ยินดีต้อนรับสู่ http://www.oocities.org/pheedu เว็บไซต์ผีดุของคนไทย !!

....................................ตามไปดูเครื่องทรมานและเครื่องประหารนักโทษ

...........้  ผมขอนำท่านผู้อ่านไปพบกับ "เครื่องมือที่ใช้ในการทรมานและเครื่องประหารชีวิต" ที่ใช้กับนักโทษ (ในสมัยก่อน) ซึ่งผมคิดว่าน้อยคนนักจะมีโอกาสได้เห็นเครื่องมือที่ว่านั้น !!!
ทำไมต้องการมีการลงโทษ?
คำตอบก็คือ การลงโทษเป็นการแสดงให้เห็นว่า บุคคลที่ได้กระทำความผิดต่อตัวบทกฏหมาย ซึ่งเป็นอาญาของบ้านเมือง จะได้รับผลของการกระทำในรูปแบบใด 
สมัยก่อนหากมีการฆ่ากันตาย หรือมีการทำร้ายร่างกาย รวมทั้งความผิดอื่นๆ เกี่ยวกับร่างกาย เช่นการ ข่มขืน กระทำชำเลา หรือเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ผู้กระทำความผิดมักจะปฏิเสธไว้ก่อน เพื่อให้ตัวเองพ้นจากความผิดนั้น 
เมื่อเห็นว่าคนร้ายไม่ยอมรับสารภาพ ทางผู้รักษากฏหมายจะนำวิธีการ "ทรมาน" ร่างกาย มาใช้ เพื่อให้คนร้ายยอมรับสารภาพ ซึ่งวิธีการทำให้คนร้ายยอมเปิดปากรับสารภาพ มันก็ต้องมีเครื่องไม้เครื่องมือเป็น "ตัวช่วย" 
............ในสมัยก่อน เครื่องมือที่ใช้ในการทรมานนักโทษ จะเต็มไปด้วยความโหดร้าย น่าเสียวสยอง การลงโทษผู้ที่กระทำความผิด ส่วนมากแล้วจะกระทำกันในที่เปิดเผย
 เพื่อให้ประชาชนคนทั่วไปได้มีโอกาสเห็นภาพความโหดร้ายของการลงโทษ เพื่อที่จะได้ไม่เอาเป็นเยี่ยงอย่าง นั่นเอง 
ปัจจุบันนี้การลงโทษโดยวิธีการทรมานได้หมดไปแล้ว แต่เครื่องไม้เครื่องมือที่ใช้ทรมานนักโทษ "สมัยก่อน"
 ยังคงถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ของกรมราชทัณฑ์ 

ประสบการณ์จริงคนถูกผีหลอก

วินาทีแห่งความตาย

ไม่เชื่ออย่าลบหลู่

คุณเชื่อหรือไม่

ท่องแดนลี้ลับ

สัมผัสที่ 6

ที่นี่ผีดุ
Gallery

เซ็นสมุดเยี่ยมชม

............พิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ เริ่มจัดตั้งเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2482 พ.อ.ขุนศรีศรากร (ชลอศรีศากร) ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้รวบรวมวัตถุเกี่ยวกับการลงโทษ และวัตถุโบราณที่พบภายในบริเวณเรือนจำต่างๆ ทั่วประเทศ จัดแสดงเรือนจำกลางบางขวาง 
เมื่อมีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์ บริเวณตรงข้ามเรือนจำกลางบางขวาง จึงได้ขนย้ายวัตถุสิ่งของดังกล่าวมาจัดแสดงอาคารศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์ ในนามพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ โดยมีพิธีเปิดเป็นทางการพร้อมกับอาคารศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2515 ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2530 ให้ปรับปรุงบริเวณที่ตั้งของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร โดยให้กรุงเทพมหานครจัดสร้างสวนสาธารณะน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนม์มายุครบ 60 พรรษา และได้กำหนดบริเวณอาคารด้านหน้าจำนวน 3 หลัง และอาคารแดน 9 ซึ่งกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงประวัติความเป็นมาของกิจการราชทัณฑ์ โดยจัดย้ายสิ่งของจากพิพิธภัณฑ์ เดิมในบริเวณศูนย์ฝึกอบรมข้าราชการราชทัณฑ์ มาตั้งแสดง ณ พิพิณภัณฑ์ที่จัดสร้างใหม่ 
............สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเป็นทางการพร้อมกับสวนสาธารณะ ซึ่งได้รับพระราชทานชื่อว่าสวนรมณีนาถ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2542
............อาคารหลังที่ 1 (ชั้นล่างแบ่งเป็น 2 ห้อง)
ห้องแรก จัดแสดงเครื่องพันธนาการ ในสมัยโบราณ ได้แก่ ชื่อ คา โซ่ ตรวน สมอบก และกลังเป็นต้น
ห้องที่สอง จัดแสดงเครื่องมือการลงทัณฑ์สมัยโบราณด้วยิวธีการที่เรียกว่า จารีตนครบาล ได้แก่ การลงทัณฑ์ด้วยวิธีทารุณ เช่น การบีบเล็บ บีบขมับ เบ็ดเหล็ก ตระกร้อช้างเตะ เป็นต้น
ชั้นบน (แบ่งเป็น 3 ห้อง)
ห้องแรก แสดงให้เห็นถึงการประหารชีวิตแบบสมัยโบราณ ได้แก่ การแสดงหุ่นประหารชีวิตด้วยดาบ ประกอบด้วยศาลเพียงตา ขันน้ำมนต์ และอาหารมื้อสุดท้าย ของผู้ต้องขังเป็นต้น
ห้องที่สอง จัดแสดงอาวุธปืน ซึ่งเคยใช้ในราชการของกรมราชทัณฑ์ในสมัยต่างๆ และอุปกรณ์การลักลอบนำยาเสพย์ติด เข้าเรือนจำอุปกรณ์การหลบหนี และอุปกรณ์ก่อเหตุร้าย ของผู้ต้องขังชนิดต่างๆ
ห้องที่สาม จัดแสดงการประหารชีวิตแบบปัจจุบัน คือการประหารชีวิตด้วยปืน
............อาคารหลังที่ 2 
ชั้นล่าง แสดงภาพประวัติความเป็นมาของเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร (เดิม) ในสมัยต่างๆ และแสดงวัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้ ที่คงเก็บไว้ภายหลังการรื้อถอนอาคารเรือนจำพิเศกรุงเทพมหานคร (เดิม)
ชั้นบน จัดเป็นห้องแสดงนิทรรศการ พระมหากรุณาธิคุณของพระบรมราชจักรีวงศ์ในงานราชทัณฑ์
...........อาคารหลังที่ 3
จัดเป็นสถานที่สำหรับจำหน่ายสินค้าที่ระลึก สำหรับผู้เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และเป็นที่บรรยายสรุปประวัติความเป็นมาการราชทัณฑ์ไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันให้กับผู้เยี่ยมชมเป็นคณะ
...........อาคารหลังที่ 4 หรือ อาคารแดน 9
เป็นอาคารเรือนนอนผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร (เดิม) ซึ่งคงสภาพเดิมไว้เพื่อแสดงให้เห็นถึงลักษณะ ของอาคารห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ห้องควบคุมผู้ต้องขัง และสภาพการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ต้องขังเช่น การกินอยู่หลับนอน ลักษณะการก่อสร้างตัวอาคารเป็นการนำเอาแบบอย่างทางตะวันตกมาใช้ เช่น มีระบบการเปิดปิดห้องนอนผู้ต้องขังเป็นระบบรวมโดยยกคันยกเพียง 1 ครั้ง สามารถเปิดปิดห้องนอนได้ถึง 9 ห้อง
ตัวอย่างการลงโทษของไทยในอดีต
............การประหารชีวิต 
เป็นการลงโทษที่รุนแรง และเก่าแก่ที่สุด ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือการกำจัดผู้กระทำผิดให้พ้นไปจากสังคมด้วยการฆ่า มีครูเพชฌฆาต เป็นผู้จัดทำดาบขึ้น เพชฌฆาตผู้ทำหน้าที่ประหารชีวิตมี 3 คน คือดาบที่หนึ่ง และตัวสำรองอีก 2 คน เรียกว่าดาบสอง ดาบสาม ถ้าดาบหนึ่งฟังคอไม่ขาด ดาบสองจะต้องซ้ำ ถ้ายังไม่ขาด ดาบสามก็ต้องเชือดให้ขาด
-เบ็ดเหล็ก
ใช้เพื่อลงทัณฑ์ผู้ต้องโทษโดยเกี่ยวเบ็ดเหล็กเข้าใต้คาง ปลายแหลมของเบ็ดเหล็กเสียบทะลุคางถึงใต้ลิ้น แล้วชักลอกดึงรั้งคางของผู้ต้องขังให้ลอยขึ้น จนปลายเท้าลอยจากพื้นดิน โดยไม่ให้คางหลุดจากเบ็ดเหล็ก
-หีบทรมาน
มีลักษณะคล้ายหีบศพขนาดพอดีกับตัวคน ที่ฝาปิดมีรูเจาะไว้ 2 รู เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณครึ่งนิ้ว สำหรับให้พอหายใจได้เท่านั้น อาจวางนอน หรือวางยืนกลางแดดก็ได้ ร้อนจนอึดอัดแทบขาดใจตาย
-ไม้บีบเล็บ
เป็นไม้เนื้อแข็ง 2 อัน ปลาย 2 ข้าง เป็นปุ่ม และเรียวลงไปตามกลางโป่ง ยึดปลายข้างหนึ่งไว้ด้วยเชอกให้แน่น เมื่อเอาบีบลงตรงเล็บผู้ที่ถูกสอบสวนแล้ว ก็เอาเชือกรัดขันปลายอีกด้านหนึ่งให้แน่นแล้วใช้ค้อนไม้เนื้อแข็งทุบลงตรงกลางที่วางเล็บไว้
-ขื่อ
เป็นเครื่องพันธนาการใช้จองจำนักโทษ ซึ่งเป็นโทษทางอาญาควบคู่กับการจำคุก ใช้ใส่มือและเท้าทั้งสองข้าง มี 2 ชนิดคือ ขื่อมือและขื่อเท้า ขื่อเท้าทำด้วยไม้เนื้อแข็ง รูปร่างคล้ายเสาสี่เหลี่ยมมีความยาวพอสมควร ที่ตัวไม้นี้เจาะเป็นช่องทะลุตลอดขนาดพอให้เท้าโผล่ อีกข้างหนึ่งด้านบนของช่องที่สอดเท้า มีลิ่มตอกบังคับไม่ให้ดึงเท้ากลับออกมาได้
............ปัจจุบันนี้การลงโทษด้วย "ทารุณกรรม" ได้หมดไปแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ คดีอุฉกรรจ์ คดีสะเทือนขวัญ ได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีทีท่าจะว่าลดจำนวนลงแต่อย่างใด
กฏหมานอ่อนเกินไป คนร้ายมันก็ได้ใจ…เป็นเรื่องธรรมดา !!!

กลับหน้าแรก