การส่งข้อมูลแบบเฟรมเดียวเป็นการส่งข้อมูลในลักษณะที่เครื่องส่งจะทำการส่งเฟรมต่อไปได้ก็ต่อเมื่อได้รับสัญญาณตอบรับจากเครื่องรับ แต่ถ้าไม่ได้รับสัญญาณตอบรับจากเครื่องรับ เครื่องส่งก็จะต้องรอจนกว่าจะได้รับสัญญาณตอบรับ แล้วจึงจะส่งเฟรมข้อมูลต่อไปได้ เป็นผลทำให้ในขณะใดขณะหนึ่งจะมีเฟรมข้อมูลเพียงเฟรมเดียวเท่านั้นที่รอคำตอบรับจากเครื่องรับอยู่ ดังนั้น การส่งข้อมูลแบบเฟรมเดียวจึงมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ช้า เนื่องจากต้องรอคำตอบจากผู้รับในการส่งข้อมูลแต่ละเฟรม

การส่งข้อมูลแบบหลายเฟรม เป็นการส่งข้อมูลในลักษณะที่เครื่องส่ง ส่งเฟรมข้อมูลออกไปแล้วและสามารถที่จะส่งเฟรมข้อมูลต่อไปได้โดยไม่ต้องรอสัญญาณตอบรับ ถ้าจำนวนสัญญาณที่ยังไม่ได้ตอบรับมีค่าน้อยกว่าค่าที่กำหนดโดยโปรโตคอล LAP-D เช่น เครื่องส่งสามารถส่งเฟรมข้อมูลต่อไปได้ถ้าจำนวนสัญญาณที่ยังไม่ได้ตอบรับมีค่าน้อยกว่า 8 สำหรับการส่งแบบ Modulo 8 และจำนวนสัญญาณที่ยังไม่ได้ตอบรับมีค่าน้อยกว่า 128 สำหรับการส่งแบบ Modulo 128

ลักษณะที่สำคัญของ ISDN
     ISDN เป็นเน็ทเวิร์คโทรศัพท์ดิจิตอลที่มีชันแนล 64 Kbit/s มีวงจรการสวิตชิงของเน็ทเวิร์ค ซึ่งอาจจะเป็นแบบแพคเกต สวิตช์ (PACKET SWITCHED) ก็ได้ใน ISDN การเชื่อมต่อจาก SUBSCRIBER ถึง SUBSCRIBER เป็นดิจิตอลทั้งหมดการแอกเซสพื้นฐาน (BASIC ACCESS) สำหรับผู้ใช้บริการจะใช้ 64 Kbit/s สองชันแนล (B-CHANNEL) 16 Kbit/s หนึ่ง ชันแนล สัญญาน (D-CHANNEL) ในแต่ละทิศทาง การเชื่อมต่อกับชันแนล 64 Kbit/s ทำได้แม้ว่ามีปลายทางที่ต่างกันแต่ละ SUBSCRIBER จะมีเลขตำแหน่งค่าเดียว โดยไม่คำนึงถึงจำนวนและชนิดของเสียง TEXT, ข้อมูล และบริการสื่อสารอย่าง อื่น ๆที่จะมีการอินเตอร์เฟสเน็ทเวิร์คของผู้ใช้บริการทั้งหมดสวิตซ์กับ ISDN ชึ่งมีอุปรณ์ปลายทางที่แตกต่างกัน สามารถเชื่อมต่อด้วยมาตรฐานเดียวกันโดย COMMUNICATION PACKET และมีการกำหนดการติดตั้ง และยกเลิกของผู้ใช้บริการไว้ด้วยอุปกรณ์ที่ปลายทางของสถานีผู้ใช้บริการสามารถเชื่อมต่อ ในเน็ทเวิร์คแบบ BUS หรือ STAR ไม่เพียงแต่จะมีการเชื่อมต่อของ เน็ทเวิร์คกับสถานีผู้ใช้บริการแต่ระหว่างอุปกรณ์ ปลายทาง และสถานีผู้ใช้บริการก็สามารถให้บริการได้
SUBSCRIBER ที่อยู่นอกเน็ทเวิร์ค เช่น ในเน็ทเวิร์คโทรศัพท์แบบอนาลอกจะสามารถเชื่อมต่อผ่านเข้าสู่ ISDN ด้วยการเพิ่มส่วน INTERNET WORKING UNIT

หน้าที่ของอุปกรณ์ ISDN
        มาตรฐาน ISDN ได้กำหนดความแตกต่างของอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ ให้มีหน้าที่ และการปฏิบัติการ เฉพาะตัว แต่อาจจะไม่แสดง ลักษณะทางกายภาพของอุปกรณ์จริง มาตรฐานนี้เรียกว่า FUNCTIONAL DEVICE ถ้าข้อกำหนด ISDN อธิบายหน้าที่แบบต่าง ๆ ของอุปกรณ์ การอินเตอร์เฟสอุปกรณ์ต่ออุปกรณ์ ซึ่งแต่ละอย่างเป็นไปตามข้อกำหนด การสื่อสาร การอินเตอร์เฟสอุปกรณ์แต่ละตัวเรียกว่า REFERENCE POINT

หน้าที่ของอุปกรณ์แต่ละตัวมีดังนี้
     - (LE) หน่วยปฏิบัติการกลางของ ISDN (C.O.) เรียกว่า LOCAL EXCHANGE (LE) ข้อกำหนดของ ISDN เป็นการทำการทำงาน ใน LE ซึ่งอยู่ด้านข้างของ LOCAL LOOP LE จะทำงานรับผิดชอบรวมทั้งการตรวจสอบปฏิบัติการ การอินเตอร์เฟสทางกายภาพ และการเตรียมการตามการร้องขอบริการของลูกค้า บางครั้งการสร้าง LE อาจจะทำเป็นสองกลุ่มย่อยเรียกว่า LOCAL TERMINATION (LT)และEXCHANGE TERMINAL ซึ่งการทำงานของ LT จะสัมพันธ์กับจุดสิ้นสุดของ LOCAL LOOP ขณะที่ ET ทำหน้าที่เป็นสวิตชิงซึ่งในที่นี้จะเขียนเป็น(LE)แทน LT และ ET

      -เน็ทเวิร์คปลายทางที่ 1 NETWORK TERNINAL (NT1) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงการเชื่อมต่อทางกายภาพระหว่างลูกค้า และ LE จะทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงาน, สัญาณนาฬิกา, กำลังที่ส่งไป และการมัลติเพล็กช่องสัญญาณBและD ซึ่งเป็นการทำงานของ (NT1)
     -เน็ทเวิร์คปลายทางที่ 2 NETWORK TERNINATION เป็นอุปกรณ์ที่จัดหาตำแหน่งของการสวิตชิงของลูกคค้า, การมัลติเพล็ก และความหนาแน่นของลูกค้า รวมทั้ง PBX, LANS, คอมพิวเตอร์, เมนเฟรม, อุปกรณ์ควบคุม และอุปกรณ์อื่น ๆ ของลูกค้าสำหรับ การสวิตชิงเสียงและข้อมูล
     -TERMINAL EQUIPMENT (TE) เป็นอุปกรณ์ปลายทางของผู้ใช้บริการ เช่น โทรศัพท์แบบอนาลอก หรือแบบดิจิตอล, DTE, (x.25),IVDT, (INTERGRATED VOICE / DATA TERMINAL), เน็ทเวิร์ค ISDN (เวิร์คสเตชั่น)

คุณสมบัติของ ISDN
     อุปกรณ์ ISDN จะใช้ Bearer Channel เมื่อต้องการขอใช้บริการบน D-Channel ที่ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ในการทำงาน ตามการขอใช้บริการ
        -Bearer service เป็นขั้นตอนการทำงานที่ผู้ใช้บริการส่งข่าวสารจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งบนเน็ทเวิณ์คไปยังอุปกรณ์อีกตัว ข่าวสารจะถูก ส่งผ่านและใช้การทำงานของฟังก์ชันในเลเยอร์ล่างสุด 3 เลเยอร์ของแนวคิด OSI เท่านั้น ผู้ใช้บริการอาจจะทำการตกลงกันเอง ที่จะขอใช้บริการเลเยอร์ที่สูงกว่าในการเชื่อมต่อ ตัวอย่างเช่น การสนทนาด้วยภาษา อาจจะใช้การทำงานของเลเยอร์ที่สูงระหว่างผู้ใชเน็ทเวิร์คโทรศัพท์
        -Teleservices เป็นค่าที่เพิ่มขึ้นมา บริการนี้เตรียมการโดยเน็ทเวิร์คเกี่ยวกับการขนส่งบิท บริการนี้สามารเป็นแบบ End - To-End (User To User) และใช้คุณสมบัติของเลเยอร์ต่ำกว่าทั้ง 3 เลเยอร์ การบริการ Teleservices ที่เห็นโดยทั่ว ๆ ไปคือ วีดีโอเทกซ์ และ เทเลเท็กซ์

     ISDN จำเป็นต้องมีการทำงานที่สามารถให้บริการในหลาย ๆ ด้านที่ต่างกัน และเน็ทเวิร์คต้องทำงาน ต่อไปนี้ได้
     -ปฏิบัติการเกี่ยวกับเสียงพูด สัญาณเสียง แฟล็ก การอัดข้อมูลวีดีโอ ภาพเครื่อนที่ของวีดีโอ ข้อมูลจำนวนมาก
     -มีประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่องในขณะที่เกิดความหนาแน่นของข่าวสาร      -มีวามกว้างของแถบความถี่ที่ต้องการใช้งานที่เพียงพอ
     -การเรียกอุปกรณ์ปลายทางและการทำงานอื่น เป็นไปด้วยความรวดเร็ว
     -มีช่วงของการส่งที่กว้างมากด้วยอัตราการส่งที่สูง
     -ให้ความผิดพลาดของข้อมูลน้อยที่สุด
     -ระดับของการสื่อสารมีความปลอดภัยของข้อมูลสูงสุด


เลขหมายและแอดเดรส ISDN
     -เลขหมาย ISDN คือ เลขหมายที่ซึ่งสัมพันธ์กับเน็ทเวิร์ค ISDN และเลขหมายที่ได้วางแผนไว้แล้ว เช่น โทรศัพท์ ISDN จะมี เลขหมายที่จุดอินเตอร์เฟสของผู้ใช้บริการ คือ จุดอ้างอิง T
     -แอดเดรส ISDN คือ เลขหมายของISDN ที่ปลายทางของข่าวสาร เป็นจุดสุดท้ายที่อุปกรณ์ปลายทาง เช่นที่จุดอ้างอิง S

หลักการโครงการเลขหมายมีรายละเอียด
     -ให้เลขหมายที่จุดอ้างอิง T ของผู้ใช้บริการที่อินเตอร์เฟสกับเน็ทเวิร์ค
     -ให้เลขหมายของ ISDN ที่ D - Channel
     -สับแอดเดรสใช้จำแนกอุปกรณ์ปลายทาง และเลือกเส้นทางการต่อหมายเลข ISDN (มีทั้งหมด 40 หลัก)
     -การเปลี่ยนแปลงหรือเริ่มเลขหมาย ISDN ใหม่เริ่มที่จุดอ้างอิง T เสมอ

การวางแผนเลขหมาย ISDN
     -รหัสประเทศ(Country Code) ใช้สำหรับเลือกเมืองปลายทางของการเรียกประกอบด้วยเลข 3 หลัก
     -รหัสปลายทางในประเทศ และเลขหมายผู้ใช้บริการ ใช้เลือกผู้ใช้บริการปลายทาง มีความยาวขึ้นกับความจำเป็นของกทำงานของ เน็ทเวิร์ค หมายเลขสากลมีค่าได้สูงสุด 15 หลัก
     -สับแอดเดรสเป็นที่อยู่ของจุดหมายปลายทาง ที่เน็ทเวิร์คจะส่งข้อมูลเพื่อติดต่อด้วยตามปฏิบัติการ การเรียกมีค่ามากที่สุด 40 หลัก

การบริการของ ISDN
     พัฒนาการของเน็ทเวิร์คโทรศัพท์ที่เคยให้บริการเพียงเสียงอย่างเดียวที่ใช้เทคโนโลยีทางอนาลอกได้เปลี่ยนแปลง เป็นระบบดิจิตอลที่มีรูปแบบการให้บริการเพิ่มอีกมากมาย ภายในเน็ทเวิร์คเดียวกัน เพราะการพัฒนาเปลี่ยนแปลงของ คอมพิวเตอร์ไมโครโปรเซสเซอร์ และไอซีต่าง ๆ เมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งให้ราคาของ อุปกรณ์ดิจิตอล เหล่านี้มีค่าลดลง ทำให้เกิดเน็ทเวิร์คใหม่ ๆ ที่รวมการบริการทุก ๆ อย่างไว้ด้วยกัน เพราะว่าเทคโนโลยีด้านดิจิตอลไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องของโทรศัพท์ มันยังรามบริการอย่างอื่น ๆ ที่มีความจำเป็นในทางธุรกิจ แนวคิดนี้จึงเกิดการสื่อสารแบบจุดต่อจุด และจุดต่อหลายจุดขึ้น โดยมีอัตราการรับ - ส่งข้อมูลเป็น Basic Rate และ PrimaryRate Interface ตามลำดับโดยผ่าน PBX ขององค์กรนั้น ก่อนจะต่อเข้าสู่เน็ทเวิร์ค ISDN

บริการโหมดแพคเกต
     เป็นบริการของ ISDN อย่างหนึ่งที่มีความสำคัญมากเพื่อเตรียมการส่งข้อมูลเป็นแพกเกตโดยใช้ข้อกำหนดที่เป็น มาตรฐานของ CCITT x.25 ซึ่งในปัจจุบันการสวิตชิง Packet ได้รับการทำงานของเน็ทเวิร์ค PSPDN (Packet Switched Public Data Networks) อย่างไรก็ตาม x.25 ก็ยังใช้ใน ISDN อยู่ อุปกรณ์ DTE ไม่สามารถต่อโดยรงเพื่อทำการแอกเซสเน็ทเวิร์ค ISDN ได้ เพราะข้อกำหนดของ x.25 เข้ากันไม่ได้กับข้อกำหนด ISDN แต่ TA สามารถรองรับข้อผิดพลาดที่กล่าวมาได้ อย่างไรก็ตาม โดยการต่อเข้าโดยตรงกับ DTE ขั้นแรก TA