จากคำประพันธ์ข้างต้นเล่นคำว่า  “แก้ว”  คำว่าแก้วในคำแรกหมายถึงนกแก้ว  แก้วในคำที่สองเป็นชื่อต้นไม่  และแก้วในคำสุดท้ายหมายถึงนางอันเป็นที่รักดังดวงตา

4.1.4    การเลียนเสียงธรรมชาติ

 

คำประพันธ์ต่อไปนี้เป็นการเลียนเสียงการบินของผึ้ง  ในคำว่า  “หึ่ง หึ่ง” 

เป็นเสียงที่มีลักษณะทอดซ้ำ  วนเวียนอยู่เหมือนการบินของผึ้ง  ช่วยเสริมจินตนาการให้แก่ผู้อ่านให้คิดถึงการเคลื่อนไหวของผึ้ง

 

                             เกือบรุ่งฟุ้งกลิ่นเกลี้ยง                    เพียงสุคนธ์

                        หึ่งหึ่งผึ้งเวียนวน                                  ว่อนเคล้า

 

                                                                        (โคลงนิราศเมืองสุพรรณ : สุนทรภู่)

                        นอกจากนี้  กวียังนำประโยชน์ของเสียงวรรณยุกต์มาใช้ล้อไล่กันทำให้เกิดความไพเราะและสนุกสนานยิ่งขึ้น  ตัวอย่างจากกดนตรีประดับบทหนึ่งว่า

                             อมรแมนแม่นแม้น                           เจ้างงามโฉม

                        ชะลอล่อล้อโลกให้โศกโทรม                แต่เลาเล่าเล้าโลมฤดีแด

 

                                                                        (จารึกวัดพระเชตุพน)

4.2   ลีลาและจังหวะ  เป็นคุณสมบัติอีกอย่าหนึ่งที่ทำให้ร้อยกรองมีความไพเราะ  ทั้งช่วยสร้างภาพในจิต  สร้างอารมณ์  และความรู้สึกแก่ผู้อ่าน  ผู้แต่งบทกวีจะเลือกใช้คำให้เหมาะกับเหตุการณ์หรือบรรยากาศ  เช่น  ในช่วงเศร้าโศกก็ใช้ลีลาของถ้อยคำที่ดูราบเรียบเชื่องช้า  แต่ถ้าเป็นบทรื่นเริงก็จะใช้ลีลาของถ้อยคำที่สนุกสนาน  เช่น

 

4.2.1                   ลีลาเศร้าสร้อย

   พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต

ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง

ว่าจากเรือนเหมือนนกที่จากรัง

อยู่ข้างหลังก็จะแลชะแง้คอย

   ถึงยามค่ำย่ำฆ้องจะร้องไห้

ร่ำพิไรรัญจวนหวนละห้อย

โอ้ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย

น้ำค้างย้อยเย็นฉ่ำทิฆัมพร

 

 Page 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20