ด้านวัฒนธรรมประเพณี จังหวัดเชียงรายมีวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน และ ปัจจุบันได้จัดตั้ง องค์กรทางด้าน วัฒนธรรม เพื่อให้ท้องถิ่นเข้ามาจัดการงานด้านวัฒนธรรมดังนี้

จัดตั้งสภาวัฒนธรรมจังหวัดและสภาวัฒนธรรมอำเภอ จำนวน 16 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ
จัดตั้งศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงรายที่ สถาบันราชภัฏเชียงราย
จัดตั้งหอวัฒนธรรมนิทัศน์ เฉลิมพระเกียรติกาญจนาภิเษก บริเวณอาคารศาลากลาง (หลังเก่า)เพื่อเป็นสถานที่แสดง วัฒนธรรมชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในเชียงราย

        จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองเก่าแก่ และ มีการติดต่อสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศใกล้เคียง เช่น พม่า และ ลาว มาช้านาน ประกอบกับพลเมือง ที่ย้ายถิ่นฐาน มาจากที่ต่างกัน จึงเป็นเหตุให้วัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆ ปรากฏ สืบทอดกันมา เป็น ลักษณะ ผสมผสานกลมกลืน หรือ ประยุกต์ ขึ้นมาใหม่ ่ อย่างไรก็ตามวัฒนรรมทางด้านภาษา ซึ่งถือเป็ นหลักของ วัฒนธรรมทั้งปวงนั้น ชาวเชียงงรายยังยึดมั่นในภาคเหนือ ส่วนวัฒนธรรมทางด้านวัตถุ ซึ่งแสดงออกในรูปของอาหาร วัฒนธรรม จะเห็นว่าเป็น ลักษณะ ผสม พม่า กับ ลาว เวียงจันทร์ ยากที่ผู้เชียวชาญทาง ด้านนี้ จะบอกได้แน่นอนว่าเป็นแบบใด แต่ที่ ี่ถือเป็นเอกลักษณ์สำคัญ ของ จังหวัดเชียงรายคือ วัฒนธรรมเชียงแสน ทา งด้านประเพณี ของท้องถิ่น ที่ยังมิให้เห็นตราบจนถึง ทุกวันนี้ พอจะประมาณได้ดังนี้

ประเพณีสงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่มาแต่โบราณ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี ชาวเชียงราย ถือว่า เป็นวันขึ้นปีใหม่ เปลี่ยนศักราชใหม่ ชาวบ้านเรียกกันว่า "วันสังขารล่อง" หมายถึงว่าอายุสังขารของคนเราได้ล่วง ไปอีกปีหนึ่ง นิยมไปจนถึง วันที่ 17 เมษายน ในแ ต่ละวัน จะมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การขนทรายเข้าวัด สรงน้ำพระพุทธรูป และ รดน้ำดำหัว หัวผู้ใหญ่ในอำเภอเชียงแสน จะมีการสรงน้ำพระเจ้าลานทอง และการแข่งเรือ 3 ชาติ

ประเพณีรดน้ำดำหัว เป็นการแสดงความคารวะแก่ผู้ใหญ่ เรียกว่า เพื่อขอขมาลาโทษในความผิดพลาดต่าง ๆ ที่ผ่านมา และ เป็นการ แสดงออกถึง "กตเวทิตาธรรม" ต่อผู้ใหญ่ครูบาอาจารย์หรือบุคคลทีเคารพนับถือ

ประเพณีเจ้าพระยา เป็นประเพณีของชาวไทยล้านนา โดยทั่วไปมีทั้งการสืบชะตาเมือง สืบชะตาบ้าน และ สืบชะตา บุคล เพื่อ ความเป็น สิริมงคล เพื่อความเป็นสิริมงคลความเจริญรุ่งเรือง มีการเตรียมเครื่องบูชาเซ่นไหว้ต่าง ๆ มาก มาย เพื่อบูชาพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง ส่วนการสืบชะตาบุคคล นั้นมักจะ ทำเนื่องในวันเกิด งานขึ้นบ้านใหม่ หรือ เมื่องาน ขึ้นบ้านใหม่หรือเมื่อเจ็บป่วย

ประเพณีทานข้าวสลาก หรือ ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "ตานก๋วยสลาก" หมายถึง ประเพณีถวายสลากัต นั่นเอง เริ่มใน วันเพ็ญ เดือน 12 เหนือ ตลอดเดือนแล้ว แต่ที่ใดจะเห็นเหมาะสมจัดในวันใดก่อนวันพิธีถือว่าเป็น "วันดา" ชาวบ้านจะเตรียมเครื่องไทยทาน แล้วนำไปวัดที่จัดงาน เพื่อถวายพระ สามเ ณร มีการเขียนคำอุทิศส่วนกุศล ไปให้ผู้ตาย และ พวกเทวดาทั้งหลาย มีการจับสลากในการถวายตามหมายเลขว่า ตรงกับพระ
รูป ใด พระรูปนั้นก็จะรับ ประเคนและจะให้พร

ประเพณีลอยกระทง มีการลอยกระทงเช่นเดียวกับทางภาคอื่น ๆ ในวันยี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนสิบสอง) ของทุกปี แต่ที่จังหวัดเชียงราย จัดเป็นพิเศษ โดยจัดให้การแห่กระทงไปลอยในแม่น้ำ มีการประกวดกระทงและนางนพมาศ จุดเทียน เล่นไฟมีงานประเพณีใหญ่โต กระบวน แห่กระทงโดยทั่วไป กระทง เล็กจะลอยในวัน่ขึ้น 15 ค่ำ ส่วนกระทงใหญ่ที่เช้าประกวด จะลอยในวันแรม 1 ค่ำ

ประเพณีทำบุญปอย มี 3 อย่าง คือ

ประเพณีจุดบ้องไฟ ชาวบ้านเรียกว่า "จิบอกไฟ" มักทำกันหลังสงกรานต์ระหว่างเมษายนถึงพฤษภาคม โดยมีความเชื่อว่า จะทำให้หมู่บ้าน เจริญรุ่งเรืองและมีฝนตกตามฤดูกาล นิยมจุดกันในเวลาพลบค่ำถึงกลางคืน

งานวันลิ้นจี่เชียงรายและสับปะรดนางแล จะจัดประมาณเดือนพฤษภาคม ในงานมีการประกวดลิ้นจี่ สับปะรด และผลิตผลเกษตรอื่น ๆ พร้อมทั้งมีการประกวดธิดาลิ้นจี่อีกด้วย

งานพ่อขุนเม็งราย จัดขึ้นประมาณปลายเดือนมกราคมของทุกปี เป็นงานประจำปีของจังหวัด มีการออกร้านจัดนิทรรศการของส่วนราชการ และเอกชน และงานรื่นเริงอื่น ๆ มีการประกวดกล้วยไม้และไม้ดอกไม้ประดับอื่น ๆ

เทศกาลชิมชาและดอกซากุระบาน จัดบนดอกแม่สลอง อ.แม่จัน ปลายเดือน มกราคม มีการประกวดธิดาชา และการแสดงของชาวเขา และมีการสาธิตวิธีชงชา และนิทรรศการปลูกชา พร้อมชมดอกซากุระ หรือนางพญาเสือโครง

งานสตรอเบอร์รี่ และดอกไม้บาน จัดที่อำเภอแม่สายประมาณต้น ภายในงานจะได้ชิมสตรอเบอร์รี่และผลไม้เมืองหนาว หลายชนิด รวมทั้งซื้อผลไม้ได้ในราคาถูก

เทศการกินปลาน้ำโขงและอนุรักษ์แพร่ปลา จัดที่บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ ประมาณกลางเดือน เม.ย. เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ปลาบึก โดยมีการผสมพันธุ์ปลาบึก ที่จับได้เพื่อแจกจ่ายให้ประชาชน มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าตามชายหาดริมแม่น้ำโขง