปลา
ทิวทัศน์สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อน
         11) สนามกอล์ฟเขื่อวชิราลงกรณ อยู่ในบริเวณเขื่อนเขาแหลม จำนวน 9 หลุม
         12) สนามกอล์ฟกรีนเวิลด์ อยู่หมู่ที่ 6 ตำบลหินดาด มีจำนวน 18 หลุม

การศาสนาและวัฒนธรรม
         การศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประมาณร้อยละ 99 ศาสนาอื่น ๆ ประมาณ
ร้อยละ 1(คริตส์/อิสลาม) มีสถาบันหรือองค์กรทางศาสนา ดังนี้  ศิลปะวัฒนธรรม   และขนบธรรมเนียมประเพณี
อำเภอทองผาภูมิมีศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีแบบไทยภาคกลาง  แต่จะมีศิลปวัตถุ  ุที่เป็นแบบพม่าบ้าง  เช่น เจดีย์แบบพม่า นอกจากนี้ยังมีประเพณีของชาติกระเหรี่ยงตามแนวชายแดน

การสาธารณสุข
         1) การให้บริการด้านสาธารณสุข มีสถานบริการ ดังนี้
            - โรงพยาบาลขนาด 60 เตียง จำนวน 1 แห่ง
            - สำนักงานสาธารณสุข จำนวน 1 แห่ง
            - สถานีอนามัยประจำตำบล/หมูบ้าน จำนวน 13 แห่ง
            - สำนักงานส่วนมาเลเรีย จำนวน 2 แห่ง
            - สถานพยาบาลเอกชน จำนวน - แห่ง
            - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 5 แห่ง
       2) อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 98.26
      3) หอกระจายข่าว จำนวน 16 แห่ง ครอบคลุมได้ร้อยละ 38

การรักษาความสงบเรียบร้อย
          สถานีตำรวจภูธรอำเภอ/ตำบล จำนวน 2 แห่ง คือ สถานีตำรวจภูธรอำเภอทองผาภูมิ
และสถานีตำรวจภูธรตำบลปิล๊อก