ศึกบถึงและมึงก็ยังมิเห็น

                                    จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น                 ประการใด

                                                อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ

                                    ขยาดขยั้นมิทันอะไร                             ก็หมิ่นกู

                                                กลกะกากะหวาดขมังธนู

                                    บห่อนจะเห็นธวัชริปู                             สิล่าถอย

                                                                                    (สามัคคีเภทคำฉันท์ : ชิต บุรทัต)

4.3    กวีโวหาร  คือ  ศิลปะแห่งการใช้ถ้อยคำเพื่อให้เกิดภาพพจน์และภาพใจจิต  บทร้อยกรองใดสามารถเสนอภาพให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพได้อย่างเด่นชัด  บทร้อยกรองนั้นจัดว่างทรงคุณค่าทางวรรณศิลป์  กวีโวหารเกิดจากการเลือกใช้คำอย่างมีศิลปะโดยการเปรียบเทียบในลักษณะต่าง ๆ ได้แก่

            4.3.1  อุปมา คือ การเปรียบเทียบความเหมือนกันของสองสิ่งโดยใช้คำที่มีความหมายว่า “เหมือน” คำใดคำหนึ่ง  เช่นกล เฉกดุจ ดัง ราว ราวกับ ปานประหนึ่ง เพียง เพี้ยง พ่าง เสมอ เสมือน เหมือน เป็นต้น  การเปรียบเทียบลักษณะนี้จะมีข้อความ  ส่วน  ส่วนหนึ่งกล่าวก่อนเรียก อุปไมย  ส่วนที่กล่าวเปรียบเทียบและอยู่หลังคำเชื่อมเรียกว่า อุปมา เช่น

    พระองค์โอภาสเพี้ยง                        ศศิธร

เสด็จดุจเดือนเขจร                               แจ่มฟ้า

ดวงดาวดาษอัมพร                               เรียงเรียบ

ดูดุจพลเจ้าหล้า                                   รอบล้อมเสด็จโดย

                                                                    (ลิลิตพระลอ)

                        คำประพันธ์ข้างต้นมีความเปรียบชมความงามของพระลอแบบอุปมา 3 แห่ง ได้แก่ การเปรียบความงามของผิวเนื้อของพระลองามเหมือนแสงนวลของแสงจันทร์ ใช้คำเชื่อมว่า  เพี้ยง  ประการที่สองเปรียบการเดินของพระลอว่าเหมือนการเดินทางของพระจันนทร์ที่ช่วยทำให้ท้องผ้าแจ่มใส  โดยใช้คำเชื่อม  ดุจ  และเปรียบดวงดาวที่ล้อมรอยพระจันทร์อยู่เหมือนกับไพร่พลของพระลอที่ล้อมรอบพระองค์โดยใช้คำเชื่อมว่า ดุจ

   พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต

                             ให้คนคิดถึงถิ่นถวิลหวัง'

 Page 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20